|
|
สรรพคุณของโกฐเขมา หรือแปะตุ๊ก |
|
ชื่อสมุนไพร : โกฐเขมา
ชื่ออื่น : โกฐหอม, ซังตุ๊ก, ชางจู๋
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atractylodes lancea (Thunb.) DC.
ชื่อพ้อง : Atractylis lancea DC., Atractylis ovate Thunberg, Atractylis chinensis (Bunge) DC, Acana chinensis Bunge
วงศ์ : Compositae
ส่วนที่ใช้ : เหง้าแห้ง |
|
สรรพคุณสมุนไพรโกฐเขมา
เหง้า : - เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม เป็นยาบำรุง - แก้เสียดแทงสองราวข้าง แก้จุกแน่น
- ใช้แก้โรคเข้าข้อ - แก้หอบหืด ระงับอาการหอบ
- เป็นยาเจริญอาหาร - แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้
- ยาขับปัสสาวะ - แก้ลมตะกัง แก้เหงื่อออกมาก
- แก้โรคในปาก ในคอ เป็นแผลเน่าเปื่อย - แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง
- แก้ขาปวดบวม ขาไม่มีแรง ปวดข้อ - แก้ท้องเสีย |
|
แพทย์แผนจีนนิยมใช้โกฐเขมามาก เข้าในยาจีนหลายขนาน ตำรายาจีนว่าใช้แก้อาการท้องร่วงท้องเสีย แก้อาการบวมโดยเฉพาะอาการบวมที่ขา แก้ปวดข้อ เนื่องจากโรคข้ออักเสบ แก้หวัด และแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน |
|
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร :
ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)
ปรากฏการใช้โกฐเขมาในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 2 ตำรับ คือ
1. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร”
และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐเขมาอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9
ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด
ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ”
มีส่วนประกอบของโกฐเขมาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ
อาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ |
|
โกฐเขมา เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ
พืชชนิดนี้มีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และรัสเซีย และได้มีการนำ
มาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐเขมาจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ)
โกฐทั้งเจ็ด(สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า(เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ
คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก |
|
การศึกษาทางเภสัชวิทยา : มีฤทธิ์ต้านปวด ต้านการอักเสบ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดความดันโลหิต กดระบบประสาทส่วนกลาง ลดอุณหภูมิกาย |
|
การศึกษาทางพิษวิทยา : การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเหง้าด้วยเอทานอล 50%
โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,786 เท่า เปรียบเทียบ
กับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ |
|
คัดลอกมาจาก : 1. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. โครงการวิจัยการผลิตวัตถุดิบและแปรรูปสมุนไพรจีน
เพื่อทดแทนการนำเข้า (ปี พ.ศ. 2548-2552) |
|
|
ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย |
|
ไข้ไทฟอยด์, ไทฟอยด์, หรือไข้รากสาดน้อย (ภาษาอังกฤษ : Typhoid fever)
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi
ซึ่งในปัจจุบันยังคงเป็นภัยคุกคามทางสุขภาพของคนทั่วโลก
โดยเฉพาะกับเด็ก เป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้จากการปนเปื้อน
ของน้ำและอาหารหรือการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อนี้ โดยมีอาการที่พบได้ทั่วไป เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องผูกและท้องเสีย
ผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์ส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่ต้องเสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อน นอกจากนั้น ยังมีวัคซีนต้านไข้ไทฟอยด์
ซึ่งมักจะมีการให้วัคซีนกับผู้ที่มีโอกาสจะได้รับเชื้อสูงหรือผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้ไทฟอยด์ |
|
สาเหตุของไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) กลุ่มไทฟอยด์ซัลโมเนลลา (Typhoidal Salmonella)
ได้แก่ ซัลโมเนลลาไทฟิ (Salmonella typhi) และซัลโมเนลลาพาราไทฟิ (Salmonella paratyphi)
ซึ่งเชื้อทั้งสองชนิดนี้สามารถก่อโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร |
|
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
- ทำงานหรือเดินทางไปยังประเทศที่มีไข้ไทฟอยด์เป็นโรคประจำถิ่น เช่น อินเดีย
- เป็นนักจุลชีววิทยาที่ต้องทำงานหรือดูแลเรื่องของแบคทีเรีย Salmonella Typhi
- ต้องสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ
- ดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนที่มีเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi |
|
ภาวะแทรกซ้อนของไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
ภาวะแทรกซ้อนของไข้ไทฟอยด์มักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม
หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดย 1 ใน 10 ของผู้ที่เกิดภาวะแทรกซ้อนมักจะเกิดขึ้นในระหว่างสัปดาห์ที่ 3 ของการติดเชื้อ |
|
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่
- มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
- ระบบย่อยอาหารหรือลำไส้เป็นรูทะลุ ซึ่งทำให้สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงได้ |
|
หากแพทย์สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจ CT Scan
(Computerized Tomography)
หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ |
|
ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้แก่
- ปอดบวม
- เยื่อบุหัวใจอักเสบ
- กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- ตับอ่อนอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- เกิดการติดเชื้อในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
- เกิดปัญหาทางจิต เช่น อาการเพ้อคลั่ง อาการประสาทหลอน และโรคจิตหวาดระแวง |
|
วิธีป้องกันการติดเชื้อไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย |
- รักษาสุขอนามัยส่วนตัวให้สะอาด เช่น ล้างมือหลังจากการเข้าห้องน้ำ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
ดื่มน้ำที่สะอาด ควรล้างมือให้สะอาดก่อนการรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ้าไม่สะดวกก็อาจพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือก็ได้
- ล้างวัตถุดิบก่อนการปรุงอาหาร เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ ให้สะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อที่อาจติดมากับวัตถุดิบ
- ช่วยกันรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ ไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงแม่น้ำ เพราะอาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อในวงกว้างได้
- ในกรณีที่มีผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์อาศัยอยู่ร่วมภายในบ้านเดียวกัน ควรระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยส่วนตัวของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
ควรซักเสื้อผ้าของผู้ป่วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค จัดสถานที่ขับถ่ายของผู้ป่วยให้สะอาดถูกสุขลักษณะ
และไม่ควรให้ผู้ป่วยเป็นคนทำอาหาร
เพราะอาจนำเชื่อโรคปนเปื้อนไปที่อาหารได้
- การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไข้ไทฟอยด์ ซึ่งให้ผลในการป้องกันได้เพียงแค่ 2-5 ปี
ซึ่งระยะเวลาในการป้องกันโรคจะขึ้นกับชนิดของวัคซีนที่ได้รับโดยวัคซีนมีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน
ซึ่งการใช้วัคซีนในประเทศไทยนั้นจะแนะนำให้กับเฉพาะผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด
ทำงานกับเชื้อโรค หรือต้องอยู่อาศัยกับผู้ป่วยติดเชื้อ
- สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด มีคำแนะนำว่า ก่อนการเดินทาง ควรฉีดวัคซีนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก
https://www.honestdocs.co/typhoid-fever-causes-symptoms-and-treatments
https://medthai.com/ไข้ไทฟอยด์
https://www.pobpad.com/ไข้ไทฟอยด์ |
|
|
|
ลมตะกัง(ลมปะกัง) หรือโรคปวดหัวข้างเดียว |
|
เป็นอาการปวดหัวชนิดหนึ่งที่ปวดเป็นพัก ๆ โดยมากมักจะปวดแบบซีกเดียวหรือปวดสลับข้าง อาจเป็นขมับหรือเบ้าตา อาจปวดตื้อๆ
หรือปวดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ บางคนแถมมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า ตาลาย เข้าอีกด้วย
ชาวบ้านเรามักเรียกกันว่า “ลมตะกัง” ส่วนต่างประเทศเรียกว่า ปวดหัว เนื่องจาก มิเกรน หรือไมเกรน |
|
โรคลมตะกัง หรือไมเกรนนี้ มีความสำคัญอย่างไร
โรคชนิดนี้จัดว่า เป็นโรคติดอันดับพบมากในกลุ่มวัยทำงาน เพราะลมตะกังหรือไมเกรน เป็นโรคปวดหัว ที่พบได้บ่อยมาก
ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ต่างประเทศ เขาสำรวจกันพบว่า คนในโลกนี้ 100 คน จะมีคนเป็นโรคนี้ ถึง 5-10 คน
อันที่จริง มันเป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ว่ามันเป็นโรคที่ทำให้เกิดความรำคาญ บางครั้งก็น่าทรมาน
บางคนต้องขาดงาน เสียเงินหมอเป็นประจำ เสียทั้งเศรษฐกิจของตัวเองและเศรษฐกิจของประเทศ
แล้วยังเป็นกันในทุกคนทุกระดับชั้นด้วย |
|
อาการของโรคนี้ เป็นอย่างไรบ้าง
อาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ คือ ปวดหัวเฉพาะซีกหนึ่งซีกใดที่ขมับหรือที่เบ้าตา มักจะปวดแบบตุ๊บๆ
เข้ากับจังหวะการเต้นของหัวใจ
แต่บางทีก็ปวดแบบตื้อๆ ก็ได้ อาจปวดสลับข้าง ในแต่ละครั้ง หรือบางครั้งอาจปวดทั้งสองข้าง |
|
ครั้งหนึ่งมักปวด นานเป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวัน ถ้าปวดหัวรุนแรง ก็จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
ตาพร่าตาลายร่วมด้วยอาการจะเป็นๆ หายๆ อยู่เรื่อยๆ
มักเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อย่างเข้าวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาวเป็นมากในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย |
|
โรคปวดหัว เช่น ปวดหัวจากความดันเลือดสูง ปวดหัวเนื่องจากโพรงจมูกอักเสบ ปวดหัวเนื่องจากอารมณ์เครียด
ปวดหัวเนื่องจากเนื้องอกในสมอง ฯลฯ |
|
เราทราบได้อย่างไรว่า ที่เรากำลังปวดอยู่นั้น เป็นเนื่องจากไมเกรน หรือปวดจากสาเหตุอื่น
เราสามารถรู้ และแยกสาเหตุของการปวดได้ แม้ว่าอาการปวดหัว บางอย่างจะคล้ายกับโรคลมตะกัง เช่น |
|
- อาการปวดหัวที่เกิดจาก ความเครียดทางอารมณ์ เช่น คิดมาก กลุ้มใจ กังวลใจ ก็จะมีอาการปวดมึนไป ทั่วศีรษะหรือท้ายทอย
แต่จะไม่มีอาการตาลายหรือคลื่นไส้ อย่างไรก็ตาม บางคนก็อาจมีอาการปวดจากไมเกรน ร่วมกับความเครียดทางอารมณ์
ก็มีส่วนกระตุ้นทำให้เกิดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้ |
- อาการปวดหัว ที่เกิดจากความดันเลือดสูง ส่วนใหญ่จะปวดมึนหรือปวดตื้อที่ท้ายทอยตอนตื่นนอน
มักจะเป็นในคนสูงอายุ และบางรายมีโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคไต ร่วมด้วย เมื่อตรวจวัดความดันเลือดดู
ก็จะพบว่าสูงกว่าปกติ ดังนั้น...ควรจะต้องหมั่นให้หมอวัดความดันเลือดเป็นประจำ หรือตรวจวัด เมื่อมีอาการปวดหัวบ่อยๆ |
- อาการปวดหัวที่เกิดจากโพรงจมูกอักเสบ หรือที่ชาวบ้านเราเรียกว่า “ไซนัสอักเสบ” นั้น จะปวดแบบตื้อๆ มึนๆ ตามหัวคิ้ว
หรือโหนกแก้ม
และใช้นิ้วกดแรงๆ ตามบริเวณที่ปวดจะรู้สึกเจ็บได้ นอกจากนี้ ก็จะพบว่า มีอาการ เป็นหวัดคัดจมูก อยู่เป็นประจำ |
|
สาเหตุของโรค
อาการปวดไมเกรนหรือลมตะกัง เกิดขึ้นเพราะมีการหดตัว และขยายตัวผิดปกติของหลอดเลือดแดง ในบริเวณศีรษะทั้งนอก และในกะโหลกศีรษะ
เป็นผลทำให้มีแรงดันในหลอดเลือดแดง ในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น ทำให้ผนังของหลอดเลือดแดงโป่งผิดปกติ จึงเกิดอาการปวดหัวขึ้น
โรคนี้มักเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ คือ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย มีประวัติว่า พ่อแม่พี่น้องเคยเป็นโรคนี้มาก่อน
มีหลักฐานยืนยันว่า ฮอร์โมนเพศบางอย่าง มีอิทธิพลต่อการ เกิดอาการปวดหัวในคนที่เป็นไมเกรน
โรคนี้มักจะเริ่มมีอาการในระยะหนุ่มสาว ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดเฉพาะระยะใกล้ หรือมีประจำเดือน
และประมาณร้อยละ 80 ของผู้หญิงที่เป็นไมเกรน
จะไม่มีอาการปวดหัวขณะตั้งท้อง |
|
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสาเหตุกระตุ้นทำให้เกิดอาการปวดหัว ในคนที่เป็นไมเกรน ซึ่งได้แก่
- อยู่ในที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
- มีแสงจ้าเข้าตา
- การใช้สายตาเพ่งอะไรมากๆ โดยเฉพาะเวลาดูหนังหรือกล้องจุลทรรศน์
- คนที่สายตาสั้น ไม่ได้ใส่แว่นหรือใช้แว่นไม่ถูกขนาด
- การสูดดมกลิ่นฉุนๆ ก็ทำให้ปวดหัวได้
- เหนื่อยเกินไป
- การนอนไม่พอ หรือนอนมากเกินไป เชื่อกันว่า อาจเป็นเพราะมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์คั่ง
หรือมีการขาดก๊าซออกซิเจน
ซึ่งไม่มีผลต่อหลอดเลือดในกะโหลกศีรษะ |
|
วิธีการรักษาโรค
1. รีบกินยาบรรเทาปวด (เช่น พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด) ทันทีที่เริ่มมีอาการ อย่ารอให้ปวดนานเกิน 30 นาที
จะได้ผลน้อย ผู้ป่วยจำเป็นต้องพกยาแก้ปวดติดตัว จะได้กินทันทีที่เริ่มมีอาการ
2. หาทางนอนพัก หรือนั่งพัก
3. หลีกเลี่ยงที่ที่อบอ้าว มีแสงจ้าหรือเสียงดัง หยุดการเคลื่อนไหวร่างกาย และการเดินขึ้นลงบันได |
|
ถ้าคลื่นไส้มาก ให้กินยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (ตามคำแนะนำของหมอ) ควบไปด้วย ในกรณีที่ใช้พาราเซตามอลไม่ได้ผล
(พบได้ประมาณร้อยละ 20-30) แพทย์อาจให้ยาบรรเทาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ทามาดอล (tamadol)
เออร์โกทามีน (ergotamine)
ชูมาทริปแทน (sumatriptan) เป็นต้น ซึ่งควรกินเป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาปวด |
|
วิธีการป้องกันโรค
ควรสังเกตว่ามีอะไรเป็นเหตุกำเริบหรือสิ่งกระตุ้น (มักมีมากกว่า 1 อย่าง) แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเสีย ถ้าเป็นบ่อยหรือรุนแรงจนเสียงาน
แพทย์จะให้ยากินป้องกันนาน ครั้งละ 3-6 เดือน ยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) นอร์ทริปไทลีน (nortriptyline)
โพรพราโนลอล (propranolol) อะทิโนลอล (atenolol) โทพิราเมต (topiramate) ยาเหล่านี้อาจมีข้อระวังในการใช้
จึงต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งใช้ให้เหมาะกับผู้ป่วย แต่ละรายที่อาจมีภาวะสุขภาพหรือมีการใช้ยาอื่น ๆ อยู่ก่อน ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก
https://www.doctor.or.th/article/detail/5227
http://siamguasa.com/เกี่ยวกับไมเกรน |
|
|
|
|