aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
Coenzyme Q10 คืออะไร
 
CoQ10 คืออะไร ?
 
   โคเอนซัยม์คิวเท็น (CoenzymeQ10) หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า โคคิวเท็น (CoQ10) นั้น เป็นที่รู้จักกัน ในชื่ออื่นอีกหลายชื่อ
เช่น ยูบิควิโนน (Ubiquinone) จัดเป็นสารจำพวก วิตามินหรือคล้ายวิตามิน ซึ่งมีในทุกเซลล์ของร่างกาย
   CoQ10 ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1957 ว่าเป็นโคเอนซัยม์ที่จำเป็นตัวหนึ่งในร่างกาย ทำหน้าที่เป็นตัวร่วมจุดประกาย
การเกิดปฏิกิริยาเคมี ที่สำคัญในกระบวนการสร้างพลังงาน ของไมโตคอนเดรีย แห่งเซลล์ของกล้ามเนื้อ
   ผู้วิจัยที่นำเสนอให้เข้าใจ ในบทบาทของ CoQ10 ได้รับรางวัล Nobel ในปี ค.ศ.1978 (พ.ศ.2521)
 
CoQ10 สำคัญอย่างไร ?
 
   CoQ10 ไม่ได้ให้พลังงานโดยตรงแก่ร่างกาย แต่เป็นโคเอนซัยม์ที่จำเป็น ในการจุดเริ่มปฏิกิริยาเคมี
เพื่อสร้างพลังงาน จึงมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้อง
ทำงานตลอดเวลา ไม่ว่ายามตื่นหรือหลับ จากการศึกษากว่า 25 ปีในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี
และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่ทำการศึกษาล้วนมีภาวะขาด CoQ10 ที่รุนแรง
ซึ่งเมื่อได้รับ CoQ10 ปริมาณเพียงพอ ก็สามารถฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างได้ผล
ประมาณ 95% ของปฏิกิริยาพลังงานในร่างกาย ล้วนเกิดจากบทบาทของ CoQ10
   จากกลไกบทบาทในกล้ามเนื้อเรียบ ยังใช้ช่วยอธิบายในกรณีหายใจลำบาก หายใจแล้วเหนื่อย
ว่าอาจมีภาวะขาด CoQ10 ร่วมด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ของ CoQ10
ทำให้วงการแพทย์นำ CoQ10 มาใช้ในการร่วมรักษาโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจาก ระดับสารต้านอนุมูลอิสระ
ในร่างกายลดลง CoQ10 ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยคงไว้ซึ่งผนังเซลล์ CoQ10 ยังถูกจัดให้เป็น
potent antioxidant ป้องกันการเกิดริ้วรอยอีกด้วย
 
บทบาทสำคัญของ CoQ10 มี 2 กลุ่ม
 
1. สร้างพลังงานในระดับเซลล์ CoQ10 เปรียบเสมือนหัวเทียนจุดประกายให้เริ่มต้นเครื่องยนต์เดินได้
โมเลกุลพลังงานนั้นชื่อ ATP เป็นสิ่งที่ผลิตขึ้นมาได้ ต่อไปเราอาจได้ยิน ATPase
หรือ ATP Reduc tase
ก็เปรียบเสมือนน้ำย่อย หรือ enzyme ในกระบวนการสร้างเซลล์
พลังงาน ATP ส่วน CoQ10 เป็นตัวจุดประกายให้ enzyme เริ่มเดินเครื่องก็จึงเรียก Coenzyme
แต่ละเซลล์หัวใจจะพบไมโตคอนเดรียอยู่ 1,000-2,000 หน่วย เป็นตัวสร้างพลังงานให้หัวใจ
บีบตัวสม่ำเสมอ วันละกว่าแสนครั้งหรือกว่า 36 ล้านครั้งในแต่ละปี คิดดูซี…ว่า
CoQ10 นั้นจำเป็นและต้องใช้ปริมาณมากมายเพียงไร !
2. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ โดย CoQ10 จะกระจายรายรอบผนังเซลล์เพราะเป็นสภาวะไขมัน
ซึ่ง CoQ10 ละลายได้ดี โดยจะคอยปกป้องผนังเซลล์มิให้ถูก ทำลายเสียหายจากอนุมูลอิสระ
หรือ Oxidative stress อันจะก่อให้เกิดโรคแห่งความเสื่อมทั้งหลาย เมื่อคุ้มกันผนังเซลล์ได้
ก็คือ ปกป้องไมโตคอนเดรียและ DNA ได้ด้วย รหัสพันธุกรรมของเซลล์ก็ย่อมปลอดภัยจากการ
ที่มี CoQ10 พอเพียง ไม่เสื่อม หรือแก่ตัวเร็ว หรือชรา หรือกลายเป็นมะเร็ง
ภาวะต้านอนุมูลอิสระที่เห็นชัดๆ อีกที่คือ ในผนังหลอดเลือดที่ว่าคอยปกป้อง LDL
เพื่อทำการสร้างเยื่อบุผิว CoQ10 หรือสารต้านทั้งหลาย จะคอยดักจับอนุมูลอิสระ
หรือ oxidative stress
มิให้ทำร้าย LDL แล้วยังที่ผิว ไม่ว่า Lanqerhans cell หรือ Melano cyte,
fibroblast
ก็ไม่พลาดพลั้ง หากมี Antox ปกป้องไว้กลไกช่วยดูแลหลอดเลือดของ CoQ10
ทางหนึ่ง คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระไปปกป้อง LDL ไขมันเลว มิให้อนุมูลอิสระเข้าทำลาย
หรือกระทบ ทำให้กลายเป็น LDL พิษ อันจะทำให้เกิดกระบวนการที่แมคโครฟากส์ต้องมากลืนกิน
มากๆ เข้าก็เสียศูนย์กลายเป็นโฟมเซลล์ จับอยู่ที่ผนังเกิดก้อนพลั๊กอุดตันหลอดเลือด
รอการตีบหรือแตกก่อความเสียหายใหญ่หลวง ขนาดน้องๆ ก็คือ เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด
น้ำท่วมปอดจากหัวใจไม่ทำงาน กล้ามเนื้อหัวใจพิการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
 
เมื่อขาด CoQ10 จะมีผลอย่างไร ?
 
  ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจ หากขาด CoQ10 มากเกินขนาด จะส่งผลให้ปริมาณเซลล์ที่ไม่ทำงานมีมาก
เมื่อถึงระดับหนึ่งย่อมไม่บีบตัวทำงาน เซลล์ที่เหลือย่อมปรับตัวโดยบีบให้ถี่ขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ไม่มีแรงสูบฉีดเลือดส่งออกไปเลี้ยงอวัยวะได้เป็นชีพจรที่เร็วแต่เบา เราจะรู้สึกใจสั่น แต่อาจรู้สึกใจเต้นแรง
ก็เพราะหัวใจบีบผิดจังหวะ หรือไม่ราบรื่นนั่นเอง อาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เนื่องด้วยเลือด
ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจรู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เพราะขาดเลือด อาการอ่อนเพลีย
หายใจเหนื่อย ย่อมเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้การขาด CoQ10 ยังทำให้เกิดริ้วรอย เนื่องจากเซลล์ผิวหนัง
และกล้ามเนื้อ ชำรุดทรุดโทรมไป
 
เราจะสังเกตอาการขาด CoQ10 ได้อย่างไร ?
 
  นอกจากอาการใจสั่น หัวใจเต้นแรงผิดจังหวะแล้ว อาการอื่นที่พบบ่อยในภาวะขาด CoQ10 ก็คือ
เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง วิงเวียนศีรษะ ชีพจรเร็ว หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ชาปลายมือ ปลายเท้า
 
คุณประโยชน์ของ CoQ10 ในแง่การรักษาโรค
 
1. โรคหัวใจ : จากผลการทดลอง ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โดยจัดให้ผู้ป่วยได้รับ CoQ10
เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าระดับพลาสม่า CoQ10 สูงขึ้นถึง 3 เท่า
ดัชนีวัดค่าความหนาผนังกล้ามเนื้อหัวใจ (systolic wall thickening score index) สูงขึ้นทั้งในส่วนของ
rest and peak dobutamine stress echo โดยสูงขึ้น 12.1% และ 15.6% ตามลำดับ
 
2. โรคความดันโลหิตสูง : ในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดย Dr.Langsjoen ผู้ป่วยร้อยละ 51
มีอาการดีขึ้น มี Dias tolic pump มากขึ้น จนหยุดยาลดความดันโลหิตได้ ภายใน 4 เดือนหลังการ
ใช้ CoQ10 โดยเป็นการช่วยลดความดันไดแอสโตลิค (ตัวล่าง) ซึ่งน่าจะอธิบาย กลไกได้ว่า
เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับโคคิวเทนจนไม่เกิดอาการขาด คือ ทุกไมโตคอนเดรีย
ของเซลล์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ การหดตัวของหัวใจห้องบน (Atrium) ย่อมดีขึ้นด้วย
ทำให้หัวใจห้องขวาบน บีบเลือดลงสู่ห้องล่างได้มากขึ้น ส่งผลให้แรงดันในหลอดเลือดดำ ลดลง
มีผลให้เลือดแดงซึมถ่ายเทผ่านเนื้อเยื่อได้สะดวกขึ้น เป็นการลดปริมาณเลือดในหลอดเลือดแดง
ความดันในขณะหัวใจห้องล่างคลายตัว จึงลดลงด้วย อีกคำอธิบายหนึ่งของกลไกลดความดันด้วย CoQ10
คือ อธิบายด้วย Acetyl choline กับAdrenalineสองสิ่งที่กล่าว ออกฤทธิ์แรงแข็งขันพอๆ กัน
คือ ทำให้ร่างกายมีพลังมหาศาลชั่ววูบ เช่น ออกแรงวิ่ง ยกของหนัก ผลักสิ่งกีดขวางได้เกินกำลังปกติ
ซึ่งปัจจัยก่ออันหนึ่ง คือ จิตใจ หรืออารมณ์ ในยามอารมณ์สงบ จิตใจดี Acch หรือ Acetyl choline
จะเป็นตัวหลั่งทำให้แรงดีกระปรี้กระเปร่า รับสิ่งเร้าอย่างสร้างสรรค์ ความดันไม่ขึ้น แต่ในยามรบ
ไม่สบอารมณ์ หรือต๊กกะใจ ไม่สบอารมณ์ หรือต๊กกะใจ Adrenaline ก็หลั่งเกิดพลังชั่ววูบ
และเป็นวูบที่ความดันเลือดขึ้นมาด้วย ทีนี้เราทราบว่า CoQ10 เป็นผู้ร่วมก่อสร้าง Acetylcholine
จากสารตั้งต้น คือ โคลีน พอขาด CoQ10 ก็พาดพิงไปถึงการขาด Acch ตัวควบคุมความดัน Adrenaline
ก็เลยออกฤทธิ์โดด คือ ความดันขึ้น พอได้ปัจจัยต้านกลับมาก็ดีขึ้น ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร
ผลวิจัยที่รายงานไว้ คือ ใช้ CoQ10 ช่วยลดความดันเลือดตัวล่างได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
อีกบทบาทของ CoQ10 คือ ในฐานะ Antox ช่วยลดพิษ ต้าน OS ที่จะมากระทำต่อ LDL
เช่นเดียวกับ OPC glutathione ในกรณีนี้ OPC หรือ CoQ10 มิได้เป็นตัวลดความดันเลือดโดยตรง
แต่เป็นบทบาทปกป้องปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการตีบแข็งของหลอดเลือด
ภาวะที่หลอดเลือดตีบแข็ง = ไม่ยืดหยุ่น ย่อมเป็นปัจจัยก่อความดันเลือดเพิ่มนั่นเอง
 
3. โรคทาลัสซีเมีย : สำหรับผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมีย ผลการทดลองของคณะแพทย์ศิริราช พบว่าการได้รับ
CoQ10 เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือนติดต่อกัน
จะช่วยลด oxidative stress ทำให้การต้านอนุมูลอิสระ ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
 
4. เหงือกอักเสบ : ก็มีรายงานถึงผลตอบรับที่ดีต่อ CoQ10
 
5. ผลข้างเคียงจากยาลดไขมัน (statin) : นอกเหนือไปจากบทบาทในการรักษาโรคหัวใจแล้ว CoQ10
ยังจำเป็นต่อผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน หรือยาลดระดับ โคเลสตอรอลในเลือด เพราะยาลดไขมันมักหยุดยั้ง
กระบวนการสร้าง CoQ10 ก่อเกิดภาวะขาด CoQ10 รุนแรง
   ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาลดไขมัน (statin drug therapy) มักพบอาการข้างเคียง
ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า (fatigue) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (myalgia) หายใจติดขัด
หายใจลำบาก (dyspnea) ความจำเสื่อม (memory loss) หรืออาการชา (peripheral neuropathy)
แต่เมื่อได้รับ CoQ10 เพิ่มเติม ในปริมาณ 240 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 12 -22 เดือน พบว่า CoQ10
สามารถช่วยลดอาการข้างเคียงต่างๆ อย่างได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากเดิมที่พบว่ามีอาการอ่อนเพลีย
อ่อนล้า 84% เหลือเพียง 16% อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดจาก 64% เหลือเพียง 6% อาการหายใจลำบาก
ลดจาก 58% เหลือ 12% ความจำเสื่อมลดจาก 8% เหลือ 4% และอาการชาลดจาก 10% เหลือ 2%
   นอกเหนือจากซึมเศร้าแล้ว เขาเพิ่งค้นพบโรคแทรกซ้อนจาก Statin ที่จำเป็นต้องกิน เพื่อลดไขมัน
Cholesterol คือ โรคกล้ามเนื้อพิการ กล้ามเนื้อลีบ อ่อนระโหยโรยแรง ว่าเป็นเพราะขาดพลังงาน
ATP…ก็โยงไปถึงที่มาของการพร่องพลังงาน ว่าเพราะขาดตัวร่วมสร้างจุดประกาย ซึ่งก็หมายถึง CoQ10
ก็เป็นที่พิสูจน์ทราบได้ คือ พอให้ CoQ10 เสริม โรคนี้ก็หายไป แรงกายก็ดี จิตใจก็หายเศร้า
แพทย์โรคหัวใจ และหลอดเลือดส่วนใหญ่จะรู้จักมักคุ้นกับ CoQ10 เป็นอย่างดี
 
6. โรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม : เซลล์สมองก็มากด้วยไมโตคอนเดรีย เพราะต้องการพลังงานมาก
เช่นเดียวกับหัวใจและตับ ที่ใดมากไมโตคอนเดรียก็จำเป็นต้องมี CoQ10 ร่วม จุดประกายปริมาณมาก
อีกทั้ง CoQ10 ยังเป็นตัวคอยต้านอนุมูลอิสระรอบๆ ผนังเซลล์ มิให้เข้าไปทำลาย DNA
แน่นอนว่าหากขาด CoQ10 ไมโตคอนเดรียสูญเสียผู้ร่วมก่อสร้างพลังงาน สมองก็ทั้งล้า และเสียหาย มากๆ
เข้ารวมตัวแสดงออกมาเป็นโรคสมองเสื่อม การศึกษาพบว่า CoQ10 สามารถชะลอการเสื่อม
ของเซลล์สมอง ที่เกิดจาก oxidative stress โดย CoQ10 จะทำหน้าที่ stabilizing mitochondria
membrane ด้วยเหตุนี้ CoQ10 จึงเป็นทางเลือกของการรักษาผู้ป่วยโรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม
ได้แก่ โรคพาร์กินสัน โรค Friedreich's Ataxia ในโรคพาร์กินสัน (Parkinson) มือสั่นเดินส่าย
ซึ่งทางพยาธิวิทยาพบว่า เซลล์สมองเสื่อมแปรผันไปตลอดเวลา หากหยุดยั้งกระบวนการเสื่อมไม่ได้
อาการโรคก็กำเริบลุกลามเลวลง CoQ10 ซึ่งจำเป็นในกระบวนการทำงานของไมโตคอนเดรีย
แห่งเซลล์สมอง จึงเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีผลต่อต้านอาการเสื่อมของสมอง
ในการประชุมสมาคมแพทย์ประสาทสหรัฐ เมื่อตุลาคมปี 2545 หรือ ค.ศ.2002 มีมติให้ใช้ CoQ10
เป็นอาหารเสริมสำหรับโรคพาร์กินสันหากเป็นการรักษา เขาให้ใช้ขนาดสูงถึงวันละ 300 ถึง 1,200 มก.
แบ่งเป็น 4 มื้อข้อที่ดีมากๆ คือ แทบไม่พบพิษอาการข้างเคียงใดๆในปี 2549 USF DA ยินยอมให้ใช้
CoQ10 เป็นยาป้องกันโรค Parkinson
 
7. เป็น Cellular burn ในการลดความอ้วนและต้านอนุมูลอิสระ
 
8. เป็น Antox ช่วยให้ผิวสดใส…ชลอชรา
 
9. ปี 2547 นักวิจัยจาก บ.Thomas Jefferson เมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐฯ รายงานผลการศึกษาว่า
มีหลักฐานมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าโรคไมเกรน อาจจะเกิดจากสาเหตุ ไมโตคอนเดรียในเซลล์สมองเสียหาย
และพบว่าการให้ CoQ10 อาจช่วยป้องกันโรคไมเกรนได้
 
บทบาทในอนาคตของ CoQ10
 
   มีความหวังว่า CoQ10 น่าจะเป็นกองหน้าแห่งยุค ของการปฐมพยาบาลในระดับเซลล์ หรือ เป็นสารหลัก
ในการต่อต้านโรคภัย ด้วยวิถีทางชีวเคมีภายในเซลล์ ยังมีความคืบหน้าเมื่อพบว่า
ผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านมะเร็ง Adriamycin รวมถึงผู้ป่วยเอดส์ มักมีภาวะขาด CoQ10 ร่วมด้วย
  Dr.Langjoen กล่าวว่า “สำหรับคนปกตินั้นอาจเป็นค่าโง่ ในการกิน CoQ10 เพื่อป้องกันอาการขาด
(ด้วยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประโยชน์จริงหรือไม่เพียงไร) แต่น่าจะโง่ยิ่งกว่าหากผู้ป่วยที่พร่อง
CoQ10 แล้วไม่หาเติมเข้าไป!”
 
สรุป การได้รับ CoQ10 เพิ่มเติม เหมาะสำหรับ
 
1. ผู้สูงอายุ และผู้ที่อายุเกิน 21 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้มีภาวะขาด CoQ10
2. ผู้ป่วยโรคหัวใจ
3. ภาวะความดันโลหิตสูง
4. ผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมีย ลิวคีเมีย
5. ภาวะเหงือกอักเสบ
6. ผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน / ยาลดระดับโคเลสตอรอล
7. ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและโรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม
8. ริ้วรอย ชลอชรา
9. อ้วน เบาหวาน
10. นักกีฬาหรือผู้ที่ต้องใช้พลังงานมาก
11. ผู้ที่มีอาการชัก (stroke)
12. ผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะพร่องโคคิวเทน
 
เอกสารอ้างอิง :
1. Belardinelli R, et al (2005) Coenzyme Q10 improves contrac tility of dysfunctional in
chronic myocardium heart failure, Biofac tors, 25 (1-4) p. 137-45
2. Cooper JM, et al (2003) Friedreich’s Ataxia: disease mecha nisms, antioxidant and
Coenzyme Q10 therapy, Biofactors; 18 (1-4) p. 163-71
3. Ely, JTA (2000) A Brief Update on Ubiquinone (Coenzyme Q10), Journal of Orthomolecular
Medicine 2000; 15(2) p. 63-68
4. Ferrante KL, et al (2005) Tolerance of high-dose (3,000 mg/day) coenzyme Q10 in ALS,
Neurology, Dec 13; 65(11) p. 1834-6
5. Hathcock JN, et al (2006) Risk Assessment for coenzyme Q10 (Ubiquinone), Regul Toxicol
Pharmacol, Aug; 45(3) p.282-8
6. Kalpravidh RW et al (2005) Effect of coenzyme Q10 as an antioxidant in
beta-thalassemia /Hb E patients, Biofactors, 25 (1-4): p. 225-34
7. Langsjoen, PH (1994) Introduction to Coenzyme Q10. Available on the website
http://faculty.washington.edu/~ely/coenzq10.html
8. Langsjoen, PH, et al (2005) Treatment of statin adverse effects with supplemental
CoenzymeQ10 and statin drug discontinuation, Biofactors,25(1-4) p.147-52
9. Littarru GP, Tiano L. (2005) Clinical aspects of coenzyme Q10: an update, Curr Opin Clin
Nutr Metab Care, Nov; 8(6) p.641-6
10. Somayajulu M, et al (2005) Role of mitochondria in neuro nal cell death induced by
oxidative stress; neuroprotection by Coenzyme Q10, Neurobiol Dis. Apr; 18 (3) p. 618-27
11. ลดความดันเลือดด้วยตนเอง :พลเอกประสาน เปรมะสกุล ISBN 974-90858-7-6
12. King of Herbs : ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน ISBN 978-974-06-7570-9
13. รู้สู้โรค : ศ.นพ.เฉลียว ปิยะชน ISBN 974-409-833-3
14. หลอดเลือดแข็งตีบตันป้องกันได้ : ศ.นพ.เฉลียว ปิยะชน ISBN 974-409-792-2
 
คัดลอกบางส่วนจาก : http://www.mmc.co.th/mmcj/index.php/2009-05-28-06-30-32/47-6211
-co-q10-coenzymeq10.html
 

 
 
 
 
aaa