|
|
Dong Quai : ตังกุย |
|
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Angelica sinensis
ชื่อภาษาอังกฤษ : Dong Quai
ชื่อภาษาไทย : ตังกุย
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา : ราก |
|
เมื่อเทียบการแพทย์แผนตะวันตกกับแผนตะวันออกแล้ว จะพบว่าทางตะวันออกเราจะนำหน้าตะวันตก
เขาในด้านของการนำเอาวัตถุจากธรรมชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งเราเรียกกันว่า
ภูมิปัญญาตะวันออก "ตังกุย" ก็เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้กันจะว่าเป็นพันๆ ปีเลยก็ได้
ซึ่งมีจีนเป็นต้นตำรับ ด้วยสรรพคุณที่โดดเด่นในเรื่องของการบำรุงร่างกายของสตรีเพศ
จึงได้รับฉายาว่า "โสมผู้หญิง" (Female ginseng) และได้รับความสนใจ
เพื่อที่จะค้นค้าหาความลับที่มีอยู่ในพืชชนิดนี้ เพื่อพัฒนาไปเป็นยาที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น |
|
"ตังกุย" เป็นสมุนไพรจีนที่ใช้สำหรับสตรีวัยทอง ใช้กันมานานแล้วใน เอเชีย ให้สารหอมระเหย
ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือ "ราก" ให้สารที่ออก ฤทธิ์ชื่อ คูมาริน (coumarins) มีหลายชื่อแล้วแต่จะเรียกกัน
ในแต่ละ ประเทศ ได้แก่ TANG QUAI, DONG QUAI, DANG QUAI CHINESE ANGELICA,
ANGELICA SINENSIS ในเอเชียส่วนใหญ่จะใช้ตังกุย เสริมสุขภาพให้สตรี
แต่สำหรับโสมแล้วใช้เสริมสุขภาพให้บุรุษ |
|
"ตังกุย" ใช้รักษาอาการของสตรีดังต่อไปนี้ มีอาการร้อนวูบวาบ, เวลาประจำเดือนมาจะปวดท้องมาก
บำรุงครรภ์ให้สตรี และช่วยให้คลอดบุตรง่าย ดังนั้นฤทธิ์ของตังกุยจึงเป็นเหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน
(phytoestrogen) ของสตรี, ช่วยให้มดลูกบีบตัวอย่างธรรมชาติ และ คลายตัวตามปกติ,
เพิ่มเม็ดเลือดแดงสำหรับสตรีโลหิตจาง, ทำให ้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ และยังมีฤทธิ์
เพิ่มการทำงานของตับอีกด้วย |
|
ประโยชน์ :
- ใช้รักษาสมดุลของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายรวมไปถึงฮอร์โมนเพศหญิง estrogen ด้วย
- บรรเทาอาการปวดเกร็ง หรือเลือดออกอย่างผิดปกติในสตรีระยะมีประจำเดือน
- ลดอัตราเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ
โดยรักษาสมดุลของการไหลเวียนโลหิตในผู้หญิง
- ทำให้เลือดไปเลี้ยงผิวพรรณมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการไหลเวียนที่ดีขึ้น
- ให้สารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน (estrogen like action) ช่วยบรรเทาอาการต่างๆ
จากภาวะการหมดประจำเดือน (Menopause) |
|
References :
1. Qi-bing M, Jing-yi T, Bo C. Advance in the pharmacological studies of radix
Angelica sinensis (Oliv) Diels (Chinese danggui). Chin Med J 1991;104:776-81.
2. Foster S, Yue CX. Herbal Emissaries. Rochester, VT: Healing Arts Press, 1992, 65-72.
3. Hirata JD, Swiersz LM, Zell B, et al. Does dong quai have estrogenic effects in
postmenopausal women? A double-blind, Placebo-controlled trial. Fertil Steril
1997;68:981-6. |
|
|
|
วัยทอง หรือภาวะหมดประจำเดือน |
|
ความหมาย วัยทอง
วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน รังไข่หยุดการผลิตไข่ ทำให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป
ผู้ที่เข้าสู่วัยทองจะมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 45-55 ปี ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ
โดยที่อาการอาจหายไปเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชรา หรืออาจคงอยู่ไปตลอดจนสิ้นอายุขัย |
|
อาการของวัยทอง
- ไม่มีประจำเดือน ช่องคลอดแห้ง
- ร้อนวูบวาบ ไม่สบายตัว มีเหงื่อออกในตอนกลางคืน
- มีปัญหาเรื่องการนอน นอนน้อย นอนไม่หลับ
- ผิวแห้ง หนังศีรษะบาง ผมร่วง
- อ้วนขึ้น ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง
- ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย |
|
สาเหตุของวัยทอง
ภาวะวัยทองหรือภาวะหมดประจำเดือนเกิดจากร่างกายของผู้หญิงไม่มีการตกไข่ เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน
ไม่ผลิตฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอีกต่อไป ซึ่งภาวะนี้เกิดจากหลายปัจจัย
โดยเฉพาะเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้นจนเข้าสู่วัยชรา สภาพร่างกายย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบต่าง ๆ ภายในก็ทำงานเสื่อมประสิทธิภาพลง |
|
นอกจากนี้ อาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติของรังไข่ก็อาจส่งผลต่อการขาดประจำเดือน การผ่าตัดเอารังไข่ทั้งสองข้างออกไปก็ทำให้เข้าสู่ภาวะวัยทองได้
รวมทั้งการทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) ที่ใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพราะนอกจากการรักษาจะส่งผลต่อเซลล์มะเร็งแล้ว ยังส่งผลต่อเซลล์ต่าง ๆ
ของร่างกายที่มีการเจริญเติบโตด้วย ในบางครั้งภาวะวัยทองจึงเป็นผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด |
|
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยไม่ได้เข้าสู่วัยทองตามช่วงวัยที่ควรจะเป็น หรือเข้าสู่วัยทองก่อนอายุประมาณ 40 ปี
จะเรียกภาวะนี้ว่า วัยทองก่อนกำหนด
หรือภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด |
|
ภาวะแทรกซ้อนของวัยทอง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วน เนื่องจากระบบการเผาผลาญร่างกายที่เสื่อมถอย
อาจทำให้มีไขมันอุดตันตามส่วนต่าง ๆ หรืออุดตันในเส้นเลือด
- โรคกระดูกพรุน ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อกระดูก ระดับฮอร์โมนที่ลดลงจึงมีผลต่อกระบวนการสร้างกระดูก
ผู้ที่อยู่ในวัยทองจึงมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะกระดูกจะเปราะและแตกหักได้ง่าย
- ปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศและท่อปัสสาวะเสียความยืดหยุ่นและเสื่อมสภาพ
ทำให้มีอาการปัสสาวะเล็ดบ่อย ๆ หรือมีปัสสาวะพร้อมกับการไอหรือจาม เสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- ปัญหาทางเพศ ช่องคลอดแห้ง ความยืดหยุ่นของช่องคลอดลดลง อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ ความเจ็บปวด
หรือมีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ |
|
การป้องกันวัยทอง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมกับวิตามินดีสูง เพื่อบำรุงกระดูกและส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายที่สึกหรอ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลเป็นปริมาณมาก รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา และให้ผิวหนังได้สัมผัสแสงแดดอ่อน ๆ
ในตอนเช้าเพื่อให้ร่างกายได้สังเคราะห์วิตามินดี
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ตามเกณฑ์
และเร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย
ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบได้อีกด้วย
การออกกำลังกายง่าย ๆ ที่แพทย์แนะนำในวัยนี้ คือ การเต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก๊ก เป็นต้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้ร่างกายอ่อนล้าและต้องการการพักผ่อนมากกว่าปกติ
แต่บางครั้งอาจมีอาการร้อนวูบวาบทำให้นอนหลับไม่สนิทหรือไม่สบายตัว ควรนอนหลับในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำ
อากาศเย็นสบาย
และเตรียมน้ำไว้ใกล้ตัวเพื่อดื่มเมื่อมีอาการร้อนวูบวาบกลางดึก ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงความเครียด
และความวิตกกังวล
อันจะส่งผลให้มีปัญหาการนอนและความแปรปรวนของอารมณ์ตามมาด้วย
- ควบคุมจัดการอาการที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจกับภาวะหมดประจำเดือน เตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยทอง
ตรวจสุขภาพร่างกายอยู่เสมอ
ตรวจวัดความดันโลหิต เพื่อวางแผนรับมือกับอาการที่จะเกิดขึ้น
หากอาการที่เกิดขึ้นเกินกว่าความสามารถในการจัดการ
ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
|
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/วัยทอง |
|
|
|
|