aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์ชนิดผงพร้อมชง ตรา "MOM"
เหมาะสำหรับเด็ก , ผู้ใหญ่ , วัยชรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วย
น้ำหนักสุทธิ์ / กล่อง : 200 กรัม ( 20 กรัม X 10 ซอง)
เลข ทะเบียน อย.
 
   
 
 
ข้าวกล้องปรุงแรกผลิ 6 ประกอบด้วยข้าวดอกมะลิ 105 ชั้นหนึ่ง ผสมกับข้าวคุณภาพ
ซึ่งผ่านกระบวนการเพาะให้งอก (germination) 4 ชนิด คือ ข้าวกล้องขาว ดอกมะลิ 105
ข้าวเหนียวกล้อง กข6 ข้าวกล้องหอมมะลิแดง และข้าวก่ำดอยมูเซอ ที่ให้โปรตีนสูง เส้นใยสูง
แต่พลังงานต่ำ ให้สารสี (Anthocyanin) เป็นสารพวก Flavonoid ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
สารกาบา (GABA) และสารแกมมาโอไรซานอลสูงกว่าข้าวกล้องธรรมดา 3 เท่า
โดยข้าวกล้องปรุงแรกผลินี้ จะมีสารอาหารจำพวกวิตามินบี วิตามินอี ฟอสฟอรัส เหล็ก
ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ส่งเสริมระบบประสาท การมองเห็น ความจำ
ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้เข้าสู่วัยทองทั้งหญิงและชาย
ประโยชน์ของสารกาบา (GABA Gamma Amino-Butyric Acid)
- เป็น neurotransmitter และช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ , โรคลมชัก
- ช่วยให้รู้สึกสงบ ลดอาการวิตกกังวล และช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับ
- เพิ่มอัตราการเผาผลาญของเซลล์สมอง
- ลดความดันโลหิต
- ยับยั้งและป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง และมะเร็งในลำไส้
ประโยชน์ของสารแกมม่า โอไรซานอล (Gamma-Oryzanol)
- กระตุ้นต่อมไร้ท่อให้ขับฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)
  ในเพศชายให้อยู่ในระดับคงที่ ให้สัมพันธ์กับฮอร์โมนในการเจริญเติบโต (Growth Hormone)
- ลดอาการผิดปกติในวัยใกล้หมดประจำเดือน (menopause)
  ส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมที่มีอยู่ในข้าว โดยเฉพาะจากข้าวเพาะงอก
- มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
- ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
- กระตุ้นให้ตับสร้างสารอินซุลิน (Insulin)
ข้าวกล้องงอกคืออะไร
ข้าวกล้องงอก (Germinated Brown Rice หรือ "GABA-rice")
ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้าวกล้อง(Germinated Brown Rice)
เป็นการนำข้าวมาผ่านกระบวนการงอก ซึ่งโดยปกติแล้วในตัวข้าวเองประกอบด้วยสารอาหารจำนวนมาก
เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก (Phytic acid)วิตามินซี วิตามินอี และสาร GABA (Gamma Aminobutyric acid)
ซึ่งช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน และช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัว เป็นต้น
เมื่อนำข้าวกล้องมาแช่น้ำเพื่อทำให้งอกจะทำให้ข้าวกล้องมีสารอาหาร โดยเฉพาะ GABA เพิ่มขึ้น
ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์จากการที่มีปริมาณสารอาหารที่สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ข้าวกล้องงอกที่หุงสุก
มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม รับประทานได้ง่ายกว่าข้าวกล้องธรรมดาอีกด้วย จึงง่ายแก่การหุงรับประทานได้
โดยไม่ต้องผสมกับข้าวขาวตามความนิยมของผู้บริโภค >> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
 

สารสื่อประสาท (Neurotransmitte) คืออะไร?
 
สารสื่อประสาท คือ สารเคมีที่สร้างจากปลายเซลล์ประสาทหรือตัวเซลล์ประสาท และหลั่งออกจากปลายประสาท
เพื่อเป็นตัวนําสัญญาณประสาท (Neurotransmission) ผ่านรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาท ที่เรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse)
หรือ ช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กล้ามเนื้อ หรือ ช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาท
เพื่อให้วงจรการทำงานของระบบประสาทเกิดความสมบูรณ์ และเกิดการทำงานขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การสร้างและการทำงานของสารสื่อประสาทเกิดได้อย่างไร?
สารสื่อประสาทถูกสร้างขึ้นบริเวณปลายประสาท หรือสร้างจากกระบวนการสังเคราะห์สารโปรตีนทั่วไป
จากนั้นจะถูกเก็บรักษาไว้ภายในกระเปาะที่ปลายประสาท ที่มีถุงขนาดเล็กและไมโตคอนเดรีย (Mitochondria,
ชิ้นส่วนหนึ่งในเซลล์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างพลังงานของเซลล์) สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
จากนั้นจะถูกส่งไปยังเดนไดรต์ (Dendrite, แขนงเซลล์ประสาท) ของอีกเซลล์หนึ่ง
ซึ่งจะมีรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่า ไซแนปส์ โดยสารสื่อประสาทที่ถูกปล่อยเข้าสู่ช่องไซแนปส์
จะไปจับกับโปรตีนตัวรับ (Receptor) ที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของไอออน
(ตัวพาสัญญาณประสาท) ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มีการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เดนไดรต์
ของเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ และทำให้เกิดการส่งกระแสประสาทต่อไปเรื่อยๆ
จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งจนครบวงจรของคำสั่งนั้นๆ
 
ชนิดและหน้าที่ของสารสื่อประสาทมีอะไรบ้าง?
1.สารสื่อประสาทกลุ่มโคลิเนอร์จิค (Cholinergic) ได้แก่ อะซิทิลโคลีน (Acetylcholine )
   บางครั้งเรียกย่อว่า โคลีน/Choline) โดยอะซิทิลโคลีนถูกสร้างที่ปลายประสาทที่เรียกว่า โคลิเนอร์จิค
   พบมากที่ปมประสาทอัตโนมัติ เส้นประสาทกาย (Somatic nervous system, เป็นส่วนของเส้นประสาทส่วนปลาย)
   เรตินา (จอตา) และระบบประสาทส่วนกลาง การออกฤทธิ์ของอะซิทิลโคลีน จะจับกับตัวรับ
2.สารสื่อประสาทกลุ่มอะดรีเนอร์จิค (Adrenergic) หรือ แคทเทอโคลามีน (Catechola mine)
   ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทกลุ่มโมโนเอมีน (Monoamine, กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง)
   ได้แก่ สารนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) สารอะดรีนาลีน (Adrenaline) และ สารโดปามีน (Dopa mine)
3.ซีโรโตนีน (Serotonin) สร้างจากสารตั้งต้น คือ กรดอะมิโน ชื่อTryptophan
   ช่วยควบคุมการนอนหลับระยะหลับตื้น ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย สภาวะอารมณ์ และการรับรู้ความรู้สึก
   ความเจ็บปวด ทำงานสัมพันธ์กับโดปามีน และเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ
4. สารสื่อประสาทที่เป็นกรดอะมิโน (Amino group) ประกอบด้วย
   - แกมมาอะมิโนบิวไทริคแอซิด หรือ กาบา (Gamma - aminobutyric acid (GABA))
     เป็นสารสื่อประสาท ชนิดยับยั้ง ออกฤทธิ์ยับยั้งสัญญาณประสาทก่อนถึงจุดประสาน
     เป็นสารสื่อประสาทที่พบมากในสมองและไขสันหลัง เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ผ่านบริเวณเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท
     จึงทำให้กระแสประสาทผ่านได้น้อยลง เพื่อรักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น
     ทำให้ผ่อนคลายและหลับสบาย ช่วยกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pitui tary gland)
     ที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ทำให้สร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ป้องกันการสะสมไขมัน
   - ไกลซีน (Glycine) เป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง พบมากที่เซลล์เชื่อมของไขสันหลัง
      และของสมองส่วนที่เรียกว่า เมดัลลา (Medulla) และพอนส์ (Pons)
   - กลูตาเมต (Glutamate) และ เอสปาร์เทต (Aspatate) เป็นสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น
     พบมากในระบบประสาทส่วนกลาง มีความสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ และความจำ
5. นิวโรเปปไตด์ (Neuropeptide) เป็นสารสื่อประสาทที่มีความแรงของการออกฤทธิ์สูง จึงมีปริมาณต่ำ
    โดยทั่วไปมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ช้า
6. ฮีสตามีน (Histamine) เป็นสารพบมากในต่อมใต้สมอง มีตัวรับ 2 ชนิดคือ H1 และ H2 receptor
    หน้าที่ของฮีสตามีนในสมองเชื่อว่า เกี่ยวข้องกับการควบคุม การดื่มน้ำ การหลั่งฮอร์ โมน ADH
    (ฮฮร์โมนควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย) การอาเจียน การตื่น การควบคุมอุณหภูมิ
    และการทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหน้า
 
การผิดปกติของสารสื่อประสาทพบได้บ่อยไหม?
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบในวัยรุ่น วัยกลางคน
- โรคพาร์กินสัน พบในผู้สูงอายุ ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- ส่วนโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์นั้นพบในผู้สูงอายุ
- โรคซึมเศร้า โรคจิตเวช พบในวัยกลางคน เป็นต้น
 
อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของสารสื่อประสาท?
- โรคกล้ามเนื้ออ่นแรง พบปัจจัยเสี่ยงคือ ผู้ป่วยโรคภูมิต้านตนเอง/โรคออโตอิมมูน (เช่น โรคเอส แอล อี)
- และโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคพาร์กินสัน ปัจจัยเสี่ยงคือ ผู้สูงอายุที่มีประวัติอุบัติเหตุที่ศีรษะ นักมวย เป็นต้น
 
สามารถป้องกันไม่ให้ขาดสารสื่อประสาทได้หรือไม่?
การทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและครบห้าหมู่ (อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่) และการดูแลร่างกายให้แข็งแรง
มีสุขภาพที่ดีนั้น ก็เป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดสารสื่อประสาท ร่วมกับ การออกกำลังสมองที่สม่ำเสมอ
ก็เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ที่จะช่วยป้องกันได้ระดับหนึ่ง ที่ไม่ให้ร่างกายมีความผิดปกติของสารสื่อประสาท
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วน และรูปภาพ จาก : https://haamor.com/สารสื่อประสาท
เขียนโดย : ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า "อายุรแพทย์ประสาทวิทยา"
 

6 สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้ รู้เร็ว ป้องกันได้
โดย โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 "ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ"
 
“มะเร็งลำไส้ใหญ่” โรคที่พุ่งขึ้นมาติดอันดับต้นๆ และทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด
โดยจากสถิติพบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เพศชาย 10 คนต่อประชากรชาย 100,000 คน
และเพศหญิง 7 คนต่อ 100,000 คน แต่รู้ไหมว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่ป้องกันได้หากเรารู้สัญญาณ
การสังเกตอาการ และวิธีป้องกันตัวเอง เพราะสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
นอกจากกรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งแล้ว พฤติกรรมการทานอาหารของคนไทยเรานี่ล่ะ
คือ สาเหตุหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่
 
ที่สำคัญ มะเร็งลำไส้ใหญ่ยังเป็นโรคที่จะส่งสัญญาณเตือนออกมาเป็นอาการที่เราเห็นได้ชัดในชีวิตประจำวัน
หากคอยหมั่นสังเกตตัวเองสักนิด ก็จะรู้ทันและสามารถป้องกันและหยุดยั้งแต่เนิ่นๆ ได้
และนี่คือ 6 สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
 
1. ท้องผูกบ่อยจนกลายเป็นเรื่องปกติ
บางคนมีปัญหาเรื่องท้องผูกมาตั้งแต่เด็กๆ อาจเป็นเพราะพฤติกรรมการกินที่ไม่กินผักผลไม้
ร่างกายไม่ได้รับไฟเบอร์เพียงพอ และดื่มน้ำน้อย ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานไม่ดี
แต่ในบางคนอาจมีอาการท้องผูกเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตในวัยทำงาน
และปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรังจนมองว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิต
พฤติกรรมนี้ล่ะคือสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต
 
2. อุจจาระลีบเป็นลำเล็ก
เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่มักเริ่มจากการมีติ่งเนื้อขึ้นมาในลำไส้
ซึ่งอาจเป็นติ่งเนื้อธรรมดาไม่ใช่เนื้อร้าย แล้วจึงพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งในภายหลัง
การมีติ่งเนื้อขึ้นขวางภายในลำไส้นี้ จึงทำให้อุจจาระที่เคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่
มีลักษณะถูกบีบให้เป็นลำเล็กลีบ ดังนั้นหากสังเกตได้ว่าอุจจาระมีลักษณะเล็กลีบเป็นประจำ
นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อขึ้นในลำไส้
 
3. มีเลือดสดหรือเลือดสีแดงเข้มมากปนมากับอุจจาระ
อาจเกิดจากอุจจาระที่แข็งเมื่อเบียดกับติ่งเนื้อที่ขึ้นผิดปกติภายในลำไส้เกิดเป็นแผล
ทำให้มีเลือดออกและปนออกมาในบางครั้งที่ขับถ่าย
 
4. มีอาการท้องเสียสลับกับท้องผูก
การอุจจาระแข็งและเหลวสลับกัน เป็นติดต่อกันแบบมีอาการเรื้อรัง
ถึงแม้ว่าจะกินอาหารที่เหมาะสมไม่ได้เป็นสาเหตุให้ท้องเสียก็ยังมีอาการนี้อยู่
นี่อาจเป็นความผิดปกติที่เกิดจากภายในลำไส้
 
5. กินอาหารเท่าเดิมแต่น้ำหนักลดฮวบฮาบ
ลักษณะอาการคือน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีพฤติกรรมการกินอาหารแบบเดิมหรือมากกว่าเดิม
 
6. อ่อนเพลียอ่อนแรงแบบไม่มีสาเหตุ
อาจเกิดจากการที่มีเลือดออกในลำไส้ ปนออกมากับอุจจาระ หากเสียเลือดจากการขับถ่ายมากอาจมีภาวะซีด
และโลหิตจางร่วมด้วย และยิ่งทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียอ่อนแรงต่อเนื่องมากขึ้นอีก
ถึงแม้โรคมะเร็งลำไส้ จะเป็นมะเร็งร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับสามในปัจจุบันนี้
แต่หากเราระวังในพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต และหมั่นสังเกตตัวเองได้ทันการ
จะได้รีบทำการรักษาได้ทันท่วงที โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งสูงขึ้น
 
ข้อมูลและภาพอ้างอิง : https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/
                                            6-สัญญาณ้ตือนมะเร็งลำไส้-รู้เร็ว-ป้องกันได้
เขียนโดย  :  ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ "โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4"
 

 
CALL CENTER : 084-467-7810
E-mail : ceo424d@hotmail.com
 
ผลิตโดย : มาวาลิค ฟู้ด / ภูพระยาสมุนไพร , บอนแบค , bonboack , Green Rice , ข้าวกล้องเพาะงอก
 
 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa