aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
กาแฟสำเร็จรูปผสมรังนก ตรา "รอยัล โกลด์เด้น (Royal Golden) "
บรรจุซองละ 14 กรัม จำนวน 20 ซอง
กาแฟรสเข้มข้น ปราศจากน้ำตาล
เลข ทะเบียน อย.
 
กาแฟสำเร็จรูปผสมรังนก ตรา "บีคอฟฟ์ (B-Coff) "
บรรจุซองละ 20 กรัม จำนวน 20 ซอง
เลข ทะเบียน อย.
 
กาแฟสำเร็จรูปผสมรังนก ตรา "ทองทิพย์ (ThongThip)"
บรรจุซองละ 20 กรัม จำนวน 20 ซอง
เลข ทะเบียน อย.
 
   
 
ไทยเทสต์ , รอยัลสยาม , รอยัลโกลด์เด้น , Thai tastes , royal siam , royal golden , เครื่องดื่มกาแฟสำเร็จรูปผสมรังนก
รังนกผง , กาแฟสำเร็จรูปผสมรังนกผง , กาแฟรังนก , รังนกกาแฟ , รังนกผสมกาแฟ , เครื่องดื่มกาแฟรังนก
ประโยชน์ของรังนก
นอกเหนือจากอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ มีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันปลา
ซุปไก่สกัด อิฟนิ่งพริมโรสออยล์ กระเทียมอัดเม็ด วิตามินชนิดเม็ด แครอทสกัด ฯลฯ แล้ว
"รังนกนางแอ่น" ยังเป็นอีกหนึ่งในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่กำลังได้รับความนิยม
เพราะช่วยบำรุงกำลังให้ร่างกายสดชื่น แข็งแรง แก้อาการอ่อนเพลีย แก้ไอ
ขับเสมหะ ไอเป็นเลือด และยังค้นพบอีกว่า ในคนที่สูบบุหรี่จัด การรับประทานรังนกนางแอ่น
เป็นประจำทุกเช้า จะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ลดอาการไอ และช่วยฟอกปอด ได้อีกด้วย
 
อีกทั้งมีการตรวจสอบสารประกอบในรังนกนางแอ่น ของMr.Biddle และ Mr.Belyavin
พบว่า รังนกนางแอ่น สามารถยับยั้งการเกิดเชื้อไวรัสไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ผ่านการรักษา
โดยใช้รังสีฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นสาร Epiderma Growth Factor ในรังนกนางแอ่น
ยังมีคุณค่าต่อระบบเลือดช่วยบำรุงผิวพรรณให้อ่อนกว่าวัย ชะลอความแก่ (Antiaging)
และทำให้อายุยืนอีกด้วย
 
ที่มาของภาพ : http://gurusiteth.com/wp-content/uploads/2015/07/birdsnests.jpg
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541
 

 
ไข้หวัดใหญ่อันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ระบาดมากในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม)
และฤดูหนาว (มกราคม – มีนาคม) ของทุกปี ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรง
และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าโรคไข้หวัดทั่วไป
 
รู้จักโรคไข้หวัดใหญ่
โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus)
ซึ่งเชื้อนี้มีหลายชนิดมากพอที่จะทำให้สามารถแยกไข้หวัดใหญ่ในคนได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา
     ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีก อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง
2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอช 1 เอ็น 1 (H1N1)
     ที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสตัวเดิมมาก จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันและติดเชื้อในวงกว้าง
     ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป
 
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป คือ ติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย
และเสมหะของผู้ป่วยที่ไอหรือจาม และการสัมผัสมือหรือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย
เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ โทรศัพท์ ของเล่น รีโมตโทรทัศน์
เมื่อใช้มือมาขยี้ตา แคะจมูก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยง่าย
 
อาการไข้หวัดใหญ่
โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการที่รุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยสังเกตได้จากอาการที่มักเกิดขึ้นทันทีทันใด
ต่างจากไข้หวัดธรรมดามักจะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป และที่สำคัญคือ ไข้หวัดใหญ่มักมีไข้สูงติดกันหลายวัน
โดยเฉพาะในเด็กจะมีไข้สูงลอยเกินกว่า 39 – 40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3 – 4 วัน อาจมีอาการหนาวสั่นสะท้านร่วมด้วย
ในขณะที่ไข้หวัดธรรมดาอาจมีไข้แต่ไม่สูงมากนัก นอกจากนั้นเด็กโตและผู้ใหญ่มักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อ่อนเพลียอย่างมาก และเบื่ออาหารเป็นอาการสำคัญ
 
ความน่ากลัวของไข้หวัดใหญ่อย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้แก่ โรคปอดอักเสบ
และโรคสมองอักเสบ ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง
เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อทราบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่
 
ดูแลรักษาไข้หวัดใหญ่
การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มาก
อาจจะดูแลเองที่บ้านและรักษาตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว
และใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มแอสไพริน
หรือถ้ามีน้ำมูกให้ใช้ยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
รับประทานอาหารอ่อน ๆ และนอนพักมาก ๆ ไม่ควรออกกำลังกาย
 
หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน เช่น ไข้สูงมากจนเพ้อ ซึม หายใจหอบ หายใจลำบาก
เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืด มีอาการขาดน้ำและดื่มน้ำไม่เพียงพอ
ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ
 
ป้องกันไข้หวัดใหญ่
1. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วย
2. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
3. ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นพวกผัก ผลไม้ นม ไข่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง
5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
6. ดื่มน้ำสะอาด
7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
8. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น
9. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพิ่มเติมจากตารางฉีดวัคซีนตามปกติ แนะนำให้ฉีดกับคนกลุ่มเสี่ยงได้แก่
    คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 19 ปี คนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด
    ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่จะต้องไปคลินิกหรือไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ ช่วงฤดูไข้หวัด ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล
    คนที่กินยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
 
คัดลอกข้อมูลและภาพจาก : https://www.bangkokhospital.com/content/influenza-prevention
อ้างอิงข้อมูลโดย : โรงพยาบาลกรุงเทพ
 

 
ไอเป็นเลือด
ความหมาย ไอเป็นเลือด
ไอเป็นเลือด (Haemoptysis) คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจหรือปอดผิดปกติ ซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกัน
ทำให้เลือดอาจออกมาจากช่องคอ ช่องท้อง หรือปอด ลักษณะและปริมาณของเลือดที่ออกมานั้นแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับความรุนแรง โดยอาจมีสีแดงสด ชมพู หรือมีลักษณะเป็นฟองและมีเสมหะผสม หลายคนตกใจเมื่อไอเป็นเลือด
อาการนี้เกิดขึ้นได้แม้จะมีสุขภาพแข็งแรงดี แต่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงเสมอไปหากมีเลือดเล็กน้อย
แต่ถ้าเลือดออกมากควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้
อาการไอเป็นเลือด
ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง หรือมีภาวะปอดติดเชื้อ จะมีเลือดออกในปอดทำให้เวลาไอมีเลือดปนออกมากับน้ำลาย
มักมีสีแดงสดปริมาณเล็กน้อย บางครั้งอาจไอออกมาเป็นฟอง มีเลือดเป็นลิ่ม ๆ และมีเสมหะผสม
แต่หากเลือดออกมามีสีคล้ำและมีเศษอาหารผสม คล้ายกากกาแฟ อาจเป็นเลือดที่มาจากทางเดินอาหารที่กำลังมีปัญหา
ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที หรือหากมีอาการไอเป็นเลือดปริมาณมากและไม่มีทีท่าว่าจะหยุด
ซึ่งถือว่าเป็นภาวะร้ายแรง ควรโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินนำตัวส่งให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อดำเนินการรักษาต่อไป
อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก
 
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
- อาการระคายเคืองจากการไอที่มากเกิน การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ
  เกิดอาการระคายเคืองและไอเป็นเลือดได้
- การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ สาเหตุของไอเป็นเลือดที่พบมากที่สุดคือ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
  หรือหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute Bronchitis) และการติดเชื้อในปอด หรือปอดบวม (Pneumonia)
  ผู้ป่วยจะมีไข้สูงร่วมด้วย อาการไอเป็นเลือดจะดีขึ้นและหายเป็นปกติเมื่อการติดเชื้อได้รับการรักษา
- หลอดลมพอง คือ ภาวะที่หลอดลมขยายตัวอย่างผิดปกติ และมีการผลิตเมือกมากในทางเดินหายใจ
  ผู้ป่วยจะไอเป็นเสมหะค่อนข้างมาก หากทางเดินหายใจอักเสบจะไอเป็นเลือดร่วมด้วย
- วัณโรค เป็นสาเหตุที่พบได้ในไทย ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรังนานมากกว่า 3 สัปดาห์ มีเสมหะเป็นเลือด ไข้สูง
  นอกจากนี้ ยังมีอาการเหนื่อยง่าย น้ำหนักลด และมีภาวะเบื่ออาหารร่วมด้วย
- โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด คือ ภาวะที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงในปอด ผู้ป่วยมักหายใจลำบากอย่างกะทันหัน
   เจ็บหน้าอก และในบางรายอาจไอเป็นเลือดร่วมด้วย
- ปัญหาหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรงเป็นสาเหตุทำให้มีน้ำในช่องปอด
   ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก อาจมีเสมหะเป็นฟองปนเลือด นอกจากนี้ ปัญหาหลอดเลือดต่าง ๆ   
   อาจทำให้เลือดออกในทางเดินหายใจและปอดได้เช่นกัน แต่ภาวะนี้พบได้น้อยมาก
- มะเร็งปอด อาการไอเป็นเลือดหรือเสมหะเป็นเลือด เป็นอาการหนึ่งของมะเร็งปอด
   ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่
- การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
   เช่น Warfarin Dabitagran และ Rivaroxaban ทำให้เกิดภาวะเลือดออก
   และไอเป็นเลือดได้
- การอักเสบและความผิดปกติของเนื้อเยื่อ เป็นภาวะที่เกิดกับทางเดินหายใจหรือปอด
   ทำให้เลือดออกและเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยไอเป็นเลือด
   สาเหตุของภาวะนี้ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจที่มีภาวะเลือดออกในถุงลมและหลอดเลือดฝอยในปอด
  (Pulmonary Haemosiderosis) และอาการไอเป็นเลือดช่วงมีประจำเดือนเนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในปอด
  (Pulmonary Endometriosis) อย่างไรก็ตามสาเหตุนี้พบได้ไม่บ่อย
- การสูดสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูกและการบาดเจ็บของปอด การสูดสิ่งแปลกปลอมเข้าไป
   เช่น ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ หรือถั่วลิสงในเด็กเล็ก สามารถทำให้ทางเดินหายใจและปอดเสียหายได้
   ซึ่งเป็นสาเหตุให้ไอเป็นเลือด
- ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ บางครั้งแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุของอาการไอเป็นเลือดได้
   (Idiopathic Haemoptysis) ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดเล็ก ๆ ในทางเดินหายใจแตกและทำให้เลือดออก
    โดยแพทย์จะวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อตรวจไม่พบสาเหตุอื่น ๆ
    บางครั้งอาการไอเป็นเลือดเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสาเหตุ และจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก
 
การวินิจฉัยอาการไอเป็นเลือด
แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการซักถามประวัติ สีและลักษณะของเลือด รวมถึงอาการอื่น ๆ
เพื่อหาว่าเลือดออกมาทางใด ปกติเลือดจะออกจากทางเดินหายใจหรือปอด
แต่บางกรณีก็ยากที่จะวินิจฉัยโดยเฉพาะในภาวะต่อไปนี้
 
- ภาวะที่มีเลือดออกจากทางปากหรือจมูก และไหลกลับเข้าไปในช่องคอ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอ
- ภาวะที่ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด ซึ่งอาจมีอาการไอร่วมด้วย
 
นอกจากการวินิจฉัยข้างต้นแล้ว แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของอาการไอเป็นเลือด ดังนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง เพื่อหาความผิดปกติของเลือด และเกร็ดเลือด
- เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อดูหลอดเลือดแดง หัวใจ ปอดและกะบังลม
- เก็บเสมหะส่งเพาะเชื้อ เพื่อหาแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ
- วินิจฉัยหลอดเลือดทางรังสีวิทยา เพื่อประเมินการกระจายของหลอดเลือดในปอด
- ส่องกล้องหลอดลม (Bronchoscopy) เพื่อหาช่องทางที่เลือดออกมา
- ตัดชิ้นเนื้อปอดส่งตรวจ เพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อ
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูภาพตัดของทรวงอก
 
ภาวะแทรกซ้อนของอาการไอเป็นเลือด
อาการไอเป็นเลือดส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่ภาวะที่รุนแรง โดยจะมีอาการดีขึ้นและหายได้เอง
อย่างไรก็ตาม อาการไอเป็นเลือดอาจมีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติอื่น ๆ
หรือโรคประจำตัวที่ร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้อาการแย่ลง
และเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือดรุนแรง
นอกจากนี้ อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งได้
 
การป้องกันอาการไอเป็นเลือด
ไอเป็นเลือดส่วนใหญ่ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง แต่ควรป้องกันตัวเองด้วยการดูสุขภาพร่างกาย
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
เพื่อสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
ซึ่งทำลายสุขภาพปอดและทางเดินหายใจ ระวังการสูดเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก
หรือจมูกในเด็กเล็ก ซึ่งจะส่งผลให้ทางเดินหายใจและปอดเสียหายได้
อย่างไรก็ตาม บางปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอาการไอเป็นเลือดสามารถป้องกันได้ยาก
เช่น โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เป็นต้น
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและภาพจาก : https://www.pobpad.com/ไอเป็นเลือด
 

 
CALL CENTER : 084-467-7810
E-mail : ceo424d@hotmail.com
 
 
 
 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa