aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
กระดูกอ่อนปลาฉลาม"กินแล้วช่วยบำบัด"มะเร็ง" ได้จริงหรือ ???
"ก้างปลาฉลาม" หรือ กระดูกอ่อนปลาฉลาม มักถูกยกขึ้นมากล่าวถึง หากใครสักคนกำลัง
มองหาวิธีต่อสู้ กับ "โรคมะเร็ง" ปัจจุบันนี้ได้แพร่มาถึงเมืองไทยแล้ว จึงมีการกล่าวถึง
ความหัศจรรย์ของมันไว้มากมายในอินเตอร์เน็ต แต่สามารถบำบัดโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่
จากการสืบค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ก็ได้พบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้ง 2 ด้าน โดยพบเว็บที่แฝงอยู่ใน
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีข้อมูลว่า "Shark Cartilage หรือกระดูกอ่อนปลาฉลาม
ป้องกันมะเร็งที่เกิดจากสารก่อมะเร็งหรือเซลล์ที่ผิดปกติ เซลล์ผิดปกติดังกล่าวจะกระตุ้นร่างกาย
ให้สร้างเส้นเลือดฝอยใหม่ เพื่อนำอาหารมาหล่อเลี้ยง ทำให้เซลล์แบ่งตัวเร็วผิดปกติ จนเกิดเป็นก้อนเนื้อ
มะเร็งในที่สุด Shark Cartilage มีผลยับยั้งการสร้างเส้นเลือดฝอยใหม่ ทำให้เซลล์เหล่านั้นขาดอาหาร
 
- ลดการอักเสบของข้อหรือผิวหนัง Shark Cartilage ลดการสร้างเส้นเลือดฝอยใหม่
  จึงสามารถลดการอักเสบ ของข้อและผิวหนังได้ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาปวด
  และอักเสบของข้อและผิวหนัง เช่น Rheumatoid, Eczema, Psoriasis
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
  และเพิ่มการสร้างสารภูมิคุ้มกันของร่างกาย"
 
ขณะที่เว็บไซต์ Thaiclinic.com พบว่า พญ.รุ่งทิพย์ วรรณวิมลสุข ฟันธงไว้ว่า
ไม่มีความจริงแต่อย่างใด ไม่น่าเชื่อถือ เพราะถ้าเป็นจริง คนที่พบควรได้รับรางวัลโนเบิลไพร์ส
ในฐานะผู้ประสบความสำเร็จ ในการรักษามะเร็ง
 
สำหรับประเด็นเรื่อง Shark Cartilage รักษามะเร็งได้หรือไม่? ก่อนอื่นควรเริ่มที่เรื่องเกี่ยวกับ
"กระดูกอ่อนเฉยๆ" กับการต่อต้านมะเร็ง ซึ่งมีการศึกษากันมานานพอสมควรก่อน
ด็อกเตอร์ จูดาห์ โพล์คแมน ปรมาจารย์ด้านการศึกษา สารต้านการเจริญของเซลล์มะเร็ง สามารถค้นพบว่า
สาเหตุที่เซลล์มะเร็งเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น เป็นเพราะมันสามารถสร้างสารกระตุ้นให้เส้นเลือดใหญ่
สร้างเส้นเลือดฝอย เพื่อส่งสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งได้มากผิดปกติ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า "Angiogenesis"
 
การค้นพบดังกล่าว ในตอนแรกไม่ค่อยมีใครเชื่อถือ ด็อกเตอร์จูดาห์จึงพยายามหาทางพิสูจน์
โดยพยายามยับยั้งกระบวนการดังกล่าวและก็ประสบความสำเร็จ เมื่อทีมงานของเขาค้นพบว่า
"สารที่สกัดจากกระดูกอ่อน สามารถยับยั้งกระบวนการนี้ได้"
 
ด็อกเตอร์จูดาห์ โพล์คแมน
 
ที่เป็นจริงคือ ปลาฉลามเป็นสัตว์ที่มีก้างเป็นกระดูกอ่อนทั้งตัว ดังนั้น กรรมจึงมาเยือน เพราะศาสตราจารย์
คนหนึ่งของเอ็มไอที สหรัฐ ได้วิจัยเกี่ยวกับการเตรียมสารสกัดจากก้างปลาฉลาม แล้วทำให้แห้ง
เป็นผงด้วย วิธีการที่ดีที่สุด เพื่อการรักษาคุณภาพของสารที่ว่านั้น โดยการใช้วิธี "Freeze Drying"
และเมื่อท่านค้นพบกระบวนการสกัด ที่ "คิดว่า" จะมีประโยชน์ในการบำบัดโรคมะเร็งแล้ว
ก็ได้จดลิขสิทธิ์และลาออกจากมหาวิทยาลัย ไปหากินส่วนตัว เพื่อความร่ำรวย
 
ประโยชน์ของปลาฉลามมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปลาฉลามถูกนำมาใช้ประโยชน์
ทั้งหนังที่นำไปทำกระเป๋ารองเท้าและ เครื่องใช้นานาชนิด เนื้อและอีกหลายส่วนในร่างกายถูกนำไป
รับประทาน รวมทั้งกระดูกอ่อนถูกนำไปใช้ทำยา พร้อมกันนั้นได้มีการทดลองนำฉลามพันธุ์ที่ไม่ดุร้าย
และตัวเล็กคือพันธ์ NURSE มาทดลอง โดยได้ฉีดสารมะเร็งเข้าไปในตัวรวมทั้งนำลงไปเลี้ยงในบ่อ
ที่มีสารเคมี รวมไปถึงการทดลองด้วยการให้ปลากินสารเคมี จากนั้นได้มีการนำเลือดของปลา
มาตรวจภูมิต้านทาน ซึ่งพบว่า ปลาฉลาม ไม่มีอาการใดๆ รวมทั้งไม่เป็นโรคมะเร็งด้วย
 
เนื้องอกที่เป็นมะเร็งหลายชนิดสามารถโตได้ก็เพราะมันจะเหนี่ยวนำให้ร่างกายพัฒนาเครือข่าย
ของเส้นเลือด ให้นำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ซึ่งกระดูกอ่อนปลาฉลามมีโปรตีนที่มีผลระงับ
ไม่ให้เนื้องอกเจริญเติบโต และระงับโรคมะเร็งด้วย โดยโปรตีนชนิดนี้จะไประงับการสร้างเส้นเลือดฝอย
ที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอกหรือก้อนมะเร็งดังนั้นเนื้องอกจะถูกตัดแหล่งอาหารไป และจะเริ่มฝ่อลง
และยังได้มีการทำวิจัยโดยการนำกระดูกอ่อนปลาฉลามฉีดเข้าไปในไข่ไก่ที่กำลังจะเป็นตัว
ซึ่งจะมีเส้นเลือดฝอยอยู่ภายใน แต่หลังจากที่ได้รับกระดูกอ่อนไปแล้ว พบว่าเส้นเลือดที่อยู่ข้างใน
ได้หายไป พร้อมกันนั้น ในรัฐแมสซาซูเสตต์ก็มีการทดลองด้วยว่ากระดูกอ่อนของวัว
ที่มีผลสามารถระงับการสร้างเส้นเลือดฝอยได้เช่นกัน แต่จะต้องใช้ในจำนวนที่มาก
ในประเทศคอสตาริกได้ทดลองใช้กระดูกอ่อนปลาฉลามขนาด 12 กรัมต่อวัน
 
นานประมาณ 6 เดือน พบว่าเซลล์มะเร็งและเนื้องอกมีขนาดเล็กลง และที่ประเทศคิวบา พบว่า
ผู้ที่ใช้กระดูกก่อนปลาฉลาม 8 คนเซลล์มะเร็งหายไป 30% และในประเทศเยอรมนี
ผู้ป่วยมะเร็งขั้นรุนแรงกว่า 80% อาการเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
 
นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น เบาหวานขึ้นตา และจอประสาทตาเสื่อมซึ่งมีลักษณะ
การเจริญเติบโตของเส้นเลือดใหม่ภายในดวงตา เนื่องจากเป็นการเจริญเติบโตผิดที่ การเกิดเส้นเลือด
เหล่านี้ สามารถนำไปสู่การตาบอดได้ ซึ่งกระดูกอ่อนปลาฉลามยังสามารถตอบสนองกับโรคนี้ได้ดี
รวมไปถึงการช่วยลดการอักเสบของข้อและผิวหนัง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบ สะเก็ดเงิน
ลำไส้อักเสบเป็นส่วนๆ
 
นอกเหนือโปรตีนที่ช่วยยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่แล้ว กระดูกอ่อนปลาฉลามยังประกอบด้วยแคลเซียม
ประมาณ 16% ฟอสฟอรัสประมาณ 8% ซึ่งจะถูกดูดซึมเป็นสารอาหาร และมิวโคโพลีแซคคาไรด์
ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
 
โดยมากปลาฉลามที่นำมาผลิตอาหารเสริมนี้ เป็นฉลามหัวค้อน ซึ่งมีนิสัยชอบอยู่กันเป็นกลุ่มและอาศัยอยู่
ในน่านน้ำที่ไม่ลึกมาก จึงง่ายต่อการจับโดยปลาฉลาม 1 ตัวนั้น จะมีกระดูกอ่อนมากถึง 60-80%
ซึ่งกระดูกอ่อนนี้จะเป็นกระดูกที่ต่อกันเป็นข้อๆ เพื่อให้ปลาฉลามสะบัดตัวว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
 
ที่มาข้อมูล : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1238205098&grpid=01&catid=01
 

 
คอลลาเจน
คอลลาเจน คือ โปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักๆของชั้นผิวหนัง ทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของ
ผิวหนังเข้าด้วยกัน โดยโปรตีนชนิดนี้มีส่วนประกอบถึง 25% ถึง 35% ของจำนวนหน่วยโปรตีนทั้งหมด
ในร่างกาย โดยมีมากที่สุดที่ผิวหนัง และ ประมาณ 1% ถึง 2% ที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ
การผลิตเจลลาตินในอาหารได้จากกรรมวิธี การย่อยหน่วยคอลลาเจนที่เรียกว่า Hydrolysis
 
หน้าที่ของคอลลาเจน
คอลลาเจนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนโดยทั่วๆไปเช่นแดียวกับเอนไซม์ สายเส้นใยของคอลลาเจน
ถูกเรียกว่า คอลลาเจน ไฟเบอร์ (Collagen Fiber) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุล
เกี่ยวพันกันมากมาย โดยปกติทั่วไปผิวหนังที่มีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างอยู่มาก
จึงมีแรงสปริงตัวและ ยืดหยุ่นได้ดีตามไปด้วย คอลลาเจนนั้นไม่ได้มีอยู่ที่ผิวหนัง
ส่วนนอกเท่านั้น อวัยวะภายในร่างกายเอง มีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่มาก
ได้แก่ ผังผืด (Fascia) กระดูกอ่อน (cartilage), เส้นเอ็น (ligaments),
กระดูก (bone) สารคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียก
อีกอย่างว่า เคราติน Keratin
 
เคราติน Keratin, เคราตินมีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น
เมื่อสารเคราติน ในชั้นผิวลดลง จึงเกิดริ้วรอยแห่งวัยขึ้นบนชั้นผิว
นอกจากนี้ เคราตินมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด มีส่วนช่วยในการ
สร้างเนื้อเยื่อใหม่ รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อกระจกตาและเลนส์ตาด้วย
 
Hydrolyzed Collagen เองยังถูกใช้งานในแง่ของการลดน้ำหนักได้ด้วย
เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของโปรตีนจึงมีข้อดีในการช่วยเผาผลาญพลังงาน
ลดไขมันส่วนเกิน
 
