|
|
อัญชัน (อังกฤษ: Asian pigeonwings; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.) เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่)
และเอื้องชัน (เหนือ)เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า |
|
อัญชันมีลักษณะเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก
เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร
ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม |
|
สรรพคุณ : ดอก สกัดสีมาทำสีผสมอาหาร ช่วยปลูกผมทำให้ผมดำขึ้น
เมล็ด เป็นยาระบาย
ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ
นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา |
|
ที่มาของข้อมูล : www.thaiwikipedia.com ค้นหาคำว่า "อัญชัน" |
|
|
|
ความหมาย ตามัว |
|
ตามัว (Blurred Vision) คืออาการที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและอาจเกิดขึ้นได้พร้อมกันทั้ง 2 ข้าง
โดยสาเหตุหลักอาจมีผลจากความผิดปกติของดวงตา ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการสวมแว่นตา เช่น ภาวะสายตาสั้น สายตายาว
สายตาเอียง หรือสายตายาวตามอายุ เป็นต้น ทั้งยังอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด หรือผลกระทบจากโรคอื่น
เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคไมเกรน อาการตามัวอาจทำให้ดวงตาแดง ระคายเคืองและไวต่อแสง หรืออาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดศีรษะได้อีกด้วย |
|
อาการของตามัว
- มีขี้ตา มีน้ำตามาก หรืออาจมีเลือดออกจากดวงตา
- ตาแห้ง คันตา หรือเจ็บตา
- เห็นจุดหรือมีเส้นใยบาง ๆ ในดวงตา
- เส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก
- อาการตากลัวแสงหรือไม่สู้แสง
- การมองเห็นไม่ชัดเจนในระยะใกล้ หรือในตอนกลางคืน
- สายตาส่วนกลาง หรือสายตาส่วนรอบเสียหาย |
|
สัญญาณของอาการตามัวที่ควรพบแพทย์
- เจ็บตามาก
- บริเวณตาขาวเริ่มเป็นสีแดง
- ปวดศีรษะมาก
- ใบหน้าบิดเบี้ยว
- พูดลำบากหรือติดขัด
- ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่งได้
- มีปัญหาในการมองเห็น หรือสูญเสียการมองเห็นบางส่วนหรือทั้งหมดชั่วคราว |
|
สาเหตุของอาการตามัว
- ตาแห้ง หรือมีแผลบริเวณดวงตา
- การบาดเจ็บบริเวณดวงตา
- กระจกตาถลอก หรือรอยแผลเป็นบนกระจกตา
- จอตาติดเชื้อ
- โรคเส้นประสาทตาอักเสบ
- โรคจอประสาทตาเสื่อม ส่งผลโดยตรงต่อจอประสาท ซึ่งทำให้ความสามารถในการมองเห็น
และการตอบสนองต่อแสงลดลง ผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นจนอาจทำให้ตาบอดได้
- ภาวะสายตายาวตามอายุ ส่งผลให้ความสามารถในการโฟกัสลดลง
- คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาดหรือเสียหายอาจทำให้เกิดอาการตามัวได้
- โรคต้อหิน แรงดันในดวงตาที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เส้นประสาทตาเสียหายและก่อให้เกิดโรคต้อหินได้
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคต้อกระจก ส่งผลให้เลนส์ตาขุ่นมัวได้
- โรคไมเกรน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตามัวก่อนที่อาการไมเกรนจะเริ่มต้นขึ้น
- ภาวะเบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการตามัวได้หากระดับน้ำตาลไม่คงที่
- อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
|
การป้องกันอาการตามัว
- สวมแว่นกันแดดตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่แจ้ง หรือแว่นตาป้องกันขณะทำงานในบริเวณที่มีสารเคมีหรือฝุ่นละออง
เช่น การทาสี หรือการซ่อมบ้าน เป็นต้น
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา เช่นผักใบเขียว ผักสีม่วง หรือเนื้อปลา
ซึ่งมีส่วนประกอบของกรดไขมันโอเมก้า 3
- งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง
- ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ และทำความสะอาดแว่นตา
หรือคอนแทคเลนส์อยู่เสมอ
เนื่องจากคราบไขมันหรือสิ่งสกปรกอาจเกาะอยู่บนเลนส์และทำให้เกิดอาการตามัวได้
ทั้งยังควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับน้ำยาแช่
หรือล้างคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมกับเลนส์แต่ละประเภท
- กรณีที่เข้ารับการตรวจตาและไม่พบความผิดปกติ ผู้ป่วยอาจใช้ยาหยอดตาเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับดวงตาได้
โดยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเพื่อความปลอดภัย |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/ตามัว |
|
|
|
สีผสมอาหาร |
|
สีผสมอาหาร (อังกฤษ: Food coloring) เป็นสีย้อม สารสีหรือสารใด ๆ ที่ให้สีเมื่อเพิ่มในอาหารหรือเครื่องดื่ม
มีหลายรูปแบบทั้งของเหลว ผง เจลและสีป้าย สีผสมอาหารใช้ทั้งในการผลิตอาหารเชิงพาณิชย์
และในการประกอบอาหารในบ้าน เนื่องจากความปลอดภัยและหาได้ทั่วไป สีผสมอาหารยังใช้ประโยชน์
นอกเหนือจากอาหารได้หลายอย่าง
รวมถึงเครื่องสำอาง ยา โครงการงานทำมือและอุปกรณ์การแพทย์ |
|
ความสำคัญของสีผสมอาหาร
- ช่วยแก้ไขสีของอาหารที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสีตามธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงขณะแปรรูปหรือเก็บรักษาอาหาร
- ช่วยเพิ่มหรือเน้นหรือรักษาความเป็นเอกลักษณ์สีของอาหาร
- ช่วยสีสันของอาหารทำให้ดึงดูดความสนใจที่น่ารับประทานแก่ผู้บริโภค |
|
คุณสมบัติของสีผสมอาหาร
- ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและไม่ก่อให้เกิดอันตรายในอาหาร (food hazard)
- ไม่ทำให้สมบัติของอาหารเปลี่ยนไปในทางที่เลวลง
- ให้ความเข้มของสีสูง
- มีความคงตัวในอาหาร
- ไม่เกิดปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้
- ใช้เติมลงในผลิตภัณฑ์ได้ง่าย
- มีราคาเหมาะสม |
|
การใช้ประโยชน์สีผสมอาหาร
- การใช้สำหรับแต่งอาหารทั่วไปที่ไม่มีสี เพื่อให้มีสีเป็นที่ดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น เครื่องดื่มหรือเครื่องดื่มผง
ลูกกวาด ไอศกรีม แยม เยลลี่ เป็นต้น
- การใช้แต่งอาหารที่มีสูญเสียหรือเปลี่ยนแปลงสีระหว่างกระบวนการผลิต และการเก็บรักษา
เช่น การผสมสีผสมอาหารในเบียร์ น้ำเชื่อม
และอาหารอบ เป็นต้น
- การใช้แต่งอาหารที่มีสีเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล และสภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้แต่งสีน้ำนมวัวที่ผลิตได้
ในฤดูหนาวให้มีสีเข้มขึ้น
เพราะน้ำนมวัวในฤดูหนาวจะมีสีอ่อนเนื่องจากได้รับสารเบต้าแคโรทีนจากหญ้า
ในปริมาณน้อย ขณะที่น้ำนมวัวในฤดูร้อนมักมีสีเหลืองเข้ม
เนื่องจากได้รับบีตาแคโรทีนในหญ้าที่มีมากกว่าหญ้าในฤดูหนาว |
|
ประเภทของสีผสมอาหาร |
1. สีสังเคราะห์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 สีอินทรีย์สังเคราะห์ (certified color หรือ synthetic colorant) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- สีสังเคราะห์ที่ละลายน้ำ แต่ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (dyes) เหมาะสำหรับอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ
- สีสังเคราะห์ที่ละลายได้ในน้ำมัน (lakes) เหมาะสำหรับอาหารประเภทไขมัร แบน้ำมัน
และไขมัน ส่วนสีสังเคราะห์ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร
ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์(ponceau4 R), คาร์โมอีซีน
หรือ เอโซรูบิน (carmosine or azorubine), เออริโทรซีน (erythrosine)
จัดอยู่ในกลุ่มของสีแดง ส่วนตาร์ตราซีน (tartasine), ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (sutset yellow FCF),
ไรโบฟลาวิน (riboflavin)
จัดอยู่ในกลุ่มของสีเหลือง ส่วนฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (fast green FCF)
จัดอยู่ในกลุ่มของสีเขียว ส่วนอินดิโกคาร์มีน
หรือ อินดิโกติน (indigocarmine or indigotine),
และบริลเลียนท์ บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (brilliant blue FCF) จัดอยู่ในกลุ่มของสีน้ำเงิน
1.2 สีสังเคราะห์เรียนแบบสารธรรมชาติ ได้แก่ บีตาแครอทีน, บีตา-อะโป-8-แครอทีนาล เป็นต้น |
|
2. สีจากธรรมชาติ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
2.1 สีอนินทรีย์ ได้แก่ ผงถ่าน ปูนขาว และไทเทเนียมไดออกไซด์ (titanium dioxide) เป็นต้น
2.2 สีที่สกัดได้จากธรรมชาติ (natural pigment) ได้แก่ สีที่สกัดจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ผัก ผลไม้ จุลินทรีย์ และสัตว์ |
|
เรียบเรียงและคัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สีผสมอาหาร
เรียบเรียงและคัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2950/food-color-สีผสมอาหาร |
|
|
|
|