aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
สรรพคุณของต้นปลาไหลเผือก
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma lingifolia Jack.
ชื่อวงศ์             :  SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น               : กรุงบาดาล, คะนาง, ชะนาง, ตรึงบาดาล, แฮพันชั้น, เพียก, หยิกบ่อถอง, หยิกไม่ถึง,
                          เอียนด่อน, ปลาไหลเผือก, ตุงสอ
รูปลักษณะ        : ไหลเผือก เป็นไม้ยืนต้น สูง 4-6 เมตร ลำต้นตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน
                          ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง
                          ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-7 ซม. สีเขียวเข้ม
                          ยอดและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก
                          กลีบดอกสีม่วงแดง ผลเป็นผลสด รูปยาวรี
 
สรรพคุณของต้นไหลเผือก :
- เปลือกลำต้น : นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้พิษ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เหือดหัด แก้ไข้กาฬนกนางแอ่น
  แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้ทรพิษ และแก้เบาพิการ เป็นต้น
- ราก : ใช้รากที่แห้งประมาณ 8-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่มทุกเช้าและเย็น เป็นยาแก้ไข้
  ถ่ายพิษทุกชนิด แก้วัณโรค ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้ไข้มาลาเรีย แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ
  แก้กาฬโรครักษาความดันเลือดสูง รักษาโรคอัมพาต ขับถ่ายน้ำเหลือง แก้ท้องผูก เป็นต้น
  และยังพบว่ามีสารที่ออกฤทธิ์ที่มีรสขม ได้แก่ Eurycomalactone, Eurycomanol
  และ Eurycomanone สารทั้งสามชนิดนี้ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
 
ที่มาของข้อมูล : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=7851
                       (ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน)
                        http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_8.html
                       (โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ)
                        http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=por&func=por5
                       (สมุนไพรดอทคอม)
 

 
โรคมาเลเรีย
 
มาลาเรีย (Malaria) คือ โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวแพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงก้นปล่องเพศเมีย (Anopheles Spp.)
ผู้ป่วยจะมีไข้สูงและหนาวสั่น โดยมักพบโรคนี้ในเขตที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นและมีแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติมาก
ซึ่งเป็นที่อาศัยของยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค
 
โรคมาลาเรียแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย
โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2555 พบว่ามีผู้ติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า 34,000 คน และในปี พ.ศ. 2556
ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม มีผู้ป่วยทั้งประเทศจำนวน 12,000 คน และเสียชีวิต 12 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชายแดน
 
โรคมาลาเรีย (Malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวชนิด พลาสโมเดียม (Plasmodium)
ที่นำโดยยุงก้นปล้องเพศเมีย เชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium) ที่ก่อโรคในคนมีอยู่ 5 ชนิด (Species) คือ Plasmodium falciparum
ทำให้เสียชีวิตมากที่สุดและในประเทศไทยพบเชื้อชนิดนี้บ่อยที่สุด Plasmodium vivax
พบเชื้อชนิดนี้รองลงมา Plasmodium ovale Plasmodium malariae และ Plasmodium knowlesi
ซึ่งเป็นเชื้อมาลาเรียชนิดที่สามารถถ่ายทอดจากลิงไปสู่คนได้โดยยุงก้นปล่อง
แหล่งระบาดของโรคมาลาเรียในประเทศไทยอยู่ตามจังหวัดชายแดน
โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ และมีแหล่งน้ำ ลำธาร อันเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง
จังหวัดที่พบผู้ป่วยมาลาเรียส่วนใหญ่ ได้แก่ ชายแดนไทย-กัมพูชา ชายแดนไทย-เมียนมาร์
และชายแดนไทย-มาเลเซียที่มีการดื้อยา ได้แก่ ชลบุรี สระแก้ว ระยอง ตราด จันทบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ราชบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พังงา สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง
สงขลา ยะลา นราธิวาส มุกดาหาร กาฬสินธุ์ และสกลนคร
 
อาการของมาลาเรีย
- มีไข้สูง หนาวสั่น
- เหงื่อออกมาก
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ท้องเสีย
- ภาวะโลหิตจาง
- อุจจาระเป็นเลือด
- อาการหมดสติไม่รับรู้ต่อการกระตุ้นต่าง ๆ หรือโคม่า
 
