aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
เอนไซม์คืออะไร : เอนไซม์เป็นสารประเภทโปรตีน ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของปฎิกิริยาชีวเคมีทั้งหมด
ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งหากขาดเอนไซม์จะทำให้เราไม่สามารถจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงได้
และต้องเสียชีวิตไปในที่สุด
 
เอนไซม์มีที่มาจากไหนบ้าง : เอนไซม์เป็นสารที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์
โดยปกติร่างกายของเรา จะสร้างเอนไซม์หลายชนิดเพื่อทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร
และใช้ในการเผาผลาญพลังงาน ตลอดจนช่วยควบคุมการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ในร่างกาย ตับอ่อนจะเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด แต่อวัยวะส่วนอื่นๆ
อาทิเช่น ตับ ลำไส้ และกระเพาะอาหาร ก็มีบทบาทในการสร้างเอนไซม์ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในกรณีที่กินอาหารจากพืชผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่ไม่ถูกทำให้สุก
หรือใช้ความร้อนในการปรุงอาหาร จะเพิ่มปริมาณเอนไซม์ให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย
 
เหตุใด ในอดีตจึงไม่มีการพูดถึงเอนไซม์มาก่อน : ในวงการแพทย์มีความเชื่อที่แพร่หลายว่า
เอนไซม์จะถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจว่า การบริโภคเอนไซม์
จะไม่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพแต่ประการใด เนื่องจากเอนไซม์จะถูกทำลายหมด
ซึ่งความเชื่อนี้ เป็นความเชื่อที่ผิด ในต้นปีค.ศ. 1990 ได้มีความสนใจเรื่องเอนไซม์ต่อสุขภาพ
เพราะพบว่าเอนไซม์ที่ให้เสริมจากภายนอก มีประสิทธิภาพในการช่วยย่อย และดูดซึมสารอาหาร
นอกจากนี้ตัวเอนไซม์เองยังสามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายของมนุษย์ได้อีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับวิตามินและเกลือแร่อย่างเพียงพอ
 
เหตุใด จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้เอนไซม์เสริมอาหาร : คน ส่วนใหญ่ชอบที่จะกินอาหาร
ที่ทำให้สุกแล้วมากกว่าอาหารดิบ ขบวนการเร่งผลไม้ให้สุก และการฉายรังสีบนอาหาร
จะทำลายฤทธิ์ของเอนไซม์ โดยทั่วไป คนที่บริโภคมังสวิรัติจะมีโอกาสขาดเอนไซม์สูง
ทั้งนี้เพราะกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีนจากพืช มักจะมีไม่ครบถ้วนเหมือน
กับกรดอะมิโนที่ได้จากสัตว์ ข้าวและแป้งมักจะถูกนำไปผ่านขบวนการขัดและสี
ทำให้สารพวกเอนไซม์หลุดออกหมด ด้วยเหตุผลดังกล่าว เราจึงควรจะต้องรับประทานเอนไซม์เสริม
 
เอนไซม์ในร่างกายของเรา ทำงานอย่างไร : เมื่อ เรากินอาหารเข้าไปจะมีการกระตุ้นให้เอนไซม์
ในทางเดินอาหาร รวมทั้งในอาหารดิบที่กินเข้าไป ทำหน้าที่ย่อยสลายให้สารอาหารมีขนาดเล็กลง
จนพอที่จะดูดซึมผ่านเยื่อบุทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ เอนไซม์เหล่านี้ยังทำหน้าที่ต่อในกระแสเลือด
เพื่อนำสารอาหารไปเสริมสร้าง กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก เม็ดเลือดและอวัยวะอย่างอื่นทั่วร่างกาย
เอนไซม์ แต่ละชนิด จะทำหน้าที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เช่น เอนไซม์ย่อยแป้ง ก็ย่อยเฉพาะแป้ง
ไม่ย่อยไขมัน ไม่ย่อยโปรตีน การทำงานของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายต้องอาศัยเอนไซม์บางชนิด
และหากขาดเอนไซม์จะมีผลทำให้เซลล์ตายได้
 
