|
|
คุณค่าของมะรุม
มะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์เอนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม
เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอก
ภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 ซม.
ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 - 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่า
และมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้ง
ในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน
มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก
ฝักยาว 20 - 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก
เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม. |
|
สรรพคุณของมะรุม
มะรุมในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุม
ภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
- ใบ : ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง
ลดความดันโลหิต
- ยอดอ่อน : ใช้ถอนพิษไข้
- ดอก : ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง
- ฝัก : แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
- เมล็ด : เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง
- ราก : รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ
รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)
- เปลือกลำต้น : รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต
ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร
- ยาง : (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma |
|
คุณประโยชน์อื่น
- ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ
และตาบอดได้เป็นอย่างดี
- ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์
เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
ยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
- ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะ ควบคุมได้
- ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษา
พยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้
ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
- หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น
และมีร่างกายที่แข็งแรง
- ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
- รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น
หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
- รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
- รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
- มะรุมเป็นยาปฏิชีวนะ |
|
ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org โดย Search คำว่า มะรุม |
|
|
|
มะเร็งกระดูก |
|
มะเร็งกระดูก (Bone Cancer) คือ เซลล์มะเร็งที่เริ่มก่อตัวบริเวณกระดูกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเรียกว่า
โรคมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ และเซลล์มะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากอวัยวะอื่นแล้วแพร่กระจาย
ไปยังกระดูกซึ่งเรียกว่าโรคมะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ
โดยชนิดปฐมภูมินั้นพบได้ไม่บ่อยนัก
มักเกิดขึ้นในกระดูกที่มีลักษณะเป็นแนวยาว เช่น กระดูกแขนหรือกระดูกขา
โดยมีอาการเจ็บหรือบวมแดงที่บริเวณนั้น ๆ เป็นสัญญาณบ่งบอกโรค |
|
อาการมะเร็งกระดูก
มะเร็งกระดูกอาจเกิดขึ้นที่กระดูกบริเวณใดก็ได้ แต่ส่วนมากมักเกิดกับกระดูกแนวยาวอย่างแขนส่วนบนหรือขา
อาการของโรคที่พบได้บ่อยที่สุดคืออาการเจ็บกระดูก ซึ่งมักเริ่มจากอาการคล้ายฟกช้ำบริเวณกระดูก
ที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็ง
หลังจากนั้นจะเริ่มเจ็บอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือเจ็บเป็นพัก ๆ
มักเกิดขึ้นในตอนกลางคืนหรือขณะนั่งพัก
ทั้งนี้อาการเจ็บปวดดังกล่าวอาจทำให้สับสนกับโรคข้ออักเสบในผู้ใหญ่
และอาการปวดจากการเจริญเติบโตของร่างกายในส่วนกระดูกและข้อของเด็กได้ |
|
นอกจากอาการเจ็บแล้วยังอาจพบอาการบวมแดงจากการอักเสบ หรือสังเกตได้ถึงก้อนบวมรอบบริเวณดังกล่าว
ซึ่งหากเป็นกระดูกที่อยู่ใกล้ข้อต่อ อาการบวมที่เกิดขึ้นอาจทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ยาก ในผู้ป่วยบางราย
มะเร็งอาจส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลงจนแตกหักได้ง่ายเพียงหกล้มหรือได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย |
|
สาเหตุของมะเร็งกระดูก
สาเหตุของเซลล์มะเร็งที่ก่อตัวขึ้นบริเวณกระดูกหรือมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมินั้นยังไม่ชัดเจน
แต่ปัจจุบันทางการแพทย์พบว่าปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิมีดังนี้ |
- การรักษาโดยการใช้รังสี กระบวนการรักษาโรคอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยต้องเผชิญกับรังสีมาก ๆ
อาจทำให้เซลล์มะเร็งพัฒนาขึ้นในเซลล์กระดูกได้
- เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น โรค Paget’s Disease of The Bone ซึ่งเป็นโรคความผิดปกติของพัฒนาการในเซลล์กระดูก
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระดูกในผู้ที่มีอายุ 50-60 ปี รวมถึงเนื้องอกในกระดูกอย่างโรค Ollier's disease
ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระดูกเช่นกัน
- พันธุกรรม โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษนับเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระดูก
เช่น โรคมะเร็งจอประสาทตาในเด็ก (Retinoblastoma) ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก
อย่างกลุ่มอาการ Li-Fraumeni
ที่นอกจากเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระดูกแล้วยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดอื่น ๆ อีกด้วย |
|
มะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิซึ่งเป็นชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่ได้เริ่มก่อตัวที่บริเวณกระดูกแต่เกิดจากการแพร่กระจาย
ของมะเร็งจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
มายังกระดูก เช่น มะเร็งเต้านมในระยะรุนแรงอาจทำให้เซลล์มะเร็งกระจายมาที่กระดูกได้ |
|
ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งกระดูก
- อาการปวด มักเกิดขึ้นบริเวณที่มะเร็งก่อตัวขึ้น ทำให้มีอาการเจ็บเป็นพัก ๆ ในช่วงแรก และค่อย ๆ
รุนแรงขึ้นในเวลาต่อมาหรือเมื่อทำกิจกรรมใด ๆ
- กระดูกแตกหัก พบได้บ่อยรองลงมาจากอาการปวด เนื่องจากกระดูกที่มีเซลล์มะเร็งมักอ่อนแอลงเรื่อย ๆ
และง่ายต่อการแตกหักเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือมีแรงกระทบ
ผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจากมะเร็งกระดูก
ชนิดนี้มักเผชิญอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณที่เกิดเซลล์มะเร็ง ก่อนจะตามมาด้วยการแตกหรือหักของกระดูก
- ระดับแคลเซียมในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลง ท้องผูกหรือเกิดนิ่วในไตตามมา
รวมทั้งกระทบต่อการทำงานของหัวใจและสมองจนเกิดอาการสับสน มึนงง และอ่อนเพลีย
- กระดูกอักเสบ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งกระดูกอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อและอักเสบของกระดูก
ส่งผลให้มีอาการหนาวสั่น
เป็นไข้ มีอาการเจ็บ หรือเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตตามมาหากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
- การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายผ่านกระแสเลือด
หรือระบบน้ำเหลืองที่เป็นกลไก ป้องกันของร่างกาย โดยอวัยวะที่พบการแพร่กระจายของมะเร็งมากที่สุดก็คือปอด |
|
การป้องกันมะเร็งกระดูก
เนื่องจากในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งกระดูก
จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่ยืนยันได้ว่าจะสามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้ผล |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/มะเร็งกระดูก |
|
|
|
โรครูมาติซั่ม หรือโรครูมาตอยด์ |
|
คำว่า “รูมาติสซั่ม” เป็นศัพท์โบราณที่แพทย์เคยใช้เรียกกัน เป็นคำทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า “rheumatism”
(ที่ถูกควรออกเสียงว่า “รูมาติสซั่ม” มากกว่า “รูมาติสซั่ม”) ความหมายประการแรกก็คือ อาการปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น
จะด้วยสาเหตุอะไรก็ได้ทั้งสิ้น ก็เรียกรวม ๆ ว่า “รูมาติสซั่ม” ไปหมด ไม่ได้เจาะจงถึงโรคหนึ่งโรคใดโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นข้อแพลง
ข้ออักเสบ ยอกกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ ก็จัดว่าเป็น “โรครูมาติสซั่ม” ได้หมด ดังนั้น คำ ๆ นี้จึงมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ปวดหัว”
“ตัวร้อน” ซึ่งเพียงแสดงถึงลักษณะอาการของโรคต่าง ๆ ไม่ได้หมายถึงโรคนั้นโรคนี้แต่อย่างใด |
|
แต่เนื่องจากอาการปวดข้อมักจะมีสาเหตุมาจากโรคข้ออักเสบเรื้อรังอยู่หลายชนิด ที่พบบ่อยก็คือ โรคข้อเสื่อม
ซึ่งเกิดจากผิวข้อต่อสึกกร่อนตามวัย พบมากที่ข้อต่อและข้อกระดูกสันหลัง ซึ่งภาษาชาวบ้านนิยมเรียกว่า “โรคไขข้อแห้ง”
โรคนี้ถือเป็นภาวะเสื่อม สลายตามสังขารตามวัย จึงพบว่าเป็นกันมากในหมู่คนสูงอายุ และยังไม่มียาที่ใช้รักษาโดยตรง
ดีไม่ดีคนไข้นิยมซื้อยาแก้ปวดกินเอง จนกลายเป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะเป็นแผลทะลุ เสี่ยงต่ออันตรายไป |
|
โรครูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก
เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูกและข้อในที่สุด โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ อีก
เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น |
|
ผู้ใดบ้างที่เป็นโรครูมาตอยด์
โรครูมาตอยด์สามารถเป็นได้กับทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชรา แต่ส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยวัยกลางคน
และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย |
|
สาเหตุของโรครูมาตอยด์
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม การมีฟันผุ การสูบบุหรี่ |
|
อาการของโรครูมาตอยด์
ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดข้อ ข้อบวม และเคลื่อนไหวข้อลำบาก จะเป็นมากที่สุดช่วงตื่นนอนเช้า
และอาจมีอาการอยู่ 1-2 ชั่วโมงหรือทั้งวันก็ได้
ลักษณะอาการปวดข้อ ช่วงเช้านี้เป็นลักษณะสำคัญของโรครูมาตอยด์
ซึ่งต่างจากโรคไขข้ออื่นๆ ตำแหน่งของข้อที่มีอาการปวดมากที่สุด
มักจะเป็นที่มือและเท้า แต่มีโอกาสปวดข้อตำแหน่งอื่นได้
นอกจากอาการทางข้อแล้ว ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์อาจมีอาการต่อไปนี้ได้
เช่น อ่อนเพลีย ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ตาแห้ง
คอแห้งผิดปกติ พบก้อนใต้ผิวหนัง บริเวณข้อศอกและข้อนิ้วมือ
ในรายที่ได้รับการรักษาล่าช้าอาจเกิดการทำลายข้อถาวร
ทำให้ข้อพิการผิดรูปได้ |
|
การรักษา
- การใช้ยา ในปัจจุบันมียามากมายที่ใช้ในการควบคุมและรักษาโรครูมาตอยด์ให้ได้ผลดี
ยาเหล่านี้ได้แก่ยารักษารูมาตอยด์โดยเฉพาะยาที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคสารชีวภาพ
และยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์
- การพักผ่อนและการบริหารร่างกาย
- การป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายมากขึ้น เป็นสิ่งสำคัญ
- การผ่าตัด จะมีบทบาทในการรักษาโรครูมาตอยด์ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วน และเรียบเรียงจาก : https://www.doctor.or.th/article/detail/6451
โดย นักเขียนหมอชาวบ้าน "ภาษิต ประชาเวช"
คัดลอกข้อมูลบางส่วน และเรียบเรียงจาก : https://www.bangkokhospital.com/th/Arthritis-Rheumatic_tab
โรงพยาบาลกรุงเทพ |
|
|
|
|