ภาวะแทรกซ้อนของมาลาเรีย
- ภาวะโลหิตจาง (Anaemia) เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อ
   และอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
- มาลาเรียขึ้นสมอง (Cerebral Malaria) เชื้อมาลาเรียส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้หลอดเลือดในสมองบวม
  ซึ่งสร้างความเสียหายให้สมองได้อย่างถาวร และอาจทำให้เกิดอาการชักหรือโคม่าได้
- ปอดบวมน้ำ (Pulmonary Oedema) เกิดการสะสมของเหลวในปอดทำให้มีปัญหาในการหายใจ
- อวัยวะภายในล้มเหลว เช่น ตับ ไต หรือม้าม
- ม้ามบวมและแตก
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia)
- ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS)
- อาการช็อกเนื่องจากความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว
 
การป้องกันมาลาเรีย
- การใช้ยาป้องกันมาลาเรียจะแตกต่างกันออกไปแต่ละประเทศ และยาที่ใช้สำหรับแต่ละประเทศจะเรียงลำดับตามตัวอักษร
  และเปรียบเทียบคุณสมบัติของยาไว้อย่างชัดเจน ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกสำหรับการเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสม
- ยาต้านมาลาเรียไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% เลือกใช้ยาเมื่อได้ประโยชน์จากยามากกว่าผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  และต้องอาศัยวิธีการป้องกันของตนเองร่วมด้วย เช่น ใช้ยาทาไล่ยุง ใส่เสื้อแขนยาวหรือกางเกงขายาว และนอนในมุ้ง
- การใช้ยาต้านมาลาเรีย ต้องพิจารณาถึงปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นที่กำลังใช้อยู่   
   รวมไปถึงการตรวจสอบข้อควรระวังการใช้ยา เช่น การแพ้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- เมื่อได้ยาต้านมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพกับตนเองแล้ว ต้องใช้ยาก่อนการเดินทาง ซึ่งหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
- ควรใช้ยาตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด
- หลังจากกลับมาจากการเดินทางควรใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะฟักตัวของโรค
   และระยะเวลาในการใช้ยาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของยา
- ในประเทศไทยโดยทั่วไปแพทย์มักไม่แนะนำให้รับประทานยาป้องกันมาลาเรีย เนื่องจากความชุกชุมของมาลาเรียยังไม่มาก
   แต่ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์สำหรับผู้ที่พบว่ามีไข้ภายใน 1 สัปดาห์-2 เดือน หลังออกจากป่าหรือพื้นที่เสี่ยง
 
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แต่ละปีมีหญิงตั้งครรภ์อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
มีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตประมาณ 200,000 ราย และทารกเสียชีวิตประมาณ 10,000 ราย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิต
มาจาก ภาวะเลือดจางรุนแรงในมารดา ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
 
1.) หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกในช่วงเวลาที่ยุงก้นปล่องออกหากิน ช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกดิน
     และช่วงเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
2.) สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด ให้เหลือพื้นที่ที่มีโอกาสโดนยุงกัดน้อยที่สุด ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีดำหรือสีคล้ำ
3.) ใช้ยาทากันยุง
4.) นอนกางมุงเพื่อป้องกันยุง ควรเอาชายมุ้งสอดเข้าไว้ใต้ที่นอนด้วย
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/มาเลเรีย
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://medtech.psu.ac.th/index.php?r=site%2Fviewnews&id=52
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : คณะเทคนิคการเเพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 

 
ไข้กาฬหลังแอ่น หรือไข้กาฬนกนางแอ่น
 
ไข้กาฬหลังแอ่น (ไข้กาฬนกนางแอ่น) ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายว่า "ไข้ติดเชื้อเฉียบพลัน มีอาการไข้ซึม
คอแข็ง มีอาการหลังแอ่น และมีผื่นชนิดตกเลือดใต้ผิวหนัง ต่อมาสีของผื่นจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ"
ทางการแพทย์ หมายถึง โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเมนิงโกค็อกคัส
(meningococcal meningitis)
 
ที่มาของชื่อ "ไข้กาฬหลังแอ่น" เข้าใจว่าคงเรียกตามลักษณะอาการของโรค ซึ่งพบว่าถ้าหากเป็นรุนแรงจะมีไข้
และผื่นขึ้นลักษณะเป็นจุดแดง จ้ำเขียว หรือดำคล้ำ (จึงเรียกว่า "ไข้กาฬ" ซึ่งแปลว่า ไข้ที่มีผื่นตามผิวหนัง)
และผู้ป่วยจะมีอาการคอแข็ง คอแอ่น หลังแอ่น (จึงเรียกชื่อโรคตอนท้ายว่า "หลังแอ่น")
และต่อมาจึงเพี้ยนเป็น "ไข้กาฬนกนางแอ่น" โรคนี้จึงไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อจากนกแต่อย่างใด
 