เอนไซม์ในร่างกายของเราจะมีจำนวนลดลงหรือไม่ : เรามีเอนไซม์จำนวนหนึ่งในร่างกายมาตั้งแต่เกิด
เนื่องจากเราต้องใช้เอนไซม์ในร่างกายของเราในการย่อยอาหารทุกวัน
ดังนั้นเอนไซม์ที่เรามีอยู่จึงร่อยหรอไปทุกวัน ทั้งนี้เพราะการกินอาหารที่ทำให้สุกแล้ว
จะไม่มีเอนไซม์เหลืออยู่ที่จะช่วยใน การย่อยอาหารให้กับมนุษย์
ร่างกายจึงต้องหลั่งเอนไซม์มาทำหน้าที่แทน มีการศึกษาวิจัยว่าปริมาณของเอนไซม์ในคนหนุ่มสาว
มีมากกว่าคนแก่ถึง 30 เท่า ดังนั้นเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เอนไซม์จึงมีปริมาณน้อยลงไป
ตามระยะเวลาที่ผ่านไป
 
การเสริมเอนไซม์จะช่วยป้องกันมะเร็งได้หรือไม่ : เนื่องจากมะเร็งเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และต้องการ
การแก้ไขหลายๆด้าน พร้อมๆกัน ในส่วนของเอนไซม์จะมีผลในการช่วยต่อต้านมะเร็ง
และหากเราไม่ใช้เอนไซม์ของเรา ไปในการย่อยอาหารเพียงอย่างเดียว
เราจะมีเอนไซม์เหลือเพียงพอที่จะสามารถซ่อมแซม และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
จึงมีภูมิต้านทานการเกิดโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น
 
เอนไซม์ที่ใช้เสริมอาหาร จะมีความปลอดภัยเพียงใด : เนื่องจากเอนไซม์เสริมที่ได้รับจากภายนอก
ได้มาจากอาหารประเภทพืชผักและผลไม้ ที่มนุษย์กินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้วจึงมีความปลอดภัยสูงมาก
 
ร่างกายได้รับเอนไซม์ มาจากแหล่งใดบ้าง : ร่างกายของเราจะได้รับเอนไซม์มาจาก 3 ทาง ด้วยกันคือ
1. ร่างกายของเราสร้างเอนไซม์ เพื่อทำหน้าที่ในขบวนการชีวเคมีภายในร่างกาย
2. เอนไซม์ที่มีอยู่ในอาหารดิบ
3. อาจได้รับเอนไซม์เพิ่มเติมในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
 
ที่มาของข้อมูล : http://www.bioenzyme.biz
 

 
เอนไซม์คืออะไร
 
เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี
เป็นคำในภาษากรีก ?νζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo ("en:leaven" หรือ "en:yeast")
 
เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก
หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น
ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น
- การผ่าเหล่า (mutation)
- การผลิตมากเกินไป (overproduction)
- ผลิตน้อยเกินไป (underproduction)
- การขาดหายไป (deletion)
 
ดังนั้นการขาดเอนไซม์ที่สำคัญอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ การผ่าเหล่าอาจจะเกิดขึ้นในโครงสร้างบางส่วนของเอนไซม์
หรืออาจเป็นบางส่วนของโปรตีน เช่น
- โครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure)
- โครงสร้างทุติยภูมิ ( secondary structure)
- โครงสร้างตติยภูมิ (tertiary structure)
- โครงสร้างจตุรภูมิ (quaternary structure)
 
ตัวอย่างเช่น ฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) เกิดจากการงานบกพร่องของ เอนไซม์ฟีนิลอะลานีน ไฮดรอกซิเลส
(phenylalanine hydroxylase) ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของฟีนิลอะลานีนเป็นผลให้เกิดการสะสมฟีนิลอะลานีนมาก
และจะแสดงออกมาใน ความผิดปรกติทางจิต (mental retardation)
 
เหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาทั่วไป เอนไซม์ ทำงานโดยการลดพลังงานกระตุ้น (activation energy)
ให้เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากนี้ยังเร่งให้เกิดเร็วขึ้นซึ่งสามารถทำให้เร็วได้ถึงหนึ่งในหลายล้านส่วน
 
- เอนไซม์ ไม่มีผลต่อความสมดุล (equilibrium) ของปฏิกิริยาเคมี
- เอนไซม์ ไม่มีผลต่อพลังงานสัมพัทธ์ (relative energy) ระหว่างสารที่ได้จากปฏิกิริยา (products)
   และสารที่ทำปฏิกิริยา (reagents)
- เมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาอื่นแล้ว เอนไซม์ จะมีความจำเพาะต่อปฏิกิริยาหนึ่งปฏิกิริยาใดมากกว่า
- การทำงานของ เอนไซม์ จะถูกแทรกแซงได้โดยโมเลกุลของสารประกอบอื่นได้
  ถ้าโมเลกุลของสารประกอบที่มาแทรกแซงทำให้การทำงานของ เอนไซม์ ดีขึ้น เราเรียกสารประกอบนั้นว่า แอกติเวเตอร์ (activators)
  และถ้าโมเลกุลของสารประกอบที่มาแทรกแซงทำให้การทำงานของ เอนไซม์ ลดลง เราเรียกสารประกอบนั้นว่า อินฮิบิเตอร์ (Inhibitors)
  อินฮิบิเตอร์ ที่ทำให้เอนไซม์หยุดทำงานถาวรเรียกว่าอินฮิบิเตอร์ สังหาร (Suicide inhibitors) อินฮิบิเตอร์ มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
  และมนุษย์สร้างขึ้น ยาหลายตัวเป็นเอ็นไซม์อินฮิบิเตอร์ เช่น แอสไพริน ยับยั้งเอนไซม์ที่เป็นตัวนำส่งการอักเสบโปรสตาแกลนดิน
  ทำให้เกิดการระงับความเจ็บปวดและการอักเสบ
- เอนไซม์ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น ผงซักฟอกที่ไปเร่งปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดผ้า   
   (เช่นการทำลายรอยเปื้อนที่เกิดจากแป้ง)
- มี เอนไซม์ มากกว่า 5,000 ตัว ที่มีชื่อแตกต่างกันโดยการตั้งชื่อจะลงท้ายด้วย -ase และตัวชื่อ เอนไซม์
  จะตั้งชื่อตามสารที่มันจะเปลี่ยน เช่น แลคเตส (lactase) เป็น เอนไซม์ ที่เร่งการสะลายตัวของแล็กโทส (lactose)
 
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์
1. อุณหภูมิ เอนไซม์แต่ละชนิด มีความไวต่ออุณหภูมิแตกต่างกัน อุณหภูมิที่เอนไซม์ทำงานได้ดีที่สุด (optimum temperature)
   โดยทั่วไปอยู่ประมาณ 25-40 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปปฏิกิริยาจะลดลงทั้งนี้เพราะ เอนไซม์
   ซึ่งเป็นโปรตีนจะเกิดการเสียสภาพ (denature) จึงเข้ารวมกับซับสเตรตไม่ได้
2. ความเป็นกรดเป็นด่าง มีผลต่อปฏิกิริยาของเอนไซม์ เอนไซม์ แต่ละชนิดจะทำงานได้ดีที่สุด ในสภาวะที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง
   พอเหมาะ (optimum pH) ซึ่งอาจแตกต่างกัน เช่น ซูเครสทำงานได้ดีที่สุดที่ pH =6.2 ลิเพส =7.0
    เพปชิน = 1.5-2.5 ทริปชิน =8-11
3. ปริมาณของเอนไซม์ ถ้ามีเอนไซม์มากจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเอนไซม์มากเกินพอ
    ความเร็วของปฏิกิริยาจะไม่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะ ไม่มีซับสเตรตเหลือพอที่จะเข้าทำปฏิกิริยา
4. ปริมาณซับสเตรต มีผลเช่นเดียวกับปริมาณของเอนไซม์คือถ้าเพิ่ม ซับสเตรตมากเกินไป ปฏิกิริยาก็จะไม่เกิดเร็วขึ้น
    เพราะปริมาณเอนไซม์มีไม่เพียงพอ
 
นอกจากปัจจัยทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้วยังมีสารบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ เช่นสารที่ทำให้การทำงานของเอนไซม์ลดลง
เรียกว่า ตัวยับยั้ง (inhibitor) ส่วนสาร ที่เร่งการทำงานของเอนไซม์ได้ดีขึ้น เรียกว่า ตัวเร่งเร้า (activator)
ตัวยับยั้งบางตัวจะรวมกับเอนไซม์ที่แหล่งกัมมันต์ ทำให้เอนไซม์ไม่สามารถรวมกับ ซับสเตรตได้
ตัวยับยั้งแบบนี้เรียกว่าคอมเพทิทีฟอินฮิบิเตอร์ (competitive inhibitor) ซึ่งจะมีรูปร่างโมเลกุลคล้ายกับซับสเตรต
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/เอนไซม์
 

 
 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa