|
|
ประโยชน์ของผลส้มแขก |
|
ชื่อไทย ส้มแขก
ชื่อสามัญ Malabar tamarind
ชื่อพฤกษศาสตร์ Garcinia cambogia Desr.
ชื่อวงศ์ CLUSIACEAE
แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ อินเดีย |
|
ผลส้มแขก ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia atroviridis ชื่ออื่นคือ ส้มควาย ส้มมะวน ชะมวงช้าง
เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Guttiferae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมังคุด ชะมวง เปลือกต้นเมื่ออ่อนสีเขียว
พอแก่เป็นสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว เรียบเป็นมัน ดอกช่อ แยกเพศ แยกต้น เมื่ออ่อนมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม
ผลเป็นผิวเดี่ยว ผิวเรียบ เนื้อผลที่เป็นเนื้อแข็งมีรสเปรี้ยว เนื้อหุ้มเมล็ดสีส้มมีรสหวาน มี 5-8 เมล็ด |
|
เนื้อส่วนที่แข็ง มีกรดซิตริก กรดทาทาร์ริก กรดมาลิก และ กรดแอสคอร์บิก กรดไฮดรอกซีซิตริก
และ ฟลาโวนอยด์ นำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหารเช่น แกงส้ม หรือทำเครื่องดื่มลดความอ้วน
ผลส้มแขกสุกเป็นสีส้มเหลือง ส้มแขกที่หั่นเป็นชิ้นแล้วตากแดดให้แห้ง ในภาษามาเลย์เรียก อาซัมเกอปิง
มีขายทางการค้า ใช้แต่งรสเปรี้ยวในสลัด แกง และต้มต่างๆ |
|
ผลส้มแขก หรือ Garcinia Combogia เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทย ที่นิยมใช้ในการประกอบอาหาร
มาเป็นเวลานาน เป็นสมุนไพรที่พบมากทางภาคใต้ มีรูปร่างคล้ายผลฟักทองขนาดเล็ก
มีการวิจัยแล้วว่าในส้มแขกนั้นมีสาร HCA ซึ่งเป็นตัวยับยั้งการสะสมของไขมันส่วนเกิน เปลี่ยนไขมันที่สะสม
ไว้ให้เป็นพลังงาน ปัจจุบันผลส้มแขกจึงถูกนำมาใช้ในการลดความอ้วน ซึ่งบรรจุในรูปของแคปซูล
หาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป |
|
กลไกการออกฤทธิ์ของ HCA จะออกฤทธิ์โดยการไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ ATP Citrate Lyase
ในวงจร Kreb’s cycle (วงจรการย่อยสลายกลูโคส ของเซลร่างกาย) ทำให้ยับยั้งการนำน้ำตาล
จากอาหารประเภท แป้ง ข้าว และน้ำตาล ไม่ให้เปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามร่างกาย
แต่จะนำไปใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่นไม่อ่อนเพลีย และ เมื่อในกระแสเลือด
ในรูปของไกลโคเจนที่ตับ ทำให้ร่างกายรับรู้ว่ามีพลังงานสำรองเพียงพอ ทำให้ไม่รู้สึกหิวมาก
นอกจากนี้ ยังมีผลไปกระตุ้น ให้มีการดึงเอาไขมันที่สะสมออกมาใช้เป็นพลังงานทำให้ไขมันที่สะสม
อยู่ลดลงซึ่งจะมีผล ทำให้รูปร่างดีขึ้น จากการนำสารสกัดจากผลส้มแขกมารับประทานเพื่อให้น้ำหนักลดลง
พบว่าน้ำหนักตัวอาจจะไม่ลดลงเร็วมากนัก ประมาณ 1 กิโลภายใน 3-4 อาทิตย์ แต่รูปร่างจะดีขึ้น เอว(พุง)
ลดลง ความอึดอัดลดน้อยลง เนื่องจากไขมันมีน้ำหนักเบากว่ากล้ามเนื้อ (แต่ถ้าร่างกายสูญเสียกล้ามเนื้อ
ก็จะเกิดการอ่อนแอและโรคแทรกซ้อนได้ง่าย) |
|
วิธีการรับประทานสารสกัดส้มแขก : แนะนำให้กินขนาด 600 mg ครั้งละ 2 เม็ด
(ถ้า 300 mg ใช้มื้อละ สี่เม็ด) วันละ 3 เวลา ก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง
พร้อมกับดื่มน้ำตามหลัง ประมานหนึ่งแก้ว ซึ่งจะทำยาให้ดูดซึมได้ดีที่สุด แต่ขณะที่ยาแตกตัว
ในกระเพาะอาหารบางคนอาจจะได้กลิ่นของส้มแขก ซึ่งมีกลิ่นหอมคล้ายขนมปังปิ้ง ถ้าไม่ชอบหรือ
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ก็แนะนำให้เปลี่ยนมากินหลังอาหารหรือพร้อมกับอาหารได้ แต่การดูดซึม
จะลดน้อยกว่าการกินก่อนอาหารเล็กน้อย ในผู้ที่อ้วนมากหรือกินจุมากอาจเพิ่มปริมาณ
เป็นวันละ 8-10 เม็ด (600 mg) ต่อวันได้ เมื่อรูปร่างหรือน้ำหนักตัวลดลงจนเป็นที่พอใจก็ค่อยๆ
ลดปริมาณของส้มแขก ลงจนกระทั่งไม่ต้องใช้ และหลังจากหยุดใช้จะไม่มีผลในการหิวมากขึ้น
หรือ อ้วนขึ้นกลับมา และยังพบว่านิสัยกินจุ ในบางคนจะลดลงไปด้วย |
|
ผลส้มแขก จนถึงบัดนี้ ยังไม่พบผลข้างเคียงหรืออันตรายที่เกิดขึ้นจากการรับประทานตามขนาดที่แนะนำ
ไม่ว่าจะลดน้ำหนักด้วยวิธีใด การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการกินอาหาร ควบคู่กับการออกกำลังกาย
ที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ได้ผลเร็วและปลอดภัยกว่ายาใดๆ ทั้งหมด |
|
ส้มแขกประสิทธิผลในการรักษาโรคจากรายงาการวิจัยทางคลินิก มีรายงานการวิจัยทางคลินิกของ HCA
ในคนอยู่หลายรายงาน แต่พบว่าไม่สนับสนุนฤทธิ์ลดไขมัน หรือประสิทธิผลในการลดน้ำหนัก
หรือเพิ่ม fat oxidation ของ HCA ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตาม
มีข้อเสนอว่าผลิตภัณฑ์จากส้มแขกอาจมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
อีกหลังจากลดน้ำหนักได้แล้ว โดยใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ลดการบริโภคไขมัน
และออกกำลังกาย ซึ่งยังต้องพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป |
|
สรรพคุณของส้มแขก ในตำรายาแผนโบราณ ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
นั้นมีการวิจัยว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา และฤทธิ์ลดน้ำหนักร่างกายเป็นต้น
ซึ่งในฤทธิ์ลดน้ำหนักนั้นมีงานวิจัยจากโรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ฉบับ รายงานว่าสาร hydroxy citric acid
(HCA) ที่อยู่ในผลส้มแขก และปรับให้อยู่ในรูปผลิตภัณฑ์ขนาดบรรจุซอง 1.65 กรัม โดยมี HCA อยู่ 70%
หรือประมาณ 1.15 กรัม โดยศึกษาในสตรีที่มี BMI (ดัชนีมวลกาย) > 25 กก./ม2 จำนวน 42 คน
โดยให้รับประทานครั้งละ 1 ซอง ผสมกับน้ำก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง นาน 2 เดือน
พบว่าการสะสมของไขมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลง 4.9%
น้ำหนักไขมันที่หายไป 16.2% น้ำหนักร่างกายลดลง 3.9% ดัชนีมวลกายลดลง 3.27%
และเมื่อสิ้นสุดการทดลองผลของค่าชีวเคมีในเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าไม่ทำให้เกิดพิษ
หากรับประทานในขนาดที่กำหนด ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการศึกษารายงานด้านความเป็นพิษของส้มแขก
ซึ่งข้อมูลงานวิจัยของส้มแขกยังมีไม่มากหนัก ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกถึงขนาด
และวิธีการรับประทานที่ถูกต้องได้ |
|
ข้อควรระวัง : เนื่องจากสาร HCA มีผลรบกวนการสร้าง acetyl CaA, fatty acid รวมทั้ง cholesterol
จึงอาจมีผลรบกวนต่อการสร้าง steroid hormone ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ HCA หรือผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มี
HCA ในปริมาณสูงในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร |
|
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : - http://blog.eduzones.com/samunpri/51746
- http://th.wikipedia.org โดยค้นหาคำว่า “ ส้มแขก ”
- http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5306
( หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลถนนศรีอยุธยา) |
|
|
|
โรคกระเพาะอาหารกับเชื้อแบคทีเรีย |
|
โรคกระเพาะอาหารที่เรียกกันแพร่หลายจนติดปากนั้น ทางการแพทย์จะหมายถึง โรคแผลเปปติค (Peptic ulcer)
ซึ่งจะเกิดเป็นแผลบริเวณกระเพาะอาหารโดยตรง หรือเกิดเป็นแผลที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น
ซึ่งอยู่ติดกับกระเพาะอาหาร 80 % ของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะประสบปัญหาการเป็นๆ หายๆ คือหลังจากการรักษาแผลให้หายแล้ว
ก็มักจะกลับมาเป็นแผลอีกเรื่อยๆ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในอดีตมีความเชื่อว่า
โรคกระเพาะเป็นผลมาจากการที่กระเพาะอาหารมีกรดมาก
หรือเยื่อบุกระเพาะอาหารไม่แข็งแรงแต่เพียงอย่างเดียว
ปัจจุบันเราพบว่าโรคกระเพาะอาหารมีสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งมาจาการติดเชื้อแบคทีเรีย
ที่ชื่อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ เอช.ไพโลไร (Helicobacter Pylori) |
|
อาการของโรคกระเพาะ
ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอก หรือ ใต้ลิ้นปี่ โดยมีประวัติเป็นเรื้อรังมานานโดยสุขภาพทั่วไป
ไม่ทรุดโทรม ผู้ป่วยบางรายมีอาการ จุก เสียด แน่น เจ็บ แสบ หรือร้อน โดยอาการจะสัมพันธ์กับการกินอาหาร
หรือ ชนิดของอาหารที่กิน เช่น อาจปวดมากตอนหิว หลังอาหารอาการจะทุเลา แต่ผู้ป่วยบางคนอาการปวดเป็นมากขึ้นหลังอาหาร
โดยเฉพาะอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น บางรายอาจมีอาการปวดท้องกลางคืน |
|
แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
ในปัจจุบันการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ส่วนใหญ่แล้วจะทำโดยวิธีการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร
แล้วตัดเนื้อเยื่อบุกระเพาะมาตรวจหาเชื้อโดยเทคนิคต่างๆ เช่น วิธีการทางพยาธิวิทยา
หรือดูการเปลี่ยนสีของชุดตรวจพิเศษเพื่อหาเชื้อ เอช.ไพโลไร นอกจากวิธีส่องกล้องแล้ว
ก็ยังมีวิธีการเจาะเลือดตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ
วิธีการตรวจลมหายใจ
ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ เอช.ไพโลไร ที่ดีที่สุด แต่ราคาค่อนข้างแพง |
|
ข้อควรปฏิบัติ
โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น มักเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก
ถ้าไม่ระวัง รักษา หรือ ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องดังนี้
- กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
- กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่บ่อย ไม่ควรกินจนอิ่มในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของดอง น้ำอัดลม
- งดบุหรี่ และงดดื่มสุรา
- งดการให้ยาแอสไพรินและยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูกทุกชนิด (NSAID)
- ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวลทั้งหลาย
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
- ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ ปวดท้องรุนแรง หรือ เบื่ออาหาร
น้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปหาแพทย์ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.thonburihospital.com/Peptic_Ulcer_and_Bacteria.html
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลธนบุรี |
|
|
|