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดนี้พบได้น้อยในบ้านเรา แต่พบได้ประปรายทุกปีและบางครั้งอาจระบาดได้
จัดเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง หากรักษาไม่ทันกาลมีโอกาสตายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในเด็กและวัยหนุ่มสาว
 
ชื่อภาษาไทย ไข้กาฬหลังแอ่น, ไข้กาฬนกนางแอ่น, เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อเมนิงโกค็อกคัส
ชื่อภาษาอังกฤษ meningococcal meningitis
 
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเมนิงโกค็อกคัส (meningococcus) ที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า
ไนซีเรียเมนิงไจทิดิส (Neisseria meningitidis) เชื้อนี้แบ่งเป็น ๑๓ ชนิด แต่มีอยู่ ๕ ชนิดที่สามารถก่อโรคในคน
ได้แก่ ชนิด A, B, C, Y และ W๑๓๕ ซึ่งมีอยู่ในลำคอของเรา คนที่แข็งแรงเชื้อจะอาศัยอยู่ในลำคอ โดยไม่ก่อให้เกิดโรค
เรียกว่า เป็นพาหะ (Carrier) ซึ่งสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ (เคยมีการสำรวจพบว่า เด็กนักเรียนในบางท้องที่
จะเป็นพาหะของโรคนี้ คือมีเชื้ออยู่ในลำคอโดยไม่ก่อโรคถึงร้อยละ ๑๔) เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายโดยการไอ
จาม หายใจรดกัน ใช้ของใช้ร่วมกัน (เช่น การดื่มน้ำจาก แก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน)
จูบปากกัน หรือสัมผัสถูกน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือสุขภาพอ่อนแอ เมื่อรับเชื้อเข้าไป
ก็จะป่วยเป็นโรคนี้โดยเชื้อเข้าไปในลำคอก่อน แล้วเข้าไปในกระแสเลือด ไปที่เยื่อหุ้มสมองทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
บางคนเชื้อจะเข้าไปอยู่ในอวัยวะตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดอาการผิดปกติต่างๆ และรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ภายในเวลาสั้นๆ
 
อาการ แรกเริ่มจะมีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวด เมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัด ต่อมาจะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง
อาเจียนบ่อย คอแข็ง (ก้มคอไม่ลง) คอแอ่นไปข้างหลัง หลังแอ่น ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว บางคนอาจมีอาการชักติดๆ กัน
ในรายที่มีภาวะเชื้อเข้ากระแสเลือดกระจายไปทั่วร่างกายร่วมด้วยจะพบว่ามีผื่นตามผิวหนัง พบมากตามแขนขา
ลักษณะเป็นจุดแดงจ้ำเขียว แบบเดียวกับไข้เลือดออก ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีเลือดออกตามผิวหนัง ลำไส้
และต่อมหมวกไต เกิดภาวะช็อก หมดสติ และอาจตายได้ภายใน ๑-๔ วัน ภาวะรุนแรงมักเกิดในเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และคนหนุ่มสาว
 
การดูแลตัวเอง
๑. ปวดศีรษะรุนแรง
๒. อาเจียนบ่อย
๓. คอแข็ง (ก้มคอไม่ลง)
๔. ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว
๕. ชัก
๖. ไข้ร่วมกับมีจุดแดงจ้ำเขียวตามผิวหนัง
๗. มีเลือดออกตามที่ต่างๆ เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น
 
ภาวะแทรกซ้อน
ที่สำคัญคือ ภาวะโลหิตเป็นพิษ (เชื้อเข้ากระแสเลือด กระจายไปทั่วร่างกาย) และภาวะตกเลือดรุนแรงซึ่งมีอันตรายร้ายแรง
นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง เช่น แขนขาอ่อนแรง โรคลมชัก ปัญญาอ่อน ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (hydrocephalus)
 
การดำเนินโรค
ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาช้าไป มักจะเป็นรุนแรงถึงตายเป็นส่วนใหญ่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นชนิดที่มีเชื้อโรคกระจายไปทั่วร่างกาย
ถ้าเป็นไม่รุนแรงและได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่มก็มักจะหายขาด บางคนหลังรักษาจนรอดชีวิตแล้ว
อาจมีภาวะแทรกซ้อนทางสมองโดยเฉลี่ยผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาได้ทันกาลมีอัตราตายประมาณร้อยละ ๑๕-๒๐
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.doctor.or.th/article/detail/1414
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : เขียนโดย รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ (อ้างอิง นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 318)
 
 

 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa