|
|
กระชายดำ หรือ โสมไทย เป็นพืชสมุนไพรที่มีการตื่นตัวในเรื่องการบริโภคมาก ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากว่า
มีสรรพคุณที่เชื่อกันว่าเป็นยาสมุนไพรอายุวัฒนะชั้นหนึ่งของไทย มาแต่โบราณกาลและสามารถเพิ่มพลัง
ทางเพศให้กับผู้รับประทานได้ซึ่งชายไทยที่เคยบริโภคต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เด็ดจริงๆ"
กระชายดำ ยังเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญประจำเผ่าม้งและมักพกติดตัวไว้ในยามแทบทุกคน
เพื่อใช้กินแก้ปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ หืดหอบ ที่สำคัญเชื่อว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้เป็นอย่างดี
และถือว่าเป็นความลับประจำเผ่ามาหลายร้อยปี |
|
ประวัติ
การปลูกกระชายดำที่จังหวัดเลย นั้น สายพันธุ์ ต้นกำเนิดมาจาก ชาวเขาเผ่าม้ง ที่มาตั้งถิ่นฐาน
ตรงบริเวณรอยต่อ ระหว่าง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก - อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
และรอยต่อกับ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สมุนไพรกระชายดำนี้
ชาวเขาเผ่าม้งหวงแหนมาก เพราะตระหนักดีในเรื่องของสรรพคุณ เพื่อไม่ให้กระชายดำแพร่พันธุ์มาก
เวลานำมาขายให้คนไทยพื้นราบ จะนำไปนึ่งให้หัวกระชายดำตายเสียก่อน
เมื่อนำมาปลูก จึงไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ต่อมา คนไทยพื้นราบ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
ติดต่อค้าขายกับชาวเขาเผ่าม้ง จึงได้แอบนำติดตัวและมาปลูกขยายพันธุ์
ปัจจุบัน ที่อำเภอนาแห้วเป็นแหล่งปลูกกระชายดำ แหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ |
|
คุณสมบัติ
กระชายดำ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงจัดได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้คึกคัก
กระชุ่มกระชวย ช่วยสร้างความสมดุย์ของความดันโลหิตให้ไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใส
และแก้โรคบิดแก้ปวดท้องเป็นต้น สำหรับสุภาพสตรีช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลแก้ตกขาว
ขยายหลอดเลือดขจัดไขมันในหลอดเลือดโรคกระเพาะ ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,โรคหัวใจ..อื่นๆ |
|
สรรพคุณ
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นระบบประสาท แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม
รักษาสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร
รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุล โรคบิด โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด โรคหัวใจ
สำหรับสุภาพสตรีทานแล้ว จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศ ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น
ผิวพรรณผุดผ่องสดใส แก้อาการตกขาว ประจำเดือนมาไม่ปกติ |
|
ที่มา : http://www.thaikrachaidum.com และ http://www.thai.net/kachaidam |
|
|
|
โรคบิด |
|
โรคบิด (Dysentery) คืออาการท้องเสียอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียชิเกลลา (Shigella)
หรือเกิดจากติดเชื้อจากสัตว์เซลล์เดียวอย่างตัวอะมีบา (E. histolytica) โดยอาการหลัก ๆ ของโรคบิดที่พบ
ได้แก่ อาการท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อย เมื่อถ่ายอุจจาระจะมีมูกหรือมูกเลือดออกมาด้วย และปวดท้องเป็นพักๆ |
|
โรคบิดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- โรคบิดชนิดไม่มีตัว (Bacillary Dysentery หรือ Shigellosis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มชิเกลลา (Shigella)
สามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยไม่ดี
- โรคบิดชนิดมีตัว (Amoebic Dysentery หรือ Amoebiasis) เป็นโรคบิดที่เกิดจากสัตว์เซลล์เดียวอันมีชื่อว่า อะมีบา
ที่มักพบการติดเชื้อได้ในพื้นที่ร้อนชื้นและที่ที่มีการดูแลสุขอนามัยที่ไม่ดีมากนัก |
|
สาเหตุของโรคบิด
โรคบิดชนิดไม่มีตัว มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มชิเกลลา (Shigella)
นอกจากนี้เชื้อชนิดอื่น ๆ ก็อาจก่อให้เกิดโรคบิดได้ เช่น เชื้อแคมพีโลแบคเตอร์ (Campylobacter)
เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล หรือเชื้อ อี โคไล (Escherichia Coli: E. coli) และเชื้อซาโมเนลลา (Salmonella) เป็นต้น |
|
โรคบิดชนิดมีตัว มีสาเหตุเกิดจากอะมีบา โดยเชื้อดังกล่าวจะมีวงจรชีวิต 2 ระยะ ดังนี้
- ระยะถุงหุ้ม (Cysts) เป็นระยะที่อะมีบาไม่สามารถแพร่กระจายได้ แต่สามารถอาศัยอยู่ในดิน ในปุ๋ย หรือในน้ำได้หลายเดือน
- ระยะโทรโพไซท์ (Trophozite) เป็นระยะที่อะมีบาออกมาจากถุงหุ้มและแพร่กระจายได้ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในระบบย่อยอาหาร
โดยเฉพาะในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งตัวอะมีบาจะฝังตัวอยู่ที่ผนังลำไส้ จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการอุจจาระเป็นเลือด
ลำไส้อักเสบ
และเนื้อเยื่อภายในลำไส้ถูกทำลาย จากนั้นอะมีบาจะสร้างถุงหุ้มขึ้นมาและออกจากร่างกายไปพร้อมอุจจาระ
กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง ทั้งนี้หากอะมีบาในระยะนี้แพร่กระจายไปยังกระแสโลหิตก็จะทำให้เชื้อไปถึงอวัยวะอื่นในร่างกายได้
และก่อให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะนั้น ๆ หรือเกิดฝี และเกิดอาการป่วยที่รุนแรง รวมทั้งอาจนำมาสู่การเสียชีวิตได้ |
|
ภาวะแทรกซ้อนของโรคบิด
โรคบิดชนิดไม่มีตัว โดยปกติแล้วโรคบิดชนิดนี้จะไม่ค่อยพบอาการแทรกซ้อน แต่ก็อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์
หรือหลายเดือน
กว่าการทำงานของลำไส้จะกลับมาเป็นปกติ และหากพบภาวะแทรกซ้อนก็มักมีอาการดังต่อไปนี้ |
|
- ภาวะขาดน้ำ การท้องเสียติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำ และหากเกิดการขาดน้ำอย่างรุนแรง
ก็อาจทำให้เกิดอาการช็อก
และเสียชีวิตได้
- อาการชัก กรณีโรคบิดในเด็ก อาการของบิดจะทำให้เด็กมีไข้สูง จนเกิดอาการชักได้
ซึ่งหากมีอาการควรรีบติดต่อแพทย์โดยทันที
- ทวารหนักโผล่ (Rectal Prolapse) การเคลื่อนของลำไส้ที่ผิดปกติจากโรคบิด
อาจทำให้เยื่อเมือกบุผนังลำไส้หรือหนังลำไส้ตรงเคลื่อนออกมาอยู่นอกทวารหนักได้
- ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกและไตวายเฉียบพลัน (Hemolytic Uremic Syndrome) ในผู้ป่วยโรคบิดชนิดไม่มีตัว
บางรายที่มีสาเหตุมาจากเชื้ออี โคไล สามารถเกิดอาการเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดต่ำจนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
- ลำไส้พองตัว (Toxic Megacolon) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย เมื่อลำไส้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
ก็จะทำให้อาหารหรือแก๊สภายในระบบย่อยอาหารไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หากไม่ได้รับการรักษา
ลำไส้อาจแตกและทำให้เชื้อโรคแพร่กระจาย ซึ่งต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน หากรักษาไม่ทันก็จะทำให้เสียชีวิตได้
- โรคข้ออักเสบรีแอคทีฟ (Reactive Arthritis) อาการนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดตามข้อ
และเกิดอาการอักเสบร่วมด้วย นอกจากนี้ยังอาจพบอาการคัน หรือระคายเคืองตา หากปัสสาวะก็จะรู้สึกเจ็บ |
|
โรคบิดชนิดมีตัว การติดเชื้อจากอะมีบาอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
เพราะหากเชื้อหลุดรอดเข้าไปยังกระแสโลหิตก็อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต โดยภาวะแทรกซ้อนที่มักพบ ได้แก่ |
|
- ภาวะลำไส้เน่า (Necrotizing Colitis) เกิดจากเชื้ออะมีบาฝังตัวในลำไส้ จนทำให้เนื้อเยื่อบริเวณลำไส้ตายและเน่า
หากไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตได้
- ลำไส้พองตัว (Toxic Megacolon) เป็นอาการที่ลำไส้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ทำให้อาหาร
หรือแก๊สภายในลำไส้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หากไม่ได้รับการรักษา ลำไส้อาจแตกและทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย
และเสียชีวิตได้
- ภาวะทวารหนักทะลุเข้าช่องคลอด (Rectovaginal Fistula) เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคบิดชนิดมีตัวในเพศหญิง
ซึ่งหากมีอาการอักเสบของบริเวณลำไส้ส่วนทวารหนักเรื้อรัง จะทำให้ผนังลำไส้ส่วนดังกล่าวอ่อนแอ จนทำให้เกิดการทะลุ
ทำให้อุจจาระไหลเข้าไปที่ช่องคลอดได้
- ฝีที่ตับ (Liver Abscess) เมื่อตัวอะมีบาแพร่กระจายเข้าไปในกระแสเลือดและไปที่ตับ ก็อาจทำให้เกิดฝีที่ตับ
และอาจก่อให้เกิดการปริแตกของเยื่อหุ้มช่องท้อง เยื่อหุ้มทรวงอก และเยื่อหุ้มหัวใจได้ รวมทั้งฝีอาจแพร่กระจายไปยังเยื่อหุ้มปอด
เยื่อหุ้มหัวใจ และเยื่อหุ้มสมอง จนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
|
|
การป้องกันโรคบิด
การรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีป้องกันโรคบิดที่ดีที่สุด เพราะสุขอนามัยที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคบิดได้
โดยวิธีที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงโรคบิด ได้แก่
- ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำเพื่อกำจัดเชื้อ
- ล้างมือทุกครั้งก่อนใช้มือหยิบจับอาหาร
- หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
- หากในครอบครัวมีผู้ป่วยโรคบิด ควรรักษาความสะอาดและสุขอนามัยให้มากขึ้น รวมทั้งป้องกันการติดเชื้อ
หรือการแพร่กระจายของเชื้อด้วยการทำความสะอาดเสื้อผ้าหรือเครื่องใช้ส่วนตัวที่เป็นผ้าด้วยน้ำร้อน
เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อาจติดอยู่กับผ้า
- ดื่มน้ำจากแหล่งน้ำที่สะอาดเพื่อป้องกันเชื้อที่อาจปะปนอยู่ในน้ำ |
|
นอกจากนี้ หากต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยไม่ดี หรือมีความเสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อ
ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ไม่ได้บรรจุอย่างถูกสุขลักษณะ โดยควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากก๊อกน้ำ
หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำแข็ง ไอศกรีม สัตว์ทะเลที่มีเปลือก อาหารที่มีผักสด หรือผลไม้ที่ผ่านการปอกเปลือกแล้ว
เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/โรคบิด |
|
|
|