aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 
 

 
ความเป็นมาและประโยชน์ของเห็ดจีซง หรือ เห็ดบราซิล
 

ชื่ออื่นๆ : the princess mushroom, the sun mushroom

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agaricus Blazei
ลักษณะทั่วไป : เห็ดมีลักษณะกลม คล้ายกับกระดุม เจริญเติบโตบนพื้นดิน มีขนาดตั้งแต่ 2.5 ถึง 30
เซนติเมตรแล้วแต่สายพันธุ์ มีสีที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ ขาว ไปจนถึงน้ำตาลอ่อน ซึ่งเห็ดชนิดนี้สามารถ
เปลี่ยนสีได้จากขาว ไปเป็น ชมพู ม่วง จนกระทั่งดำสนิทได้ภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน
 
ความเชื่อและประโยชน์ทางสุขภาพของเห็ดฮิเมะมัตสึทาเกะ
   ในปี ค.ศ. 1965 ชาวนาในบราซิลซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นได้ค้นพบเห็ดฮิเมะมัตสึทาเกะในภูเขาซึ่งอยู่นอก เมือง Piedade
ที่ตนเองอาศัยอยู่ และได้ทำการส่งตัวอย่างเห็ดชนิดนี้ไปยังสถาบันวิจัยทีญี่ปุ่นซึ่งมีชื่อว่า
Iwade Research Institute of Mycology เพื่อค้นหาวิธีในการปลูกเห็ดชนิดนี้ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งผลการ
ทดลองกินเวลาร่วม 10 ปี
   ขณะเดียวกันนั้น คณะนักวิทยาศาสตร์ภายใต้การนำของ ดร. W.J Cinden แห่งมหาวิทยาลัยประจำ รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พาคณะ ไปตรวจสอบเพื่อค้นหาความจริงเกี่ยวกับเห็ดชนิดนี้ เช่นเดียวกันที่เมือง Piedade ประเทศบราซิลและพบว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้มีอุบัติการณ์ของ โรคผู้สูงอายุที่ต่ำในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ต่างมี
อายุยืนยาวกว่าปกติ ซึ่งภายหลังการสำรวจนั้น ทางคณะผู้สำรวจต่างลงความเห็นกันว่า ประชากรในท้องถิ่นมีอายุยืน
และร่างกายที่แข็งแรง สืบเนื่องมาจากการรับประทานเห็ดพื้นเมืองชนิดนี้ และทางดร. W.J Cinden ได้ทำการนำเสนอข้อสรุปนี้
ในงานประชุมวิชาการระดับโลกหลายแห่ง จนทำให้เห็ดชนิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายออกไป
และจากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่าเห็ดชนิดนี้อุดมไปด้วยสารเบต้ากลูแคน
ซึ่งมีส่วนช่วยให้ร่างกายผลิตสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม เช่น interferon
และ interleukins ได้มากขึ้นด้วย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิต
ลดระดับน้ำตาลและคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือดอีกด้วย
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก :
- http://www.livewell.co.th/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0
%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%87.htm
 

 
'เห็ดกระดุมบราซิล'สุดยอดสมุนไพร
 
'เห็ดกระดุมบราซิล'สุดยอดสมุนไพร คุณค่าอาหารสูง-ยับยั้งมะเร็ง-เอชไอวี โดย...ธงชัย พุ่มพวง
 
  แม้บ้านเราสามารถเพาะขยายพันธุ์ "เห็ดกระดุมบราซิล" มาหลายปีแล้วก็ตาม แต่เพิ่งเพาะในลักษณะเชิงการแห่งแรก ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ พบเป็นเห็ดที่มี คุณค่าทางโภชนาการ
และสรรพคุณทางสมุนไพรสูง ทั้งช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก ทำลายและป้องกันการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง
ช่วยลดภาวะการขาดภูมิคุ้มกัน สามารถสกัดนำสารจากเห็ดชนิดนี้กำจัดเชื้อไวรัสเอช ไอวีได้ด้วย
 
  นายอนันต์ บุญมี ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง บอกว่า ขณะนี้ศูนย์พัฒนาโครงการ หลวงขุนวาง
ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ได้ทดลองเพาะเห็ดกระดุมบราซิล ซึ่งเป็นการทดลองเพาะขยายในลักษณะเชิงการค้า ปรากฏว่าได้ผลที่น่าพอใจ คาดว่า คงจะได้ส่งเสริมเกษตรกรให้เพาะเห็ดบราซิลได้ในเร็วๆ นี้
 
  ด้าน อาทิตย์ บริบูรณ์ เจ้าหน้าที่ผลิตเห็ดประจำศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง บอกว่า เห็ดกระดุม
บราซิล เป็นเห็ดท้องถิ่นอเมริกาใต้และแอฟริกา ซึ่งชาวบ้านมักจะปลูกในที่โล่ง ใช้ชาเลนจ์ กันแดด
ซึ่งต่างกับเห็ดกระดุมทั่วไปที่ต้องปลูกในโรงเรือน ชาวพื้นเมืองจึงเรียกว่า "เห็ดแสงอาทิตย์" แต่หากเพาะ
เห็ดกระดุมบราซิลเพื่อธุรกิจจะเน้นที่โรงเรือนเหมือนกับเห็ดทั่วไป ต่อมามีการนำไปปลูกที่ประเทศญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "เห็ดสาวน้อย" เพราะมีลักษณะที่สวยงาม
 
  "บ้านเรามีการเพาะขยายพันธุ์มาหลายปีแล้ว โดยกรมวิชาการเกษตร แต่เพิ่งนำมาทดลองเพาะพันธุ์
ในเชิงการค้าครั้งแรกในประเทศไทยที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง เมื่อกลางปี 2554 นี่เอง
เป็นการปลูกในโรงเรือน ผลการทดลองปรากฏว่า ดอกเห็ดออกมาเป็นที่น่าพอใจ ตอนนี้กำลังศึกษาเพิ่มเติม
ถึงความเหมาะสม ก่อนที่จะเผยแพร่และสนับสนุนให้เกษตรกรนำไปปลูกต่อไป เพราะเป็นเห็ดที่มีราคาดี
ปัจจุบันขายกันกิโลกรัมละ 500 บาท" นายอาทิตย์ กล่าว
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก หัวข้อ “ เกษตร – วิทยาศาสตร์ – ไอที : ข่าวทั่วไป ”
ฉบับประจำวันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
 

 
Interferon คืออะไร
 
Interferon หรือ IFNs เป็นสารประเภทโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเมื่อพบการเจริญของไวรัส
และ INFs ที่ถูกขับออกจากเซลล์หนึ่งจะสามารถไปชักนำให้เซลล์อื่นๆ ใกล้เคียงให้มีการสร้างสารโปรตีนกลุ่มหนึ่ง
ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของไวรัส ในเซลล์นั้นๆได้ จากการสร้างสาร INFs จากเซลล์สปีชีส์ใด
จะมีผลในการยับยั้งการเจริญของไวรัส ในสปีชีส์นั้นเท่านั้น (Host-cell specific)
 
อินเตอร์เฟอรอน ยังเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัส
ในปัจจุบันมีการนำเอาอินเตอร์เฟอรอนมาใช้เป็นยาเพื่อการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ-บี และโรคไวรัสตับอักเสบ-ซี ชนิดเรื้อรัง
ซึ่งยาอินเตอร์เฟอรอนมีผลทั้ง ฆ่าไวรัสและควบคุมระดับภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของผู้ป่วย
พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2โรค ที่ตอบสนองต่อการรักษามีอุบัติการณ์การเกิดตับวายลดลง การเกิดมะเร็งตับปฐมภูมิ
(มะเร็งที่เกิดจากเซลล์อวัยวะนั้นๆไม่ใช่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น) ลดลง และมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นเมื่อ เทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
 
คัดลอกข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/อินเตอร์เฟียรอน
คัดลอกข้อมูลจาก : https://mpnthailand.com/2018/สรุปหัวข้อการประชุม-mpn-horizons-2018-17/
คัดลอกข้อมูลจาก : ชมรมผู้ป่วยโรค MPN แห่งประเทศไทย
 

 
Interleukins คืออะไร
 
Interleukins (ILs) เป็นกลุ่มของไซโตไคน์ (โปรตีนที่ถูกหลั่งและโมเลกุลของสัญญาณ)
ซึ่งถูกพบเป็นครั้งแรกโดยเซลล์เม็ดเลือดขาว (เม็ดเลือดขาว) ILs สามารถแบ่งออกเป็นสี่กลุ่มหลัก
ตามลักษณะโครงสร้างที่แตกต่าง อย่างไรก็ตาม...ความคล้ายคลึงกันของลำดับกรดอะมิโนของพวกเขาค่อนข้างอ่อนแอ
(โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ระหว่าง 15-25%) จีโนมของมนุษย์เข้ารหัส interleukins มากกว่า 50 ชนิดและโปรตีนที่เกี่ยวข้อง
 
ฟังก์ชั่นของระบบภูมิคุ้มกันนั้นขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่ของ interleukins และมีการอธิบายถึงข้อบกพร่อง
ที่หายากของพวกมันจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดมีโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง interleukins
ส่วนใหญ่นั้นถูกสังเคราะห์โดยตัวช่วย CD4 T lymphocytes เช่นเดียวกับ monocytes, macrophages
และเซลล์ endothelial พวกเขาส่งเสริมการพัฒนาและสร้างความแตกต่างของ T และ B lymphocytes และเซลล์เม็ดเลือด
 
Interleukin receptors บน astrocytes ใน hippocampus นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาในเชิงความทรงจำในหนู
 
คัดลอกและแปลข้อมูลจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Interleukin
 

 
ความหมายของเนื้องอก
 
เนื้องอก (Tumor) คือ เนื้อเยื่อที่มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพียงเนื้อเยื่องอกเพิ่มขึ้นมา
หรืออาจหมายถึงเนื้อร้ายที่เป็นเซลล์มะเร็งก็ได้ โดยเนื้องอกแต่ละประเภทย่อมมีลักษณะเฉพาะและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งที่เกิดด้วย
 
ชนิดของเนื้องอก มี 2 ประเภท คือ
 
เนื้องอกธรรมดา (Benign Tumor)
เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นแล้วไม่แพร่กระจายลุกลามไปสร้างความเสียหายยังเซลล์เนื้อเยื่อในบริเวณใกล้เคียง
หรือเซลล์เนื้อเยื่อในอวัยวะส่วนอื่น แต่อาจทำให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อร่างกายได้
หากเนื้องอกที่เกิดขึ้นไปกดทับอวัยวะสำคัญ เช่น เส้นเลือดหรือเส้นประสาทของผู้ป่วย
 
เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย (Malignant หรือ Cancerous Tumor)
เนื้อร้าย หรือเซลล์มะเร็ง เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้แพร่กระจาย และลุกลามไปเรื่อย ๆ
ตามเนื้อเยื่ออื่นในบริเวณใกล้เคียง หรือเนื้อเยื่อที่อวัยวะอื่น ๆ ผ่านทางเลือด โดยเซลล์เนื้อร้ายจะไปทำลายเซลล์ปกติที่มีสุขภาพดี
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยหรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
หรือกำจัดเซลล์เนื้อร้ายออกไปได้อย่างทันท่วงที
 
ส่วนเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย หรือมะเร็ง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง เช่น
- สารเคมี สารพิษชนิดต่าง ๆ เช่น สารพิษในบุหรี่ สารเบนซีน
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- สารพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น พิษจากเห็ดพิษ หรือพิษในเชื้อราอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxins) ที่มักปนเปื้อนอยู่ในอาหารตระกูลถั่ว
- ร่างกายสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไป ทำให้รังสียูวีจากแดดส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์ผิว
- ร่างกายสัมผัสกับรังสีที่เป็นอันตราย
- การติดเชื้อไวรัส ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด
   มะเร็งองคชาต มะเร็งทวารหนัก จากการติดเชื้อไวรัส Human Papillomavirus: HPV
   มะเร็งตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ C
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือการเจ็บป่วยที่อาจถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม
- ภาวะอ้วน
- อาหารการกิน
 
อาการของเนื้องอก
ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในร่างกายแตกต่างกันไปตามชนิดของเนื้องอก และตำแหน่งที่มีเนื้องอกเกิดขึ้น
ซึ่งผู้ป่วยอาจมีลักษณะอาการ เช่น
- มีไข้ หรือหนาวสั่น
- เมื่อยล้า อ่อนเพลีย
- ไม่อยากอาหาร
- น้ำหนักตัวลดลง
- มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
- เจ็บปวดตามบริเวณที่เกิดเนื้องอก
 
การวินิจฉัยเนื้องอก แพทย์อาจตรวจวินิจฉัยบริเวณที่เกิดเนื้องอกชนิดที่ปรากฏตามผิวหนังและร่างกายภายนอก
หรือผู้ป่วยที่มีข้อสงสัยและไปพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บป่วยบางอย่าง แพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อตรวจหาเนื้องอก
หรือตรวจหาสาเหตุและความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย โดยแพทย์อาจเลือกใช้วิธีการดังต่อไปนี้
 
- การตรวจเลือดและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อนำตัวอย่างเลือดที่ได้ส่งไปตรวจในห้องปฏิบัติ
  เพื่อหาจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ฮีโมโกลบินในเลือด หาความเข้มของเลือด
   หรือสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker) เป็นต้น
- การตรวจการทำงานของตับ แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับสารเคมีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตับ
   เช่น อัลบูมิน (Albumin) บิลิรูบิน (Billirubin) อัลคาไลน์ ฟอสเฟต (Alkaline Phosphatase) และเอนไซม์ต่าง ๆ เป็นต้น
- การเอกซเรย์ช่องอก ผู้ป่วยต้องยืนหน้าเครื่องเอกซเรย์แล้วสูดหายใจเข้าในขณะที่เครื่องจับภาพเอกซเรย์   
   ภาพแรกคือยืนหันหน้าเข้าหาเครื่อง และอีกภาพหนึ่งคือยืนหันด้านข้างเข้าหาเครื่อง เป็นวิธีการตรวจบริเวณช่องอก
   ปอด หัวใจ เส้นเลือดใหญ่ กระบังลม และกระดูกซี่โครง
- การสแกนอวัยวะและโครงสร้างภายใน แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้าเครื่องทำ CT Scan หรือ MRI Scan
   เพื่อฉายภาพตำแหน่งที่อาจมีเนื้องอกเกิดขึ้น หรือบริเวณที่มีการแพร่กระจายลุกลามของเซลล์เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย   
   และอาจทำการตรวจเพิ่มเติมด้วย PET Scan เพื่อดูการทำงานของเนื้อเยื่ออวัยวะและการไหลเวียนของเลือดอย่างชัดเจนขึ้น
- การตรวจเนื้อเยื่อไขกระดูก ไขกระดูกเป็นเนื้อเยื่อในกระดูกที่ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือด
   เพื่อตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย แพทย์อาจตัดเอาเนื้อเยื่อไขกระดูกบางส่วนจากบริเวณกระดูกเชิงกราน   
   หรือกระดูกหน้าอกออกไปเพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ
- การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หากตรวจพบว่ามีเนื้องอกเกิดขึ้นจริง แพทย์อาจนัดหมายเพื่อผ่าตัดนำชิ้นเนื้อบางส่วน
   จากก้อนเนื้องอกออกไปส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อให้ทราบความผิดปกติและชนิดของเนื้องอกให้แน่ชัด
   ว่าเป็นเนื้องอกธรรมดา หรือเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนรักษาผู้ป่วยต่อไป
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/เนื้องอก
 

 
ความหมายของมะเร็งตับ
 
มะเร็งตับ (Liver Cancer) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์บริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติแล้วพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุด
หรืออาจเกิดจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากบริเวณอื่นมายังตับก็ได้ ซึ่งมะเร็งตับส่วนใหญ่
ก็มักมีที่มาจากสาเหตุหลังนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก
ซึ่งเป็นระยะที่ยากต่อการรักษา
 
 
อาการโรคมะเร็งตับ
โรคมะเร็งตับมักไม่มีสัญญาณหรืออาการบ่งบอกในระยะแรกเริ่ม จนเมื่อมะเร็งพัฒนาถึงขั้นแสดงอาการจึงจะสังเกตได้ดังนี้
 
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ไม่อยากอาหาร รู้สึกอิ่มแม้รับประทานไปเพียงเล็กน้อย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เจ็บช่องท้องส่วนบน โดยมักจะปวดบริเวณด้านขวา
- มีอาการบวมที่ช่องท้องหรือคลำพบก้อนใตชายโครงด้านขวา เนื่องจากตับโต
- อาจคลำพบก้อนที่ชายโครงด้านซ้ายเนื่องจากม้ามโต
- ผิวหนังและตาเหลือง (ดีซ่าน)
- อุจจาระอาจมีสีซีดลง
- อ่อนแรงและเหนื่อยล้า
- มีอาการคัน
- เป็นไข้
 
 
สาเหตุโรคมะเร็งตับ
มะเร็งที่ตับเกิดขึ้นจากการที่ดีเอ็นเอในเซลล์ตับเกิดการกลายพันธุ์จนทำให้โครงสร้างเซลล์เปลี่ยนแปลงไป
ส่งผลให้เซลล์เติบโตขึ้นอย่างผิดปกติและพัฒนาเป็นเนื้องอกในที่สุด สาเหตุหลักของการการเปลี่ยนแปลงนี้
ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้ดังต่อไปนี้
 
- เพศ พบอัตราการเป็นมะเร็งตับในเพศชายสูงกว่าในเพศหญิง
- ผู้ป่วยเป็นโรคชนิดอื่นที่สัมพันธ์หรือสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งตับ ได้แก่
  โรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี , โรคตับแข็ง , โรคเบาหวาน ,
   มะเร็งตับอาจสัมพันธ์กับโรคอ้วน และโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุรา

- โรคตับที่สืบทอดทางพันธุกรรมที่พบได้ไม่บ่อย ได้แก่ ภาวะธาตุเหล็กในตับมากเกิน (Hemochromatosis)
   ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson's Disease)
- การสัมผัสสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxins) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากเชื้อราตามเมล็ดข้าวโพด
   หรือถั่วที่เก็บรักษาไม่ดีจนทำให้เกิดเชื้อรา การได้รับอาหารปนเปื้อนเชื้อรา
    จึงเสี่ยงต่อการได่รับสารพิษชนิดนี้และเกิดเป็นมะเร็งตับ
   ซึ่งพื้นที่ในทวีปแอฟริกาและเอเชียบางส่วนอาจพบการปนเปื้อนจากเชื้อราชนิดนี้
-  การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินควร พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากเป็นเวลาติดต่อหลายวัน
   จะก่อให้เกิดอันตรายต่อตับอย่างต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง
- การสูบบุหรี่ ผู้ที่ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบอยู่แล้วและมีพฤติกรรมสูบบุหรี่จะยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็งตับยิ่งขึ้น
- การได้รับสารเคมีอันตรายจากยากำจัดวัชพืช เช่น สารไวนิล คลอไรด์ (Vinyl Chloride)
  และสารหนู (Arsenic) ที่อาจพบได้บ่อน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เมื่อได้รับเป็นเวลานาน
   อาจเกิดการสะสมจนเกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย ไม่เว้นแม้แต่มะเร็งตับ
- การใช้อนาโบลิคเสตียรอยด์ (Anabolic steroids) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่นักกีฬามักใช้เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ
  หากใช้เป็นเวลานานจะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ รวมถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ ด้วย
  เชื้อชาติ พบผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เป็นชาวเอเชีย ชาวอเมริกัน และชาวเกาะแปซิฟิค ได้บ่อยกว่าชาติอื่น ๆ
 
ภาวะแทรกซ้อนของโรคมะเร็งตับ
นอกจากอาการที่ผู้ป่วยมะเร็งตับแสดงและผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษาที่กล่าวไปแล้ว
มะเร็งตับยังอาจสามารถแพร่กระจายไปสู่อวัยวะบริเวณอื่น ๆ เช่นตามต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะที่อยู่ห่างไกลออกไป
หรือส่งผลให้มีเลือดออกภายใน เช่น ในระบบทางเดินอาหาร และก้อนเนื้องอกเกิดแตกได้
นอกจากนี้อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ตับวาย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้ในระยะท้าย ๆ ของโรคมะเร็งตับ
 
การป้องกันโรคมะเร็งตับ
- ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วม เช่น เป็นชาวเอเชียหรือแอฟริกัน
  ป่วยเป็นโรคตับแข็ง หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
- ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี พร้อมกับเป็นโรคตับแข็ง
- ผู้ป่วยโรคตับแข็งจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โรคไขมันพอกตับ
  โรคทางพันธุกรรมอย่างภาวะธาตุเหล็กในตับมากเกิน
- ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เกิดหลังการคั่งของน้ำดี
 
ภาพประกอบจาก : Medthai.com/มะเร็งตับ และ pobpad.com/มะเร็งตับ
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/มะเร็งตับ
 
 

 
 
aaa