|
|
หัวไชเท้า |
|
ลักษณะเป็นพืชจำพวกผัก มีรากสะสมอาหารลักษณะทรงกระบอกใหญ่ยาว สีขาวหรือสีอื่น
ต้นสูงประมาณ 1 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบแตกออกจากโคนต้นเป็นกอ ยาว 12-12 ซม.
ตัวใบใหญ่ปลายใบมน ขอบใบมีรอยเว้าลึก 4-6 คู่ทั้ง 2 ข้าง ขอบใบมีรอยหยักคล้ายฟัน
ก้านใบลักษณะสามเหลี่ยม ขอบมนใบที่ออกจากต้นที่ชูสูงขึ้นจะมีขนาดเล็กลง ใบรูปไข่กว้าง 1-1.5 ซม.
ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบมีรอยหยักตื้น ๆ หรือแทบไม่มีเลย โคนใบมีก้านสั้น ๆ หรือแทบไม่มี
ดอกออกเป็นช่อจากปลายก้านดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวเป็นแผ่นยาวปลายมนกลม
กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นแผ่นยาวปลายมนกลมสีม่วงอ่อนหรือสีชมพู ส่วนโคนกลีบดอกสีขาว
มีเกสรตัวผู้ 4 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่ลักษณะเป็นฝักยาวกลม ผลเป็นฝักยาวมีเมล็ด
เป็นจำนวนมาก เมล็ดกลม แบนเล็กน้อยมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม. |
|
สรรพคุณของหัวไชเท้า
ราก : รสชุ่ม เย็น ละลายเสมหะ แก้พิษ ท้องอืดแน่นเนื่องจากกินมากเกิน เสมหะมากไม่มีเสียง
อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด กระหายน้ำ บิด และปวดหัวข้างเดียว รากทำให้สุก ใช้เป็นยาระบาย
สมานลำไส้ บำรุงม้าม ขับเสมหะ เรียกน้ำลาย แก้คันและบำรุงเลือด
เมล็ด : รสเผ็ด ชุ่ม เย็น เมล็ดคั่วแล้วมีรสเผ็ด ชุ่ม สุขุม ใช้เป็นยาระบาย ระงับอาการหอบ ช่วยย่อยอาหาร
ขับเสมหะ แก้ไอหอบมีเสมหะมาก ท้องอืดแน่น บิด และแก้บวม
ใบหรือทั้งต้น : รสเผ็ด ขม สุขุม ทำให้เจริญอาหาร แก้ท้องเฟ้อเรอเปรี้ยว ท้องอืดแน่น อาหารไม่ย่อย บิด
ท้องร่วง เจ็บคอ ต่อมน้ำนมบวม และน้ำนมคั่ง
ใบสด : คั้นเอาน้ำทา แก้ผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำเหลือง |
|
ที่มาของข้อมูล : นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 41 (เดือนที่ 9 / 2525)
เขียนโดย “ ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ ” |
|
|
|
อาเจียนเป็นเลือด |
|
อาเจียนเป็นเลือด (Hematemesis) เป็นการอาเจียนที่มีเลือดหรือลิ่มเลือดปะปนออกมา
ซึ่งส่วนมากเกิดมาจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นของระบบทางเดินอาหารส่วนต้น และถือว่าเป็นอาการอันตรายที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
ผู้ที่อาเจียนเป็นเลือดจึงจำเป็นต้องรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อทำให้เลือดหยุดไหลเป็นอันดับแรกและค้นหาสาเหตุต่อไป
ซึ่งอาจเป็นผลมาจากโรคร้ายแรงได้ |
|
อาการอาเจียนเป็นเลือด
- คลื่นไส้
- รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง ปวดท้องอย่างรุนแรง
- อาเจียนปนอาหารหรือน้ำย่อยในกระเพาะออกมา
- วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
- มีปัญหาในการมองเห็น
- ใจเต้นเร็ว
- จังหวะการหายใจผิดปกติ หายใจตื้นและเร็วขึ้น
- มือเท้าเย็น ผิวซีด
- มีความรู้สึกสับสน
- ปัสสาวะออกมาในปริมาณน้อย |
|
สาเหตุของอาการอาเจียนเป็นเลือด
อาการอาเจียนเป็นเลือดเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ |
|
อาเจียนเป็นเลือดจากโรคทางเดินอาหาร ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก
- แผลในกระเพาะอาหารหรือโรคกระเพาะอาหารขั้นรุนแรง (Stomach Ulcer/Severe Gastritis)
เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงและกลายเป็นแผลขึ้นในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียกที่ชื่อว่า
เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) การใช้ยาต้านการอักเสบมากเกินขนาด ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้มีแผลในกระเพาะอาหารและเกิดเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดแสบท้อง
ร่วมกับการอาเจียนเป็นเลือดได้บ่อย
- การโป่งพองของหลอดเลือดในหลอดอาหาร (Oesophageal Varices) เป็นภาวะที่มีการโป่งพอง บวม
และขยายใหญ่ขึ้นของหลอดเลือดบริเวณผนังในหลอดอาหารส่วนล่าง ทำให้เกิดเลือดออกอยู่ภายในแต่มักไม่ก่อให้เกิดอาการปวด
ส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง โดยเฉพาะตับแข็งจากแอลกอฮอล์
- โรคกรดไหลย้อนแบบรุนแรง (Gastro-oesophageal Reflux Disease: GORD)
เกิดจากกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไป ในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง
ที่เยื่อบุหลอดอาหารจนเกิดเลือดออก
- หลอดอาหารเกิดการฉีกขาด (Mallory-Weiss Syndrome) เป็นภาวะที่เกิดการฉีกขาดบริเวณเยื่อบุระหว่างหลอดอาหาร
และกระเพาะอาหาร
โดยอาจมีสาเหตุมาจากความดันที่เพิ่มสูงขึ้นในกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร การขย้อน
เช่น การอาเจียนซ้ำ ๆ
การสะอึกหรือไออย่างรุนแรง
- โรคมะเร็งหลอดอาหาร หรือโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปและน้ำหนักตัวเยอะ
- การกลืนเลือดเข้าไปในบางสภาวะ เช่น กลืนเลือดกำเดาหลังจากเกิดเลือดกำเดาไหลอย่างรุนแรง
ซึ่งอาจทำให้พบเลือดในอุจจาระ
ลักษณะอุจจาระเป็นสีดำ
|
|
อาเจียนเป็นเลือดจากสาเหตุอื่น เช่น
- การกลืนสารพิษ สารกัดกร่อน หรือสารกัมมันตรังสี
- ความผิดปกติของเลือด เช่น ภาวะเกล็ดเลือดต่ำหรือการลดลงของเกล็ดเลือด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) ซึ่งทำให้มีเลือดออกทางเดินอาหารได้ง่าย
- ในบางรายไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน |
|
การป้องกันอาการอาเจียนเป็นเลือด
อาการอาเจียนเป็นเลือดเกิดได้จากหลายสาเหตุ การป้องกันจะเน้นไปที่การรักษาต้นเหตุของโรคที่ทำให้เกิดอาการขึ้นเป็นหลักก่อน
และเลี่ยงปัจจัยที่เอื้อให้เกิดเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นที่พบได้บ่อย โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้ |
|
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่ทำให้กระเพาะเกิดการระคายเคืองได้ง่าย เช่น อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด
ซึ่งในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันออกไป จึงควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบถ้วน เน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ธัญพืช
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งไปเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหารจนอาจทำให้เกิดการกัดเยื่อบุกระเพาะอาหาร
หรือลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นแผลได้ และแอลกอฮอล์ยังทำให้เกิดตับแข็ง ซึ่งทำให้มีหลอดเลือดในหลอดอาหารโป่งพองและเลือดออกง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาในกลุ่มแก้ปวดหรือยาเอ็นเสด (เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน) ขณะท้องว่าง
เพราะจะสร้างความระคายเคืองกับเยื่อบุภายในช่องท้อง
- พยายามไม่เครียดหรือควบคุมความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ผู้ที่เป็นโรคในทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร
ควรมีการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบจนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดเลือดออกได้ง่าย |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/อาเจียนเป็นเลือด |
|
|
|