|
ลูกจันทน์เทศ : Roudoukou |
|
ชื่อภาษาไทย : ลูกจันทน์เทศ (ภาคกลาง); ลูกจันทน์บ้าน (ภาคเหนือ)
ชื่อจีน : โร่วโต้วโค่ว (จีนกลาง), เหน็กเต่าโข่ว (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Nutmeg
ชื่อเครื่องยา : Semen Myristicae |
|
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน :
ลูกจันทน์เทศ รสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์สมานลำไส้ ระงับถ่ายท้องร่วง แก้ท้องร่วงเรื้อรัง
(เนื่องจากม้ามและไตพร่องและเย็นเกินไป) และมีฤทธิ์ให้ความอบอุ่นแก่กระเพาะอาหาร ทำให้ชี่หมุนเวียนดี
แก้ปวดกระเพาะอาหาร เบื่ออาหาร อาเจียน จุกเสียดแน่นท้อง ลูกจันทน์เทศมีน้ำมันในปริมาณสูง
ทำให้มีข้อเสียคือ มีฤทธิ์หล่อลื่นและกระตุ้นลำไส้มากเกินไป โดยทั่วไปจึงต้องนำมาแปรรูป
โดยใช้วิธีเฉพาะก่อนใช้ การคั่วจะขจัดน้ำมันบางส่วนออกไป ทำให้ฤทธิ์หล่อลื่นและกระตุ้นลำไส้ลดน้อยลง
แต่มีฤทธิ์แรงขึ้น ในการช่วยให้ลำไส้แข็งแรงและระงับอาการท้องเสีย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง
จุกเสียดแน่นท้อง ท้องร่วง อาเจียน อาหารไม่ย่อย |
|
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย :
ลูกจันทน์เทศ มีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวฝาด ร้อน มีสรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ ขับลม
แก้จุกเสียด แก้กำเดา แก้ท้องร่วง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดมดลูก บำรุงเลือด |
|
ขนาดยา :
การแพทย์แผนจีน : ใช้ขนาด 3-9 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้ภายนอกโดยบดเป็นผงผสม
กับน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูผสมทา
การแพทย์แผนไทย : ใช้เนื้อในเมล็ด 0.5 กรัม หรือประมาณ 1-2 เมล็ด บดให้เป็นผงละเอียด
ชงน้ำครั้งเดียว รับประทานวันละ 2 ครั้ง 2-3 วัน |
|
ข้อควรระวัง :
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการร้อนแกร่ง บิดท้องร่วงเพราะมีความร้อน (การแพทย์แผนจีน)
ห้ามใช้ลูกจันทน์เทศในปริมาณสูง เพราะทำให้เกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ (การแพทย์แผนไทย)
มีรายงานว่าเมื่อรับประทานลูกจันทน์เทศขนาดน้อยกว่า 1 ช้อนโต๊ะ ก็ทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้
อาการข้างเคียงในขนาดสูง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว
กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ม่านตาขยาย นอนไม่หลับ มึนงง สับสน เกิดอาการประสาทหลอน
และอาจทำให้ชักได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น allergic contact dermatitis
และ occupational asthma |
|
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง :
1. สารสกัด Nutmeg oil จากลูกจันทน์เทศสามารถยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือดได้ โดยมี eugenol
และ isoeugenol เป็นสารออกฤทธิ์
2. สารสกัดแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ น้ำมันลูกจันทน์เทศสามารถยับยั้งการจับตัว้
ของเกล็ดเลือดไดสารสกัดของเปลือกเมล็ดแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบในสัตว์ทดลอง
3. ลูกจันทน์เทศมีสรรพคุณแก้ท้องเสียชนิดเรื้อรัง แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาเจียน
มีรายงานว่าเมื่อรับประทานผงลูกจันทน์ขนาด 7.5 กรัม อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้
อาเจียน ปากแห้ง นอนไม่หลับ หากรับประทานในขนาดสูงมากอาจทำให้ตายได้
4. เมื่อให้สารสกัดอีเทอร์ทางปากแมว พบว่าขนาดของสารสกัดที่ทำให้แมวตายมีค่าเท่ากับ 0.5-1
มิลลิลิตร/กิโลกรัม และเมื่อให้ผงยาทางปากแมวในขนาด 1.8 กรัม/กิโลกรัม
อาจทำให้เกิดอาการประสาทหลอน และถึงตายได้ภายใน 24 ชั่วโมง
5. จากการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรของสารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากลูกจันทน์เทศพบว่าค่า
LD50 มีค่ามากกว่า 10 กรัม/กิโลกรัม เมื่อให้โดยการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง |
|
แหล่งอ้างอิง :
1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s
Republic of China. Vol.I. English Edition. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.
2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, ก่องกานดา ชยามฤต, ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ (คณะบรรณาธิการ).
ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). สำนักวิชาการป่าไม้.
กรมป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2544.
3. Gong QF. Zhongyao Paozhi Xue. 2nd ed. Beijing: National Chinese Traditional Medicine
Publishing House, 2003.
4. Mei XH. Shiyong Zhongyao Paozhi Zhinan. 1st ed. Hubei: Hubei Science & Technology
Publishing House, 2005.
5. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารวิชาการสมุนไพร. นนทบุรี :
สถาบันวิจัยสมุนไพร, 2543.
6. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด, 2547.
7. สุนทรี สิงหบุตรา. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร :
โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2536.
8. ชยันต์ วิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงศ์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2548. |
|
|
|
โรคท้องร่วง |
|
สาเหตุ
- การติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ได้แก่เชื้อ บิดไม่มีตัว Shigella,
ไข้ไทฟอยด์ Salmonella,เป็นต้น
- การติดเชื้อไวรัส ได้แก่ rotavirus, Norwalk virus
- การติดเชื้อพยาธิ เช่น Giardia lamblia, Entamoeba histolytica
- จากแพ้อาหาร และนม
- จากยา เช่น ยาลดความดัน ยาปฏิชีวนะ ยาระบาย -โรคลำไส้มีการอักเสบ |
|
อาการของโรคท้องร่วง
ผู้ป่วยโรคท้องร่วงจะมีอาการ แน่นท้อง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และถ่ายบ่อย โรคท้องร่วงถ้าเป็นนานกว่า 3 สัปดาห์เรียกเรื้อรัง
ถ้าหายภายใน 3 สัปดาห์เรียกท้องร่วงเฉียบพลันโดยมากเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย และเชื้อไวรัส อาการที่ท่านจะต้องสังเกตและแจ้งแก่แพทย์ |
|
- ระยะเวลาที่เจ็บป่วย
- อาการค่อยเป็นหรือเป็นมากทันที
- จำนวนครั้งที่ถ่าย ลักษณะอุจจาระ
- อาการปวดท้อง อาเจียน
- ไข้ |
|
โรคท้องร่วงในเด็ก
สาเหตุของโรคท้องร่วงในเด็กที่พบบ่อยได้แก่การติดเชื้อไวรัส Rotavirus ซึ่งใช้เวลา 5-8 วันจึงหาย
นอกจากนั้นยังเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ,จากยา เป็นต้น การให้ยาจะให้เหมือนผู้ใหญ่ไม่ได้ เด็กที่ถ่ายเหลว 1 วัน
ก็ทำให้เกิดการขาดน้ำได้ ควรพาเด็กพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ |
|
- อุจจาระมีหนอง หรือเลือด
- ไข้มากกว่า 38 cํ
- อาการไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง
- มีอาการของขาดน้ำ |
|
การรักษา
หลักการรักษาคือป้องกันการขาดน้ำโดยการได้รับ ORS วิธีการเตรียม |
|
- เตรียมน้ำต้มสุก 1 ขวด
- เทน้ำต้มสุกลงในแก้ว 1 แก้ว
- เติมผงเกลือแร่ ORS ลงในแก้ว คนจนละลาย
- เทน้ำที่ละลายเกลือแร่ลงในขวด
- ดื่มตามฉลากข้างซองกำหนด หรืออาจจะเตรียมน้ำเกลือแร่เองได้โดย
ผสมเกลือ 3.5 กรัม ผงฟู 2.5 กรัม เกลือ potassium chloride 1.5 กรัมผสมน้ำ 1 ลิตร
ยาที่ทำให้หยุดถ่ายไม่แนะนำเนื่องจากทำให้หายช้า |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.saintlouis.or.th/article/show/_5-6-2017-16:13
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ |
|
|
|