|
|
ชื่อ : โกฐหัวบัว
ชื่ออื่น : ชวนซฺยง (จีนกลาง), ชวนเกียง (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Szechwan Lovage Rhizome
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Conioselinum univitatum Trucz
วงศ์ : Umbelliferae |
|
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย
โกฐหัวบัว มีกลิ่นหอม รสมัน สรรพคุณแก้ลมในกองริดสีดวง และกระจายลมทั้งปวง
(หมายถึงลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอน ๆ ทำให้ผายหรือเรอออกมา) ยาไทยมักไม่ใช้โกศหัวบัวเดี่ยว
แต่มักใช้ร่วมกับยาอื่นในตำรับ |
|
ตำรายาไทย : เหง้า แก้ลมในกองริดสีดวง กระจายลมทั้งปวง
(หมายถึงลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอนๆทำให้ผายออกมา) ขับลม แก้ปวดศีรษะ
ปวดข้อ ปวดกระดูก จีนใช้โกฐหัวบัวเป็นยาแก้หวัด แก้ปวดศีรษะ
แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ ปวดเจ็บต่างๆรวมทั้งปวดฟัน
อาเจียนเป็นเลือด ไอ วัณโรค โรคเข้าข้อ ตกเลือด |
|
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน
โกฐหัวบัว รสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด รักษาอาการปวดจากเลือดคั่ง
กระจายการตีบของเส้นเลือด (ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดประจำเดือน
ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด เจ็บชายโครงเจ็บบริเวณหัวใจ เจ็บหน้าอก เจ็บจากการฟกช้ำ
ช้ำบวมจากฝีหนอง) และมีฤทธิ์ขับลม บรรเทาปวด รักษาอาการปวดศีรษะ
อาการปวดจากการคั่งของชี่และเลือด |
|
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
โกฐหัวบัวมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด บรรเทาอาการปวดหลังคลอด
ช่วยให้รกหรือเนื้อเยื่อของมดลูกที่ตายแล้วถูกขับออกมาได้ดี
สารสกัดมีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของมดลูก ทำให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้น จึงไม่แนะนำให้ใช้
ขณะมีอาการปวดประจำเดือน หรือโรคที่เกี่ยวกับการตกเลือดอื่น ๆ |
|
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
มีรายงานการวิจัย พบว่าลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้และมดลูก ป้องกันการขาดออกซิเจนในเลือด
ต้านปวด ต้านการอักเสบ ขับประจำเดือน ขับเหงื่อ และช่วยทำให้ระยะเวลานอนหลับได้นานขึ้น |
|
แหล่งอ้างอิง
1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s
Republic of China. Vol.I. English Edition. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.
2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงศ์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2548.
3. เย็นจิตร เตชะดำรงสิน. การพัฒนาสมุนไพรแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2550.
4. Gong QF. Zhongyao Paozhi Xue. 2nd ed. Beijing: National Chinese Traditional
Medicine Publishing House, 2003.
5. Liu TS, Pan QP, Zhou YS, Wu ZY. XiuZhen Zhongyaoyinpian Caise Tuben.
1st ed. Hunan: Hunan Science & Technology Publishing House, 2006.
6. Huang KC. The pharmacology of Chinese herbs. 2nd ed. Boca Raton: CRC Press, 1993.
7. Bensky D, Gamble A. Chinese herbal medicine: Materia medica, Revised edition.
Washington: Eastland Press, 1993.
8. Ye DJ, Zhang SC, Huang WL, Pan SH, Gong QF, Chen Q. Processing of traditional
Chinese medicine. 7th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of
Traditional Chinese Medicine, 2001.
9. Li R. Rhizoma Chuan Xiong. In: Wang BX, Ma JK, Zheng WL, Qu SY, Li R, Li YK (eds.).
Modern study of pharmacology in traditional medicine. 2nd ed. Tianjin: Tianjin Science
& Technology Press, 1999.
10. มงคล โมกขะสมิต, กมล สวัสดีมงคล, ประยุทธ สาตราวาหะ. การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย.
ใน: ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชีวะพัฒน์, เอมมนัส อัตตวิชญ์ (คณะบรรณาธิการ).
ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยาของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2546.
11. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
|
|
|
โรคหลอดเลือดสมองตีบ |
|
โรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตร๊ก (Stroke) อาจฟังดูไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่าอัมพาต หลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี
เพราะพบมาขึ้นทุกวันในสภาวะความเครียดทางเศรษฐกิจปัจจุบัน อัมพาตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
แต่สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้สถิติตัวเลขของผู้ป่วยอัมพาตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคือ การที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง
เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่เป็นทางเดินของเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดอาการอัมพาตในระยะต่าง ๆ
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค |
|
อาการสมองขาดเลือด
อาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกัน แยกได้เป็น 3 ระดับ |
|
1. อาการน้อย คือ กลุ่มของผู้ที่มีหลอดเลือดสมองแตก หรือตีบตันเป็นหลอดเลือดขนาดเล็ก
ยังไม่เกิดการทำลายของเซลล์สมองในบริเวณนั้น
สมองขาดเลือดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้เกิดอาการซึ่งอาจเป็นวินาที
นาที หรือชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ลักษณะอาการประกอบด้วย กล้ามเนื้ออ่อนแรงจะเป็นที่แขนอย่างเดียว
ขาอย่างเดียว หน้าและแขน การเคลื่อนไหวช้าลง
ที่ใบหน้าจะเห็นมุมปากตก อมน้ำไว้ในปากไม่ได้ ความจำเสื่อมชั่วขณะ
คิดอะไรไม่ออก พูดไม่ชัด เป็นต้น |
2. อาการปานกลาง (อัมพฤกษ์) กลุ่มนั้นเซลล์สมองถูกทำลายไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ทั้งหมด ภายหลังการรักษาแล้ว
อาการอาจดีขึ้นเรื่อย ๆ
ภายใน 3-6 เดือน อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด นอกจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้ว
ผู้ป่วยจะสูญเสียการทรงตัวบางขณะ มีอาการตามัวครึ่งตา
หรือมืดไปข้างหนึ่ง สูญเสียความทรงจำ
และความสามารถในด้านการคิดคำนวณ การตัดสินใจ และมักมีอาการทางอารมณ์ร่วมด้วย
เช่น ซึมเศร้า หรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ |
3. อาการรุนแรง (อัมพาต) กลุ่มนี้เซลล์สมองถูกทำลายโดยถาวร จะเกิดการอ่อนแรงของแขนและขา ขยับแขนหรือขาเองไม่ได้
สูญเสียการทรงตัว พูดไม่ได้ หรือเปล่งเสียงออกมาจากลำคอไม่ได้ กล้ามเนื้อหน้าทำงานไม่เท่ากัน หนังตาตก กลอกตาไม่ได้
กลืนอาหารลำบาก ปฏิกิริยาตอบสนองช้า สูญเสียความทรงจำ เป็นต้น |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมองขาดเลือด
1. ความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140-80 มิลลิเมตรปรอท (ค่าปกติ 140-80 มิลลิเมตรปรอท)
จะทำให้สมองทำงานผิดปกติ หรือเกิดการแตกหรือตีบของหลอดเลือดสมอง
2. โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน เกิดเป็นอัมพาต
(หากตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้ามากกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มากกว่า 2 ครั้ง
อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน)
3. ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เป็นอัมพาตในเวลาต่อมา
4. สูบบุหรี่ ยิ่งสูบมากยิ่งเสี่ยงมาก เนื่องจากสารในบุหรี่หลายตัวเป็นตัวเร่งให้เกิดการระคายเคือง
ของผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตันขึ้นได้
5. ขาดการออกกำลังกาย
6. ความเครียด ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก หรือตีบตันเฉียบพลัน
7. โรคอ้วน |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/stroke
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ |
|
|
|
|