aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
ประโยชน์ของผลส้มแขก
 
ชื่อไทย              ส้มแขก
ชื่อสามัญ           Malabar tamarind
ชื่อพฤกษศาสตร์ Garcinia cambogia Desr.
ชื่อวงศ์               CLUSIACEAE
แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ อินเดีย
 
ผลส้มแขก ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia atroviridis ชื่ออื่นคือ ส้มควาย ส้มมะวน ชะมวงช้าง
เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Guttiferae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมังคุด ชะมวง เปลือกต้นเมื่ออ่อนสีเขียว
พอแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว เรียบเป็นมัน ดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น เมื่ออ่อนมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม
ผลเป็นผิวเดี่ยว ผิวเรียบ เนื้อผลที่เป็นเนื้อแข็งมีรสเปรี้ยว เนื้อหุ้มเมล็ดสีส้มมีรสหวาน มี 5-8 เมล็ด
 
เนื้อส่วนที่แข็ง มีกรดซิตริก กรดทาทาร์ริก กรดมาลิก และ กรดแอสคอร์บิก กรดไฮดรอกซีซิตริก
และ ฟลาโวนอยด์ นำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารเช่น แกงส้ม หรือทำเครื่องดื่มลดความอ้วน
ผลส้มแขกสุกเป็นสีส้มเหลือง ส้มแขกที่หั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดให้แห้ง ในภาษามาเลย์เรียก อาซัมเกอปิง
มีขายทางการค้า ใช้แต่งรสเปรี้ยวในสลัด แกง และต้มต่างๆ
 
ผลส้มแขก หรือ Garcinia Combogia เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทย ที่นิยมใช้ในการประกอบอาหาร
มาเป็นเวลานาน เป็นสมุนไพรที่พบมากทางภาคใต้ มีรูปร่างคล้ายผลฟักทองขนาดเล็ก
มีการวิจัยแล้วว่าในส้มแขกนั้นมีสาร HCA ซึ่งเป็นตัวยับยั้งการสะสมของไขมันส่วนเกิน เปลี่ยนไขมันที่สะสม
ไว้ให้เป็นพลังงาน ปัจจุบันผลส้มแขกจึงถูกนำมาใช้ในการลดความอ้วน ซึ่งบรรจุในรูปของแคปซูล
หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป
 
กลไกการออกฤทธิ์ของ HCA จะออกฤทธิ์โดยการไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ ATP Citrate Lyase
ในวงจร Kreb’s cycle (วงจรการย่อยสลายกลูโคส ของเซลร่างกาย) ทำให้ยับยั้งการนำน้ำตาล
จากอาหารประเภท แป้ง ข้าว และน้ำตาล ไม่ให้เปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามร่างกาย
แต่จะนำไปใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่นไม่อ่อนเพลีย และ เมื่อในกระแสเลือด
ในรูปของไกลโคเจนที่ตับ ทำให้ร่างกายรับรู้ว่ามีพลังงานสำรองเพียงพอ ทำให้ไม่รู้สึกหิวมาก
นอกจากนี้ ยังมีผลไปกระตุ้น ให้มีการดึงเอาไขมันที่สะสมออกมาใช้เป็นพลังงานทำให้ไขมันที่สะสม
อยู่ลดลงซึ่งจะมีผล ทำให้รูปร่างดีขึ้น
จากการนำสารสกัดจากผลส้มแขกมารับประทานเพื่อให้น้ำหนักลดลง
พบว่าน้ำหนักตัวอาจจะไม่ลดลงเร็วมากนัก ประมาณ 1 กิโลภายใน 3-4 อาทิตย์ แต่รูปร่างจะดีขึ้น เอว(พุง)
ลดลง ความอึดอัดลดน้อยลง เนื่องจากไขมันมีน้ำหนักเบากว่ากล้ามเนื้อ (แต่ถ้าร่างกายสูญเสียกล้ามเนื้อ
ก็จะเกิดการอ่อนแอและโรคแทรกซ้อนได้ง่าย)
 
วิธีการรับประทานสารสกัดส้มแขก : แนะนำให้กินขนาด 600 mg ครั้งละ 2 เม็ด
(ถ้า 300 mg ใช้มื้อละ สี่เม็ด) วันละ 3 เวลา ก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง
พร้อมกับดื่มน้ำตามหลัง ประมานหนึ่งแก้ว ซึ่งจะทำยาให้ดูดซึมได้ดีที่สุด แต่ขณะที่ยาแตกตัว
ในกระเพาะอาหารบางคนอาจจะได้กลิ่นของส้มแขก ซึ่งมีกลิ่นหอมคล้ายขนมปังปิ้ง ถ้าไม่ชอบหรือ
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ก็แนะนำให้เปลี่ยนมากินหลังอาหารหรือพร้อมกับอาหารได้ แต่การดูดซึม
จะลดน้อยกว่าการกินก่อนอาหารเล็กน้อย ในผู้ที่อ้วนมากหรือกินจุมากอาจเพิ่มปริมาณ
เป็นวันละ 8-10 เม็ด (600 mg) ต่อวันได้ เมื่อรูปร่างหรือน้ำหนักตัวลดลงจนเป็นที่พอใจก็ค่อยๆ
ลดปริมาณของส้มแขก ลงจนกระทั่งไม่ต้องใช้ และหลังจากหยุดใช้จะไม่มีผลในการหิวมากขึ้น
หรือ อ้วนขึ้นกลับมา และยังพบว่านิสัยกินจุ ในบางคนจะลดลงไปด้วย
 
ผลส้มแขก จนถึงบัดนี้ ยังไม่พบผลข้างเคียงหรืออันตรายที่เกิดขึ้นจากการรับประทานตามขนาดที่แนะนำ
ไม่ว่าจะลดน้ำหนักด้วยวิธีใด การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการกินอาหาร ควบคู่กับการออกกำลังกาย
ที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ได้ผลเร็วและปลอดภัยกว่ายาใดๆ ทั้งหมด
 
ส้มแขกประสิทธิผลในการรักษาโรคจากรายงาการวิจัยทางคลินิก มีรายงานการวิจัยทางคลินิกของ HCA
ในคนอยู่หลายรายงาน แต่พบว่าไม่สนับสนุนฤทธิ์ลดไขมัน หรือประสิทธิผลในการลดน้ำหนัก
หรือเพิ่ม fat oxidation ของ HCA ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตาม
มีข้อเสนอว่าผลิตภัณฑ์จากส้มแขกอาจมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
อีกหลังจากลดน้ำหนักได้แล้ว โดยใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ลดการบริโภคไขมัน
และออกกำลังกาย
ซึ่งยังต้องพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
 
สรรพคุณของส้มแขก ในตำรายาแผนโบราณ ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
นั้นมีการวิจัยว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา และฤทธิ์ลดน้ำหนักร่างกายเป็นต้น
ซึ่งในฤทธิ์ลดน้ำหนักนั้นมีงานวิจัยจากโรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ฉบับ รายงานว่าสาร hydroxy citric acid
(HCA) ที่อยู่ในผลส้มแขก และปรับให้อยู่ในรูปผลิตภัณฑ์ขนาดบรรจุซอง 1.65 กรัม โดยมี HCA อยู่ 70%
หรือประมาณ 1.15 กรัม โดยศึกษาในสตรีที่มี BMI (ดัชนีมวลกาย) > 25 กก./ม2 จำนวน 42 คน
โดยให้รับประทานครั้งละ 1 ซอง ผสมกับน้ำก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง นาน 2 เดือน
พบว่าการสะสมของไขมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลง 4.9%
น้ำหนักไขมันที่หายไป 16.2% น้ำหนักร่างกายลดลง 3.9% ดัชนีมวลกายลดลง 3.27%
และเมื่อสิ้นสุดการทดลองผลของค่าชีวเคมีในเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าไม่ทำให้เกิดพิษ
หากรับประทานในขนาดที่กำหนด ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการศึกษารายงานด้านความเป็นพิษของส้มแขก
ซึ่งข้อมูลงานวิจัยของส้มแขกยังมีไม่มากหนัก ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกถึงขนาด
และวิธีการรับประทานที่ถูกต้องได้
 
ข้อควรระวัง : เนื่องจากสาร HCA มีผลรบกวนการสร้าง acetyl CaA, fatty acid รวมทั้ง cholesterol
จึงอาจมีผลรบกวนต่อการสร้าง steroid hormone ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ HCA หรือผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มี
HCA ในปริมาณสูงในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
 
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : - http://blog.eduzones.com/samunpri/51746
                                        - http://th.wikipedia.org โดยค้นหาคำว่า “ ส้มแขก ”
                                        - http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5306
                                          ( หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
                                          คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลถนนศรีอยุธยา)
 

 
โรคกระเพาะอาหารกับเชื้อแบคทีเรีย
 
โรคกระเพาะอาหารที่เรียกกันแพร่หลายจนติดปากนั้น ทางการแพทย์จะหมายถึง โรคแผลเปปติค (Peptic ulcer)
ซึ่งจะเกิดเป็นแผลบริเวณกระเพาะอาหารโดยตรง หรือเกิดเป็นแผลที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น
ซึ่งอยู่ติดกับกระเพาะอาหาร 80 % ของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะประสบปัญหาการเป็นๆ หายๆ คือหลังจากการรักษาแผลให้หายแล้ว
ก็มักจะกลับมาเป็นแผลอีกเรื่อยๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในอดีตมีความเชื่อว่า
โรคกระเพาะเป็นผลมาจากการที่กระเพาะอาหารมีกรดมาก หรือเยื่อบุกระเพาะอาหารไม่แข็งแรงแต่เพียงอย่างเดียว
ปัจจุบันเราพบว่าโรคกระเพาะอาหารมีสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งมาจาการติดเชื้อแบคทีเรีย
ที่ชื่อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ เอช.ไพโลไร (Helicobacter Pylori)
 
อาการของโรคกระเพาะ
ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอก หรือ ใต้ลิ้นปี่ โดยมีประวัติเป็นเรื้อรังมานานโดยสุขภาพทั่วไป
ไม่ทรุดโทรม ผู้ป่วยบางรายมีอาการ จุก เสียด แน่น เจ็บ แสบ หรือร้อน โดยอาการจะสัมพันธ์กับการกินอาหาร
หรือ ชนิดของอาหารที่กิน เช่น อาจปวดมากตอนหิว หลังอาหารอาการจะทุเลา แต่ผู้ป่วยบางคนอาการปวดเป็นมากขึ้นหลังอาหาร
โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น บางรายอาจมีอาการปวดท้องกลางคืน
 
แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
นปัจจุบันการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ส่วนใหญ่แล้วจะทำโดยวิธีการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร
แล้วตัดเนื้อเยื่อบุกระเพาะมาตรวจหาเชื้อโดยเทคนิคต่างๆ เช่น วิธีการทางพยาธิวิทยา
หรือดูการเปลี่ยนสีของชุดตรวจพิเศษเพื่อหาเชื้อ เอช.ไพโลไร นอกจากวิธีส่องกล้องแล้ว
ก็ยังมีวิธีการเจาะเลือดตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ วิธีการตรวจลมหายใจ
ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ เอช.ไพโลไร ที่ดีที่สุด แต่ราคาค่อนข้างแพง
 
ข้อควรปฏิบัติ
โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น มักเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก
ถ้าไม่ระวัง รักษา หรือ ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องดังนี้
- กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
- กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่บ่อย ไม่ควรกินจนอิ่มในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม
- งดบุหรี่ และงดดื่มสุรา
- งดการให้ยาแอสไพรินและยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูกทุกชนิด (NSAID)
- ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวลทั้งหลาย
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
- ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ ปวดท้องรุนแรง หรือ เบื่ออาหาร
   น้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปหาแพทย์
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.thonburihospital.com/Peptic_Ulcer_and_Bacteria.html
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลธนบุรี
 

 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa