|
|
ความเป็นมาของทุเรียน |
|
ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคน
จัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Bombacaceae) ก็ตาม) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้
ผลทุเรียนมีขนาดใหญ่และมีหนามแข็งปกคลุมทั่วเปลือก อาจมีขนาดยาวถึง 30 ซม.
และอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวถึง 15 ซม. โดยทั่วไปมีน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม ผลมีรูปรีถึงกลม
เปลือกมีสีเขียวถึงน้ำตาล เนื้อในมีสีเหลืองซีดถึงแดง แตกต่างกันไปตามสปีชีส์
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วยเอสเทอร์ คีโตน
และสารประกอบกำมะถัน บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรง
จนถึงขั้นสะอิดสะเอียน ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้ามาในโรงแรม และการขนส่งสาธารณะ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและไขมัน
จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นเบาหวาน |
|
คำว่า ทุเรียน (durian) มาคำจากภาษามาเลย์ คือคำว่า duri (หนาม) มารวมกับคำต่อท้าย -an
(เพื่อสร้างเป็นคำนามในภาษามาเลย์) D. zibethinus เป็นเพียงชนิดเดียวที่มีการปลูกเลี้ยง
ในเชิงการค้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ และนอกถิ่นกำเนิด ในทุเรียนชนิด zibethinus
ได้ชื่อมาจากชะมดอินเดีย (Viverra zibetha) มีความเชื่อแต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน
ว่าชื่อนี้ตั้งโดยลินเนียสซึ่งมาจากชะมดชอบทุเรียนมากจนมีการนำไปเป็นเหยื่อล่อ
ในการดักจับชะมด หรืออาจเป็นเพราะทุเรียนมีกลิ่นคล้ายชะมด |
|
ทุเรียนนั้นมีมากกว่า 30 ชนิด แต่มีเพียง 9 ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ ซึ่งได้แก่
ซึ่งมีดังนี้ Durio zibethinus, Durio dulcis, Durio grandiflorus,
Durio graveolens, Durio kutejensis, Durio lowianus, Durio macrantha,
Durio oxleyanus และ Durio testudinarum แต่มีเพียงสายพันธุ์ Durio zibethinus
ชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และชนิดนี้ก็แบ่งแยกย่อยไปอีกมากกว่า 200 สายพันธุ์
โดยสายพันธุ์ได้รับความนิยมและปลูกกันมากก็คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง
และพันธุ์ก้านยาว เป็นต้น |
|
ทุรียนเป็นผลไม้ที่กลิ่นเฉพาะตัว โดยเนื้อในจะเหมือนคัสตาร์ด มีรสชาติคล้ายอัลมอนด์
สำหรับบางคนนั้นบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม แต่ในขณะที่บางคนกลับมองว่า มันมีกลิ่นเหม็น
รุนจนถึงขั้นสะอิดสะเอียนเลยทีเดียว (ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขาห้ามนำทุเรียนเข้าไปในโรงแรม
และการขนส่งสาธารณะ) ทุเรียนนั้นเราสามารถรับประทานทุเรียนได้ทั้งสุกและห่ามแล้วแต่คนชอบ
นอกจานี้ยังนำไปใช้ทำอาหารได้อย่างหลากหลาย แม้แต่เมล็ดก็รับประทานได้แต่ต้องทำให้สุกก่อน |
|
แต่ในโลกตะวันตกนั้น ทุเรียนกลับเป็นที่รู้จักมาเพียงระยะเวลา 600 ปีที่ผ่านมา โดยครั้งแรกสุดชาวยุโรป
รู้จักทุเรียนจากบันทึกของนิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccol? Da Conti) ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวไปใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงระยะเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 15 การ์เซีย เดอ ออร์ต้า (Garcia de Orta)
แพทย์ชาวโปรตุเกสได้บรรยายถึงทุเรียนใน Col?quios dos Simples e Drogas da India
(การสนทนาทั่วไปเกี่ยวกับยาจากอินเดีย) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2106 ใน Herbarium Amboinense
(พรรณไม้จากอองบง) ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อเกออร์จ เบเบอร์ฮาร์ด รัมฟิออซ
(Georg Eberhard Rumphius) ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2284 โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับทุเรียนที่มีการเขียนเกี่ยว
กับรายละเอียดไว้อย่างละเอียด ว่าทุเรียนเป็นพืชในสกุลทุเรียน (Durio) มีอนุกรมวิธานที่ซับซ้อน
ซึ่งจะเห็นได้จากการที่มีการลบและการเพิ่มพืชหลาย ๆ ชนิดลงไปในสกุลนี้ ตั้งแต่โดยรัมฟิออซ
ตั้งสกุลทุเรียนขึ้นมา ในช่วงแรกมีการศึกษาเกี่ยวกับอนุกรมวิธานของทุเรียนนั้น ยังมีความสับสน
ระหว่างผลไม้ 2 ชนิดคือทุเรียนและทุเรียนเทศเป็นอย่างมาก เพราะผลของผลไม้ทั้งสองชนิด
นี้เป็นผลไม้สีเขียวมีหนามเหมือนกัน และมีบันทึกที่น่าสนใจที่ชื่อภาษามาเลย์ของทุเรียนเทศคือ
Durian Belanda(ดูริยัน บะลันดา) ซึ่งแปลว่า ทุเรียนดัตช์ในคริสต์ศตวรรษที่ 18
โยฮันน์ อานทอน ไวน์มานน์ (Johann Anton Weinmann) ได้พิจารณาให้ทุเรียนเป็นสมาชิก
ของวงศ์ Castaneae ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับกระจับม้า |
|
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสได้นำทุเรียนชนิด D. Zibethinus เข้ามาสู่ซีย์ลอนและ
ได้มีการนำเข้ามาอีกหลายครั้งในภายหลัง ส่วนในทวีปอเมริกามีการปลูกทุเรียนเช่นกัน
แต่ถูกจำกัดอยู่แค่ในสวนพฤกษศาสตร์เท่านั้น ต้นกล้าต้นแรกถูกส่งจากสวนพฤกษศาสตร์หลวง
สู่เมืองคิวมาสโอกูสต์ เซนต์-อาร์โรมอง (Auguste Saint-Arroman) แห่งโดมินิกาในปี พ.ศ. 2427
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการเพาะปลูกทุเรียนในท้องถิ่นมามากกว่าศตวรรษแล้ว
ตั้งแต่ช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และมีการปลูกในเชิงพาณิชย์ ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20
ใน My Tropic Island (เกาะเมืองร้อนของฉัน) ของ เอ็ดมันด์ เจมส์ แบนฟีลด์ (Edmund James Banfield)
นักประพันธ์และนักธรรมชาติวิทยาชาวออสเตรเลีย กล่าวว่าในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
เพื่อนของเขาจากประเทศสิงคโปร์ส่งเมล็ดทุเรียนมาให้ เขาทำการปลูกและดูแลอยู่บนเกาะเขตร้อน
ของเขานอกชายฝั่งตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์
ในปี พ.ศ. 2492 อี.เจ.เอช. คอร์เนอร์ (E.J.H. Corner) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ
ได้ตีพิมพ์ The Durian Theory, or the Origin of the Modern Tree
(ทฤษฎีทุเรียนหรือต้นกำเนิดของต้นไม้ยุคใหม่) ทฤษฎีของเขากล่าวถึงการแพร่กระจายของเมล็ดพันธุ์
ที่แพร่กระจายโดยสัตว์ (เป็นการล่อให้สัตว์เข้ามากินผลไม้และลำเลียงเมล็ดไปในกระเพาะของสัตว์)
เกิดขึ้นก่อนวิธีอื่นในการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ และบรรพบุรุษดั้งเดิมของผลไม้สกุลทุเรียนใช้
วิธีนี้ในการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีแรกสุด โดยเฉพาะในทุเรียนแดง
ซึ่งเป็นตัวอย่างผลไม้โบราณของพืชดอก ตั้งแต่ช่วงต้นของช่วงปี พ.ศ. 2533 ความต้องการทุเรียน
ภายในประเทศและในระดับสากลในพื้นที่ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพิ่มขึ้นอย่างมาก บางส่วนนั้นเกิดจากความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในเอเชีย |
|
สรรพคุณของทุเรียน
- ช่วยทำให้ฝีแห้ง (เนื้อทุเรียน)
- สรรพคุณทุเรียนช่วยแก้โรคผิวหนัง (เนื้อทุเรียน)
- สารสกัดจากใบและรากทุเรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ ด้วยการใช้น้ำจากใยวางบนศีรษะ
ของผู้ป่วยจะช่วยลดไข้ได้ (ราก,ใบ)
- ทุเรียน สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องร่วง (ราก)
- สรรพคุณของทุเรียนช่วยขับพยาธิ (ใบ,เนื้อทุเรียน)
- ทุเรียน สรรพคุณทางยาช่วยแก้ดีซ่าน (ใบ)
- ช่วยทำให้หนองแห้ง (ใบ)
- ช่วยแก้ตานซาง (เปลือก)
- ช่วยรักษาโรคคางทูม (เปลือก)
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (เปลือก)
- ช่วยแก้ฝี (เปลือก)
- ช่วยรักษาแผลพุพอง (เปลือก)
- ใช้สมานแผล (เปลือก)
- เปลือกทุเรียนใช้ไล่ยุงและแมลง (เปลือก) |
|
ประโยชน์ของทุเรียน
- ทุเรียนพันธุ์หมอนทองสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้
เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้
แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน (นพ.กฤษดา ศิรามพุช)
- เนื่องจากทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง) การบริโภคทุเรียนในปริมาณ
ที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
- แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
- เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น
- ประโยชน์ทุเรียน ผลสามารถนำมาแปรรูปหรือทำเป็นขนมหวานได้หลายชนิด
เช่น ลูกกวาดโบราณ, ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมปังสอดไส้, ไอศกรีม, มิลก์เช็ก,
เค้ก, คาปูชิโน, ข้าวเหนียวทุเรียน, เต็มโพยะก์, ทุเรียนดอง, ทุเรียนแช่อิ่ม,
ทุเรียนกวน, ทุเรียนกรอบ, แยมทุเรียน ฯลฯ
- ทุเรียน ประโยชน์เมล็ดของทุเรียนสามารถรับประทานได้มานำมาทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว
การทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือการนึ่ง โดยเนื้อในจะมีลักษณะคล้ายกับเผือกหรือมันเทศแต่เหนียวกว่า
- ใบอ่อนหรือหน่อของทุเรียนสามารถนำมาใช้ทำอาหารบางอย่างคล้ายกับผักใบเขียวได้เช่นกัน
- เปลือกทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรวมควันปลา
- ประโยชน์ของทุเรียน เปลือกสามารถนำมาผลิตทำเป็นกระดาษได้ ซึ่งจะมีเส้นใยเหนียวนุ่ม
และเหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา
- ในประเทศอินโดนีเซียมีการนำดอกทุเรียนรับประทาน
- สำหรับความเชื่อในบ้านเรานั้น การปลูกต้นทุเรียนไว้ในบริเวณบ้าน
(ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) เชื่อว่าผู้อยู่อาศัยจะเป็นผู้มีความรู้
แก่วิชาการเรียน หรือเป็นผู้รู้มาก เพราะคำว่าทุเรียนมีเสียงพ้องกับเกี่ยวกับการเรียนนั่นเอง |
|
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทุเรียนต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 174 กิโลแคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม
- เส้นใย 3.8 กรัม ไขมัน 5.33 กรัม
- โปรตีน 1.47 กรัม วิตามินเอ 44 หน่วยสากล
- วิตามินบี1 0.374 มิลลิกรัม 33%
- วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม 17%
- วิตามินบี3 1.74 มิลลิกรัม 7%
- วิตามินบี5 0.23 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี6 0.316 มิลลิกรัม 24%
- วิตามินบี9 36 ไมโครกรัม 9%
- วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม 24%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่
(ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database) |
|
คัดลอกบางส่วนจาก : - http://th.wikipedia.org/wiki/ทุเรียน สารานุกรมโลก ภาคภาษาไทย
- http://frynn.com/ทุเรียน
อ้างอิงจากแหล่ง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN),
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/durian/history/
คลังข้อมูลสารสนเทศระดับภูมิภาค (ภาคใต้)
โดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) |
|
|
ผลิตโดย : มาวาลิค ฟู้ด / ภูพระยาสมุนไพร , ไทยเทสต์ , รอยัลสยาม , รอยัลโกลด์เด้น , โดเรียน , กาแฟทุเรียน , ทุเรียนกาแฟ |
Liu , หลิว , Durian , โดเรี่ยน , ทองทิพย์ , กาแฟทุเรียน , ทุเรียนกาแฟ , ทุเรียนผสมกาแฟ , บ้านขนม , ร้านทองทิพย์ของฝาก |
|
|