aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
กลูต้าไธโอนคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
 
กลูตาไธโอน (อังกฤษ: glutathione) เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย
ปกติแพทย์จะใช้ในปริมาณเพียง 200 มิลลิกรัมต่อครั้ง
มีกลุ่มคลินิกเสริมความงาม
เป็นสารอ้างว่าใช้ผสมกับวิตามินซี ฉีดทำดีท็อกซ์ผิวขาว
 
กลูตาไธโอน เป็น tripeptides ของกรดอะมิโน 3 ตัว คือ ซิสทีน (cysteine), กรดกลูตามิค
(glutamic acid) และไกลซีน (glycine) ซึ่งร่างกายสามารถผลิตได้เองตามธรรมชาติ
และมีในอาหาร เช่น นม ไข่ ผลอะโวคาโด สตรอเบอร์รี มะเขือเทศ ผักบรอคโคลี ส้มเกรปฟรุต และผักโขม
 
กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย
และยังนำมารักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้ออักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคตับ โรคไต โรคเอดส์
ภาวะเป็นหมันในเพศชาย และภาวะหูตึงจากเสียงดัง ผลข้างเคียงทำให้ผิวขาว
 
Glutathione (กลูตาไธโอน) เป็นสารประเภท Tripeptide ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด
ได้แก่ Cysteine, Glycine และ Glutamic acid หน้าที่หลักของสารตัวนี่ที่เด่นมีอยู่ 3 ประการ คือ
1. Detoxification : กลูตาไธโอนช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะ
Glutathion-S-transferase ที่ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษ
ชนิดไม่ละลายในน้ำ (ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิด
ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ
จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ ยาพาราเซตามอลเกินขนาด
(Overdose) ฯลฯ

2. Antioxidant : กลูตาไธโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Antioxidant)
ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย และหากขาดไป วิตามินซีและอี อาจจะทำงานได้ไม่เต็มท
3. Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิด
เพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอม รวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้กลูตาไธโอน
ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีนและ protaglandin
 
 
โดยสรุปสารกลูตาไธโอน จึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่มีกำลังสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ วิตามินซีี
หรือวิตามินอี เมื่ออายุคนเรามากขึ้นปริมาณกลูตาไธโอนในร่างกายจะลดน้อยลง มีผลทำให้เซลล์
และอวัยวะทุกส่วนเสื่อมโทรมลง ในทางตรงกันข้าม นักวิจัยพบว่าผู้ที่มีอายุยืนยาวและมีสุขภาพแข็งแรง
มักจะตรวจพบสารกลูตาไธโอนปริมาณสูงในกระแสเลือด
 
ที่มาของข้อมูล : http//th.wikipedia.org ค้นหาคำว่า "กลูตาไธโอน"
 

 
เขียนโดย : นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต
กลูตาไธโอนเป็นพันธะเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน กลูตาไธโอน
อยู่ในรูป reduced (GSH) และ oxidized (GSSG) โดย GSSG ถูก reduced ด้วย Glutathione reductase
สาร ascorbic acid จะเพิ่มการออกฤทธิ์ของ GSH ซึ่ง alpha lipoic acid (ALA) เพิ่มการออกฤทธิ์
ของกลูตาไธโอนอาจกลับมาเป็น GSSG
 
ลักษณะของกลูตาไธโอน
- กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์พบมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์ตับ (จนถึง 5 mM)
- กลูตาไธโอนถูกสังเคราะห์โดย Glutathione synthase โดยการใช้กรดอะมิโน 3 ชนิด
  L-cysteine, L-glutamate และ glycine
- ตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ได้แก่ reduced Glutathione (GSH) และ oxidized Glutathione
  disulphide (GSSG)
- อำนวยความสะดวกต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน
- เป็นสาร mitochondrial antioxidant
- เป็นสาร co-factor/ เอนไซม์ใน phase I enzymatic detoxification pathway
- Phase II detoxification pathway
- การป้องกันระบบประสาท
 
การลดลงของกลูตาไธโอน
- แสดงให้เห็นเด่นชัดอย่างเฉียบพลันในการขาดกลูตาไธโอนเมื่อรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
- ผลของการลดลงของกลูตาไธโอนนี้เกิดใน hepatocyte ชักนำให้ตับวายและเสียชีวิตได้
- การขาดกลูตาไธโอนเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เพิ่มการเกิดเนื้อร้าย
  และในกรณีโรคเอดส์ อาจเร่งให้เกิดโรคขึ้นมาได้
- การขาดกลูตาไธโอนเป็นผลใน tissue oxidative stress สามารถเกิดโรคได้ ยกตัวอย่างเช่น
  ผู้ที่เป็น G6PD(glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency) ทำให้เกิดปริมาณ NADPH
  และ reduced Glutathione ลดลง
- Oxidative stress เป็นสาเหตุให้ขาดกลูตาไธโอนใน fragile erythrocyte membranes
 
ข้อบ่งใช้และการใช้ประโยชน์
- รักษาพิษจากยาพาราเซตามอล
- ใช้เบื้องต้นสำหรับ : มะเร็งบางชนิด โรคไขมันอุดตันที่ผนังหลอดเลือด (atherosclerosis) โรคเบาหวาน
  ปอดมีความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอุดกั้น สูญเสียการได้ยินเนื่องมาจากเสียง ผู้ชายที่เป็นหมัน
  ป้องกันหรือทำให้พิษดีขึ้น ต้านเชื้อไวรัส ยากำพร้าในการรักษาเอดส์ที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสารอาหาร
 
ผลข้างเคียง
- ผิวหนังแดง , ความดันโลหิตต่ำ , หอบหืดเฉียบพลัน
- อาจเกิด anaphylactic reaction จากการปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์
 
ข้อห้ามและควรระวังเป็นพิเศษ
- ผู้ที่แพ้ยาฉีดกลูตาไธโอน , ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ และแพ้หอบหืด
 
สารที่ทำให้ขาดกลูตาไธโอน
- การสูบบุหรี่ , ดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
- ยาพาราเซตามอล
- ออกกำลังกายหนัก
- รังสี X Y และยูวี
- Xenobiotics และEstradiol
 
 
อ้างอิง : นิตยสารวงการยา ฉบับที่ 133 โดย ภก.สิกขวัฒน์ ผู้เรียบเรียง
 
บทบาทของกลูตาไธโอนในยาแผนปัจจุบันและยาแผนทางเลือก
- พิษจากยาพาราเซตามอล
- โรคมะเร็ง
- Xenobiotics detoxification
- โรคพาร์คินสัน และโรคอัลไซเมอร์
- เพิ่มภูมิคุ้มกัน เอดส์ ต้านเชื้อไวรัส เชื้อ herpes simplex virus type I
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- สูญเสียการได้ยินเนื่องจากเสียง
- ผู้ชายที่เป็นหมัน
- ออทิสติก
- โรคเหนื่อยเรื้อรัง , โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความดันโลหิตสูง
- Metabolic syndrome และAutoimmune thyroiditis
 
คัดลอกมาจาก : http://glutacare.com โดยค้นหาว่า “กลูตาไธโอน”
 

 
การเป็นพิษจากพาราเซตามอล
 
การเป็นพิษจากพาราเซตามอลเกิดจากการได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาด อาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาดในครั้งเดียว
หรือใช้ยาสะสมต่อเนื่องก็ได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังได้รับยาเกินขนาด
บางรายอาจมีอาการแบบไม่จำเพาะ เช่น ปวดท้องเล็กน้อย หรือคลื่นไส้ หลังจากนั้นจะตามมาด้วยระยะที่ไม่มีอาการใดๆ
ประมาณ 2-3 วัน ตามด้วยอาการของภาวะตับวาย ได้แก่ดีซ่าน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
และเพ้อสับสน[1] ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ไตวาย ตับอ่อนอักเสบ น้ำตาลในเลือดต่ำ
และเลือดเป็นกรดจากแลกติก
ในกรณีผู้ป่วยไม่เสียชีวิตมักฟื้นตัวได้ในเวลา 2-3 สัปดาห์ หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดีขึ้นได้เองในขณะที่บางรายจะเสียชีวิต
 
ภาวะนี้อาจเกิดจากการกินยาผิดขนาดโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเป็นการฆ่าตัวตายก็ได้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพิษ
ได้แก่การติดสุรา การขาดสารอาหาร หรือการใช้ยาอื่นร่วมด้วย
พิษต่อตับที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากตัวยาพาราเซตามอลโดยตรง
แต่เกิดจากสารเมตาบอไลต์ชื่อ NAPQI ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายสร้างมาจากตัวยา สารนี้จะลดปริมาณกลูตาไทโอนในตับ และทำลายเซลล์ตับได้โดยตรง การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัติเพื่อดูปริมาณยาที่รับเข้าสู่ร่างกาย
ร่วมกับการตรวจระดับยาพาราเซตามอลในเลือด เทียบกับระยะเวลาหลังจากการรับยาเข้าสู่ร่างกาย
แพทย์มักอาศัยแผนภาพโนโมแกรมของรูแม็ค-แม็ธธิวเพื่อประเมินว่าระดับยาที่วัดได้ในเวลา
ที่ตรวจนั้นอยู่ในช่วงที่เป็นพิษหรือไม่ เพียงใด
 
