|
สรรพคุณของพลูคาว |
|
พลูคาว : หรือที่เรียกกันว่า ผักคาวตอง หรือก้านตอง เป็นไม้เลื้อยล้มลุก เป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู
แต่อายุอยู่ได้หลายปี ขึ้นอยู่ตามแถวภาคเหนือ ลำต้นจะเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน รากแตกออกตามข้อ
ทั้งต้นมีกลิ่นคาวอย่างรุนแรง คล้ายปลาช่อน การขยายพันธุ์โดยปักชำ ชอบขึ้นตามริมห้วย
หรือที่ชื้นแฉะริมน้ำมีร่มเงาเล็กน้อยในสภาพอากาศที่เย็น |
|
สรรพคุณ : - รักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะเกี่ยวกับมะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก
ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- เนื้องอกในสมอง โรคกามโรค โรคผิวหนัง
- ริดสีดวงทวาร โดยไม่ต้องผ่าตัด
- เพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาว รักษาอาการอักเสบต่าง ๆ เช่น ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ
หลอดลมอักเสบ ตาอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา หูชั้นกลางอักเสบ |
|
พลูคาวจะนำมาต้มโดยให้ผู้ป่วยดื่มบำรุงร่างกาย และใช้ร่วมกับการรักษาของคณะแพทย์โดยการฉายรังสี
ปรากฏว่า สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วยมะเร็งได้
ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้มากขึ้นทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น
และยืดอายุของผู้ป่วยได้นานขึ้นด้วย ซึ่งดีกว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว |
|
พลูคาวจึงนับได้ว่าเป็นพืชที่เป็นความหวังสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเป็นอย่างมาก
และนอกจากโรคมะเร็งแล้วยังสามารถ รักษาโรคอื่น ๆ ได้อีก |
|
ที่มา : ขจรพรรณ ชัยเดช Team Content www.thaihealth.or.th |
|
|
|
มะเร็งปากมดลูก คืออะไร |
|
มะเร็งปากมดลูก หมายถึง ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูก ช่องคลอด และช่องปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกมักจะเกิดในหญิงอายุประมาณ 50 ปี
อีกทั้งผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวนมากจะเป็นผู้หญิง
ที่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งครรภ์เร็ว คลอดบุตรหลายครั้ง และผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HPV
แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้ โรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มที่จะเกิดกับหญิงที่อายุยังน้อยอีกด้วย |
|
อัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงแค่ไหน ?
มะเร็งปากมดลูกมีอัตราการเกิดโรคเป็นอันดับสองในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหมดที่เกิดกับเพศหญิง
ทุกปีมีโรคมะเร็งปากมดลูก 53,000
รายเกิดใหม่ทั่วโลก ซึ่ง 85% มาจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา |
|
สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกคืออะไร ?
โรคมะเร็งปากมดลูกเกือบ 70% เกิดจากเชื้อไวรัส HPV รองลงมาคือการสูบบุหรี่ และภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง
อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
ที่มาเกี่ยวพันกันก็สามารถทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ |
|
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การติดเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia infectious)
ความเคยชินในการบริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มักสัมผัสหรือใช้ยาที่มีฮอร์โมน มีประวัติทางครอบครัวเป็นมะเร็งปากมดลูก
มักกินยาคุมกำเนิด มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งครรภ์เร็ว คลอดบุตรหลายครั้ง เป็นต้น
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ |
|
โรคมะเร็งปากมดลูกมีอาการแสดงอย่างไร ?
- ประจำเดือนมาผิดปกติหรือเมื่อหมดประจำเดือนแล้วยังมีเลือดออกทางช่องคลอด
- น้ำคัดหลั่งจากช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น น้ำคัดหลั่งจะมีสีขาวหรือปนเลือด อีกทั้งมีกลิ่นเหม็นคาว
- มีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่และท้องผูก เป็นต้น
- มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในส่วนต่างๆ ของร่างกายที่แตกต่างกัน
- ซูบผอม โลหิตจาง เป็นไข้ และเกิดภาวะอ่อนเปลี้ยทางร่างกาย เป็นต้น |
|
วิธีรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกแบบดั้งเดิมคืออะไร ?
1. การตัดมดลูกทิ้งเป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกที่ค่อนข้างพบบ่อย ซึ่งได้แก่
1.1 การตัดมดลูกทิ้งทั้งหมด : โดยผ่าตัดปากมดลูกและมดลูกทิ้งทั้งหมด
1.2 การตัดมดลูกทิ้งแบบถอนรากถอนโคน : โดยผ่าตัดปากมดลูก มดลูก ช่องคลอดส่วนบน รังไข่ ท่อนำไข่
และต่อมน้ำเหลืองที่มีการลุกลาม เป็นต้น |
2. การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายรังสี มีข้อดีคือ คลื่นรังสีมีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
แต่มีข้อเสียคือ มีผลกระทบต่อสมรรถนะรังไข่ของหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน
3. การรักษามะเร็งปากมดลูกแบบเคมีบำบัด เป็นวิธีการรักษามะเร็งด้วยยาเคมี เหมาะสำหรับมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย
และมะเร็งปากมดลูกที่กลับมาเกิดซ้ำ แต่จะเกิดอาการข้างเคียงค่อนข้างหนักในระหว่างการรักษา
ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ร่างกายอ่อนแอนั้นจะทนไม่ค่อยไหว |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.chularatcancercenter.com/?p=201&lang=th
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : ศูนย์มะเร็งตรงเป้า โรงพยาบาลจุฬารัคฃตน์ 9 แอร์พอร์ต |
|
|
|
ทางเดินปัสสาวะอักเสบ |
|
ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หากเกิดบริเวณกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
อาจทำให้รู้สึกแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือมีเลือดปน ปวดท้องน้อยหรือบริเวณหัวหน่าว
และปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ แต่หากเกิดการอักเสบบริเวณไตและท่อไต
นอกจากจะมีอาการเหมือนกับที่พบในทางเดินปัสสาวะส่วนล่างแล้ว
ผู้ป่วยอาจมีไข้สูง หนาวสั่น และมีอาการปวดเอวร่วมด้วย |
|
ระบบทางเดินปัสสาวะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทางเดินปัสสาวะตอนบน ซึ่งเป็นส่วนของไตและท่อไต
และทางเดินปัสสาวะตอนล่าง ซึ่งเป็นส่วนของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
โดยอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะที่มักเกิดการอักเสบ
คือ กระเพาะปัสสาวะ และในทางการแพทย์มักเรียกภาวะนี้ว่า
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ |
|
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อยทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งมักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
โดยเฉพาะในช่วงวัยเจริญพันธุ์
เพราะด้วยลักษณะทางกายภาพของเพศหญิงที่มีท่อปัสสาวะสั้นกว่าเพศชาย
ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคและติดเชื้อได้ง่ายกว่า
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะติดเชื้อโรคได้ง่ายจากช่องคลอด อุจจาระ
และจากการมีเพศสัมพันธ์ |
|
สาเหตุของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง ได้แก่
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
- การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- การตั้งครรภ์ |
|
แม้ผู้หญิงจะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ แต่โรคนี้ก็มีโอกาสเกิดกับผู้ชายได้เช่นกัน
- โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบในผู้ชาย ได้แก่
- มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากโต หรือต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นต้น
- ผู้ที่ไม่ได้ขลิบอวัยวะเพศ ซึ่งก่อให้เกิดการหมักหมมของเชื้อโรคได้
- ผู้ที่ไม่ได้ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์
- ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี |
|
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบทั้งในผู้หญิงและผู้ชายได้ เช่น
- เป็นนิ่วในไต และมีการกีดขวางต่าง ๆ ในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งทำให้ปัสสาวะขัดและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย
- เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงมากในการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เพราะระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
และภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงก็เป็นอันตรายต่อระบบการทำงานของไต
- มีความผิดปกติทางกายภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติแต่กำเนิด
หรือเกิดความผิดปกติในภายหลัง
เช่น เกิดแผลเป็นหลังจากรับการผ่าตัดบริเวณไต
จนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
- ใช้หลอดสวนในผู้ป่วยที่ต้องสวนปัสสาวะ โดยการสอดสายสวนผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อระบายปัสสาวะออกมา
จากร่างกายนั้น มีโอกาสนำเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้โดยตรง
แพทย์จึงพิจารณาทำการรักษาลักษณะนี้เฉพาะในผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นเท่านั้น |
|
การป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- ดื่มน้ำมาก ๆ 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยขับแบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่อยู่ในร่างกายออกมาได้
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์
- ไม่ควรอั้นปัสสาวะนาน ๆ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะควรปัสสาวะในทันทีและปัสสาวะให้สุด
- ควรปัสสาวะทั้งก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้แบคทีเรียถูกขับออกจากร่างกาย
หรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หากกำลังรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดให้ถูกวิธี ด้วยการเช็ดจากทางด้านหน้าไปด้านหลัง
- หากมีเพศสัมพันธ์ ควรใข้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีภาวะช่องคลอดแห้ง เพื่อป้องกันการฉีกขาด
หรือหากเป็นแผล
จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- สำหรับผู้ชายที่ไม่ได้ขลิบหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศชายออก ให้หมั่นทำความสะอาดอย่างถูกต้องเป็นประจำ
- ควรใส่ชุดชั้นในที่สะอาดและทำจากเนื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น เช่น ผ้าฝ้าย ไม่ใส่กางเกงที่รัดรูปเกินไป
หรือระบายอากาศยาก เช่น กางเกงยีนส์
- สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มจะกลับมาเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้การคุมกำเนิดแบบหมวกยางกั้นช่องคลอด
เพราะเป็นที่สะสมของแบคทีเรีย ควรมองหาการคุมกำเนิดวิธีอื่น ๆ
- ผู้หญิงไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องคลอด เช่น สบู่ น้ำหอม หรือแป้ง
ที่อาจมีสารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
- ไม่ควรแช่น้ำในอ่างอาบน้ำนานเกิน 30 นาที |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/ทางเดินปัสสาวะอักเสบ-2 |
|
|
|
|