บทบาทคอลลาเจนในวงการอุตสาหกรรม
เมื่อนำคอลลาเจนมาผ่านกระบวนการ Hydrolyzed สารคอลลาเจนจะแตกตัวออก
เป็นสารเชิงซ้อนของคอลลาเจนเปปไทด์แบบ Polyproline II (PPII) หรือลักษณะ
ของเจลาตินที่นำมาเป็นส่วนผสมของอาหารนั่นเอง นอกจากการใช้เป้นอาหารแล้ว
คอลลาเจนยังใช้เป็นส่วนประกอบของยา เครื่องสำอางค์ และฟีล์มถ่ายภาพ
เมื่อพิจารณาในแง่ของอุตสาหกรรมอาหารแล้ว สารคอลลาเจนไม่ได้ประกอบด้วย
กรดอะมิโนที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย แต่มีการประชาสัมพันธ์เชิงการค้าว่า
ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมคอลลาเจนต่างแสดง คุณสมบัติของสินค้าว่าสามารถ
ยับยั้งการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและมีผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งยังไม่มีผลการวิจัย
ทางวิทยาศาสตร์ที่ออกมาสนับสนุนการโฆษณาในลักษณะนี้
 
คำว่าคอลลาเจน (Collagen) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกจากคำว่า “Kolla” ที่แปลว่า กาว โดยเมื่อก่อนได้มี
การทำกาวโดยการนำหนังและเอ็นม้ามาเคี่ยวจนกลายเป็นกาว ตามหลักฐานที่พบมีการใช้งานกาวลักษณะนี้
มากว่า 8000 ปีแล้ว โดยใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเชือกและตระกร้าสานเพื่อให้มีความแข็งแรง
และมีการใช้งานภายในครัวเรือนทั่วไป กาวชนิดนี้เมื่อแห้งแล้วสามารถทำให้อ่อนนิ่มได้อีก
โดยการให้ความร้อน เพราะกาวจากสิ่งมีชีวิตเป็น Thermoplastic ชนิดหนึ่งจึงมีการใช้งานได้หลากหลาย
โดยเฉพาะการผลิกเครื่องดนตรีเช่น ไวโอลีน กีตาร์ แม้กระทั่งเมื่อมนุษย์สามารถผลิตพลาสติก
สังเคราะห์ได้แล้ว แต่ยังมีการใช้งานกาวเจลาตินอยู่ทั่วไป
 
บทบาทคอลลาเจนในวงการแพทย์
คอลลาเจนมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในวงการศัลยกรรมความงาม ศัลยกรรมกระดูก การจัดฟัน
และวงการศัลยกรรมทั่วไป เป็นส่วนประกอบของผิวหนังสังเคราะห์ที่ใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียผิวหนัง
เนื่องจากอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งใช้คอลลาเจนสังเคระห์จากผิวหนังของลูกวัว (Bovine)
หรือจากหมู (Equine, Porcine) บางครั้งจะใช้ผิวหนังจากผู้บริจาค หรือใส้ซิลิโคนสังเคราะห์แทน
 
คอลลาเจนได้มีการจำหน่ายในลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนช่วยเคลื่อนไหว เนื่องจากคอลลาเจนเมื่อ
รับประทานเข้าไปจะย่อยสลายเป็นโปรตีนและกรดอะมิโนในที่สุด จึงช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
โดยวิธีรับประทานได้น้อยมาก ดังนั้นวงการแพทย์ในปัจจุบันจึงมีการใช้คอลลาเจนในแง่ของศัลยกรรม
ความงามมากที่สุด
 
วิธีที่จะเพิ่ม คอลลาเจนนั้น ทำได้หลายวิธี
1. การฉีดคอลลาเจนโดยตรง จากแพทย์
2. รับประทานอาหารที่ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี, วิตามินอี
 
ที่มาของข้อมูล : www.th.wikipedia.org/wiki/คอลลาเจน
 

 
 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa