|
กำลังช้างสาร |
ชื่ออื่น : ฮ่อสะพายควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pithecellobium tenue Craib
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE–MIMOSOIDEAE(FABACEAE) |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
กำลังช้างสาร เป็นไม้ต้นขนาดเล็กกึ่งไม้พุ่ม สูง 3-5 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามทั่วไป
ใบกำลังช้างสาร ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียนกลับ หูใบเป็นหนามแหลม ก้านและแกนช่อใบมีครีบแคบๆ มีต่อมระหว่างรอยต่อของแขนงช่อใบ ใบย่อย 1-3 คู่ ออกตรงกันข้าม รูปไข่กลับแกมรูปรี ปลายใบแหลมยาว โคนใบเบี้ยว
ไม่มีก้านใบย่อย ดอกกำลังช้างสาร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อโปร่งแตกแขนง ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว
เกสรตัวผู้สีขาว มีจำนวนมาก ผลกำลังช้างสาร ผลเป็นฝักแห้ง สีน้ำตาล ยาวถึง 20 เซนติเมตร คอดเข้าระหว่างรอยต่อของเมล็ดที่นูนออกเป็นเปลาะๆ |
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้ |
|
สรรพคุณกำลังช้างสาร :
เนื้อไม้ รสสุขุม แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น
ยาพื้นบ้านใช้ ต้น ต้มกับน้ำซาวข้าว ดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนใน
หรือผสมกับแก่นฝาง ต้นพญาท้าวเอว โด่ไม่รู้ล้มทั้งต้น ต้นเครืองูเห่า ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเส้น ปวดเอว |
|
คัดลอกข้อมูลจาก : https://www.samunpri.com/กำลังช้างสาร
|
|
|
|
เอ็นอักเสบ |
|
เอ็นอักเสบ (Tendinitis) คือ การบวมเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นแถบเนื้อเยื่อพังผืดที่ยืดหยุ่นได้ตามแนวกระดูก
คอยเชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูกไว้ด้วยกัน ช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อต่อ
สาเหตุที่เอ็นอักเสบมักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำ ๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า เข่า หัวไหล่ ข้อศอก สะโพก
จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อ |
|
อาการของเอ็นอักเสบ
- รู้สึกปวดตื้อ ๆ บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่ใช้แขนขาหรือข้อต่อนั้น ๆ
- ใช้การเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อได้ลำบาก
- มีอาการฟกช้ำ
- มีอาการบวม บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ หรือมีอาการแดงร่วมด้วย
- มีก้อนบวมนูนตามเอ็นกล้ามเนื้อนั้น ๆ |
|
สาเหตุของเอ็นอักเสบ
- ผู้ที่มีอายุมากจะยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะเอ็นอักเสบมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเอ็นกล้ามเริ่มมีความยืดหยุ่นน้อยลง
- ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกายบ่อยครั้ง มีการเคลื่อนไหวผิดท่า เอื้อมยกของ
ต้องออกแรงแกว่งหรือแรงเหวี่ยง หรืองานที่ต้องลงแรงมาก
- การเล่นกีฬาบางชนิดที่เอ็นกล้ามเนื้อต้องทำงานซ้ำ ๆ เช่น บาสเก็ตบอล กอล์ฟ โบว์ลิ่ง ว่ายน้ำ เทนนิส และวิ่ง |
|
การรักษาเอ็นอักเสบ
- ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งบริเวณที่อักเสบนาน 20 นาที ทำซ้ำทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
- ใช้ผ้าพันแผลพันรอบ ๆ เพื่อรองรับข้อต่อและเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ
- พยายามยกส่วนของร่างกายที่มีอาการให้อยู่ในระดับสูง โดยใช้หมอนหนุนไว้เมื่อนั่งหรือนอนลง
- ป้องกันการบวมของบริเวณที่อักเสบในช่วง 2-3 วันแรกด้วยการหลีกเลี่ยงความร้อน
เช่น น้ำอุ่น หรือถุงน้ำร้อน รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์และการนวดบริเวณดังกล่าว
- เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ให้พยายามออกการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ
ป้องกันการฝืดติดของเอ็นที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้เคลื่อนไหว
- อาจรับประทานยาหรือทาเจลบรรเทาการอักเสบที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป |
|
ภาวะแทรกซ้อนของเอ็นอักเสบ
ภาวะเอ็นอักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรงกว่า
และอาจถึงขั้นต้องได้รับการผ่าตัด หรือหากอาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อคงอยู่เป็นเวลาหลายอาทิตย์หรือหลายเดือน
ก็อาจนำไปสู่ภาวะเอ็นอักเสบเรื้อรัง โดยจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมสภาพภายในเอ็นกล้ามเนื้อดังกล่าว เกิดข้อติด
และเกิดการเติบโตของหลอดเลือดที่ผิดปกติขึ้น |
|
การป้องกันภาวะเอ็นอักเสบ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะส่งผลให้เกิดแรงตึงต่อเอ็นกล้ามเนื้อมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อทำซ้ำเป็นเวลานาน
และหากรู้สึกถึงอาการเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกายชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วก็ควรหยุดพักการทำกิจกรรมนั้นสักพัก
- ทำกิจกรรมออกกำลังกายให้หลากหลาย หากว่าการออกกำลังกายที่ทำอยู่มักทำให้รู้สึกปวดบริเวณเอ็นกล้ามเนื้ออยู่บ่อยครั้ง
ควรสับเปลี่ยนด้วยการออกกำลังกายชนิดอื่น เช่น การผสมผสานทั้งการออกกำลังกายที่ลงน้ำหนักอย่างการวิ่ง
ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
- ปรับเทคนิคการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายให้ถูกต้อง นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับเอ็นกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้น
จากการเคลื่อนไหวผิดท่า ควรศึกษาหรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับการออกกำลังกายในระยะเริ่มต้น
หรือเมื่อต้องการลองใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายชนิดใหม่ ๆ
- หากเพิ่งเริ่มออกกำลังกาย ควรทำอย่างค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป ไม่ควรหักโหมตั้งแต่คราวแรก
- อบอุ่นร่างกายให้พร้อมก่อนการทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ให้ทนต่อความตึงและการลงน้ำหนักได้ดี
- หมั่นยืดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของเอ็นกล้ามเนื้อ
ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บจากการตึงของเนื้อเยื่อ ทั้งนี้การยืดกล้ามเนื้อที่ให้ผลดีที่สุดก็คือหลังจากออกกำลังกายเสร็จแล้ว
เพราะเป็นเวลาที่กล้ามเนื้อได้รับการอุ่นเครื่องแล้ว
- จัดรูปแบบอุปกรณ์การทำงานให้เหมาะสม ผู้ที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ควรปรับเก้าอี้ คีย์บอร์ด
และหน้าจอให้เหมาะสมกับส่วนสูง ความยาวของแขน และลักษณะงานที่ทำ เพื่อป้องกันอาการตึงที่ข้อต่อและกล้ามเนื้อเอ็นต่าง ๆ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/เอ็นอักเสบ |
|
|
|