การรักษาอาจทำด้วยการให้ถ่านกัมมันต์หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในเวลาอันสั้นหลังรับยาเข้าสู่ร่างกาย
ปัจจุบันไม่แนะนำให้บังคับให้ผู้ป่วยอาเจียนเอายาออกมา หากประเมินแล้วพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดพิษ
แพทย์มักให้ยาอะซีติลซิสเตอีนเพื่อต้านพิษ ซึ่งมักให้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
หลังจากฟื้นตัวแล้วผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางจิตเวชร่วมด้วย
ในบางรายหากมีอาการตับวายขั้นรุนแรงอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ
ซึ่งข้อบ่งชี้ของการปลูกถ่ายตับมักดูจากความเป็นกรดของเลือด
ค่าแลกเตตในเลือดที่สูง การแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ หรือมีโรคสมองจากตับอย่างรุนแรง
หากได้รับการรักษาในระยะแรกจะมีโอกาสเกิดตับวายน้อยมาก โดยรวมผู้ป่วยภาวะพิษจากพาราเซตามอล
จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.1%
 
มีการบรรยายภาวะพิษจากพาราเซตามอลเป็นครั้งแรกในช่วงคริสตทศวรรษ 1960 อัตราการเกิดภาวะเป็นพิษน
ี้แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของโลก ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยภาวะนี้ประมาณ 100,000 คนต่อปี
ในสหราชอาณาจักรเป็นภาวะรับยาเกินขนาดจนเกิดพิษที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุดคือผู้ป่วยเด็ก
และเป็นสาเหตุของภาวะตับวายเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
 
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย อาเจียน ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ค่าตับ serum transaminase(ALT, AST) จะสูงมาก
 
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงของการเป็นพิษจากพาราเซตามอลแบ่งออกเป็นสามระยะ ระยะแรกจะเริ่มขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมง
หลังได้รับยา อาการในระยะนี้ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก และตัวซีด อย่างไรก็ดีผู้ป่วยหลายรายไม่มีอาการใดๆ
หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังได้รับยา บางรายอาจเกิดมีเลือดเป็นกรดเมตาบอลิก
และหมดสติเข้าสู่อาการโคม่า ตั้งแต่ในระยะแรกของการรับยา แต่พบได้น้อยมาก
 
ระยะที่สองอยู่ในช่วง 24-72 ชั่วโมงหลังได้รับยา ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะตับอักเสบที่เป็นรุนแรงข้นเรื่อยๆ
อาจมีอาการปวดท้องที่บริเวณด้านขวาบน (บริเวณตับ) ตับที่อักเสบจะทำหน้าที่ของตับตามปกติได้แย่ลง
ทำให้มีค่าเอนไซม์ตับในกลุ่มทรานซามิเนสทั้ง AST และ ALT ในเลือดสูงขึ้น และการแข็งตัวของเลือดแย่ลงทำให้ค่า INR สูงขึ้น
ระยะนี้อาจเกิดไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งอาจเป็นจากกลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ หรือกลุ่มอาการอวัยวะทำงานผิดปกติหลายอวัยวะ
บางรายอาจมีภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นอาการเด่น แสดงว่าในผู้ป่วยเช่นนี้สารผลผลิตที่เป็นพิษถูกสร้างขึ้นที่ไตมากกว่าที่ตับ
 
ระยะที่สามอยู่ในช่วง 3-5 วัน ผู้ป่วยระยะนี้จะมีภาวะแทรกซ้อนของภาวะตับวาย มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติอย่างมาก
น้ำตาลในเลือดต่ำ ไตวาย เกิดโรคสมองจากตับ สมองบวม ติดเชื้อในกระแสเลือด อวัยวะล้มเหลวหลายอวัยวะ
และเสียชีวิตได้ หากผู้ป่วยรอดชีวิตจากระยะนี้แสดงว่าการอักเสบรุนแรงของตับนั้นสิ้นสุดลงแล้ว การทำงานของตับ
และไตจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ ความรุนแรงต่างๆ นี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของยาเกินขนาดที่ได้รับ
และความเหมาะสมรวดเร็วของการรักษา
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/การเป็นพิษจากพาราเซตามอล
 
 

 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa