ประวัติของโรคเบาหวาน |
|
เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือร่างกายเกิดภาวะ
ดื้ออินซูลิน อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่อง
มาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกาย
เพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถ
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาก ในระยะยาวจะมีผลในการ
ทำลายหลอดเลือด ทำลายระบบประสาทส่วนปลาย ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย
ปี 2553 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 6,855 คน หรือวันละ 19 คน |
|
ประวัติของโรคเบาหวาน : ภาวะเบาหวานมีการค้นพบมานานแล้วในยุคโบราณของ อียิปต์ กรีซ โรม
และอินเดีย ในเบื้องต้นรายงานว่ามีอาการน้ำหนักลด ปัสสาวะบ่อยและปัสสาวะมีรสหวาน
จึงได้มีการแนะนำทางด้านอาหาร พ.ศ. 613 ชาวโรมันชื่อ Aretaeus ได้ทำการบันทึกอาการกระหายน้ำ
และปัสสาวะบ่อย โดยตั้งชื่ออาการว่า 'diabetes' ซึ่งมีความหมายใน ภาษาอังกฤษ: to flow through
ต่อมาในปี พ.ศ. 2218 Thomas Willis แพทย์ชาวอังกฤษได้กล่าวถึงรสหวานในปัสสาวะในชื่อของ
'mellitus' ซึ่งหมายถึง 'honeylike' ในที่สุดการแพทย์ในยุคนั้นได้เสนอแนะว่าสาเหตุของโรค
เบาหวานเกี่ยวข้องกับการแทนที่คาร์โบไฮเดรต |
|
ชนิดและสาเหตุของโรคเบาหวาน : สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- โรคเบาหวานชนิดที่ 1 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลาย
เซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว แม้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถ
อธิบายอย่างแน่ชัดว่า ทำไมภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงทำลายเซลล์ของตับอ่อน แต่เราก็ทราบว่าปัจจัย
ที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับโอกาสการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือ การได้รับสารพิษ,การติดเชื้อ,
การแพ้นมวัวโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น
เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติ
เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อน
โดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด
เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด |
|
อาการของโรคเบาหวาน : ถ้าหากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์
- ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น
- ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น (ระหว่างช่วงเวลาที่เข้านอนแล้วจนถึงเวลาตื่นนอน)
- หิวน้ำบ่อยและดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ
- เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
- น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน
- ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร
- สายตาพร่ามองเห็นไม่ชัดเจน
- เป็นแผลหายช้า
โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย
หมายเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน ในระยะแรก มักไม่พบอาการผิดปกติใดๆ
ยกเว้นจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนปกติเท่านั้น |
|
การดูแลป้องกันโรคเบาหวาน : มีดังนี้
- ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ การรักษาจำเป็นจะต้อง
ทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วย แพทย์ ผู้ให้คำแนะนำเรื่องโรคเบาหวาน โภชนาการและยา
การรักษานี้จะช่วยให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
- ควรเจาะระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ ให้ปรึกษาแพทย์ว่าควรเจาะช่วงใด และบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด
- ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพรอาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องตรวจสอบกับแพทย์
และเภสัชกรก่อนเลือกผลิตภัณฑ์ยาเหล่านี้ |
|
แหล่งอ้างอิง
- "IDF Chooses Blue Circle to Represent UN Resolution Campaign". Unite for Diabetes.
17 March 2006.
- ภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยเบาหวาน
- http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news
/Default.aspx?Newsid=145850&NewsType=1&Template=1
- http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31593โรงพยาบาลละงู
- อาหารกับโรคเบาหวานhttp://www.sukapapdeedee.com/disease/diabetes
/causes-of-diabetes.html
- http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31593
- สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมป์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://th.wikipedia.org ค้นหาคำว่า " โรคเบาหวาน " |
|
|
กินอย่างไรให้ห่างไกลเบาหวาน |
|
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยที่สุดและคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทย
มีผู้ป่วยเบาหวานไม่น้อยกว่า 4 ล้านคน
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากการเป็นเบาหวานก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
ในหลายระบบของร่างกาย ได้แก่ จอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน
โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขา ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว |
|
ป้องกันเบาหวานด้วยการปรับเปลี่ยน
การป้องกันหรือชะลอการเป็นโรคเบาหวานจะมุ่งเน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต (Lifestyle Modification)
หมายถึง การปรับวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ประกอบด้วยการรับประทานอาหาร ตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายที่เหมาะสม ร่วมกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี |
|
ซึ่งโภชนบำบัดทางการแพทย์จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน
ในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (Pre-diabetes) ภายใต้ข้อแนะนำคือ ควรมีน้ำหนักตัวและรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน |
|
ลดน้ำหนักป้องกันเบาหวาน
1. ลดปริมาณพลังงานที่รับประทานในแต่ละวัน โดยให้ลดไขมันที่รับประทาน แต่ยังต้องรับประทานอาหาร
ให้ครบหมวดหมู่และสมดุล
โดยให้ลดพลังงานลง 500 - 1,000 แคลอรี่ต่อวัน (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวเริ่มต้น)
เช่น เลี่ยงอาหารทอดเปลี่ยนเป็นอาหารนึ่ง และต้มแทนเพื่อลดการบริโภคน้ำมัน
2. เพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย 700 แคลอรี่ต่อสัปดาห์หรือเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างน้อย
150 นาทีต่อสัปดาห์
จนสามารถลดน้ำหนักได้อย่างน้อยร้อยละ 7 ของน้ำหนักตั้งต้นและตั้งเป้าหมาย
ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 5 ของน้ำหนักใหม่
จนน้ำหนักใกล้เคียงหรืออยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. อาหารโปรตีนสูง (ร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งวัน) สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน
ในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน (Pre-diabetes) ได้
โดยเน้นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ, โปรตีนจากพืช เช่น ปลา อกไก่ เต้าหู้ ฯลฯ
4. เน้นรับประทานคาร์โบไฮเดรตจากผัก ธัญพืช ถั่ว ผลไม้ และนมจืดไขมันต่ำเป็นประจำ
5. บริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง เพิ่มการรับประทานผัก
6. หลีกเลี่ยงหรือจำกัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมาก เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ ฯลฯ
7. ลดหรือจำกัดการรับประทานอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน อาหารหมักดอง ฯลฯ
8. ควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลเทียม เพราะแม้น้ำตาลเทียมจะสามารถคุมน้ำตาลได้จริง
แต่จะทำให้ติดหวานและอยากกินของหวานเท่าเดิมหรือมากขึ้น
|
|
คัดลอกข้อมูลจาก : https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/how-to-eat-far-away-from-diabetes |
ัคัดลอกข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ |
|
|
|
|
|