|
กระดูกอ่อนปลาฉลาม"กินแล้วช่วยบำบัด"มะเร็ง" ได้จริงหรือ ???
"ก้างปลาฉลาม" หรือ กระดูกอ่อนปลาฉลาม มักถูกยกขึ้นมากล่าวถึง หากใครสักคนกำลัง
มองหาวิธีต่อสู้ กับ "โรคมะเร็ง" ปัจจุบันนี้ได้แพร่มาถึงเมืองไทยแล้ว จึงมีการกล่าวถึง
ความหัศจรรย์ของมันไว้มากมายในอินเตอร์เน็ต แต่สามารถบำบัดโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่
จากการสืบค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ก็ได้พบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้ง 2 ด้าน โดยพบเว็บที่แฝงอยู่ใน
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีข้อมูลว่า "Shark Cartilage หรือกระดูกอ่อนปลาฉลาม
ป้องกันมะเร็งที่เกิดจากสารก่อมะเร็งหรือเซลล์ที่ผิดปกติ เซลล์ผิดปกติดังกล่าวจะกระตุ้นร่างกาย
ให้สร้างเส้นเลือดฝอยใหม่ เพื่อนำอาหารมาหล่อเลี้ยง ทำให้เซลล์แบ่งตัวเร็วผิดปกติ จนเกิดเป็นก้อนเนื้อ
มะเร็งในที่สุด Shark Cartilage มีผลยับยั้งการสร้างเส้นเลือดฝอยใหม่ ทำให้เซลล์เหล่านั้นขาดอาหาร
|
|
- ลดการอักเสบของข้อหรือผิวหนัง Shark Cartilage ลดการสร้างเส้นเลือดฝอยใหม่
จึงสามารถลดการอักเสบ ของข้อและผิวหนังได้ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาปวด
และอักเสบของข้อและผิวหนัง เช่น Rheumatoid, Eczema, Psoriasis
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
และเพิ่มการสร้างสารภูมิคุ้มกันของร่างกาย" |
|
ขณะที่เว็บไซต์ Thaiclinic.com พบว่า พญ.รุ่งทิพย์ วรรณวิมลสุข ฟันธงไว้ว่า
ไม่มีความจริงแต่อย่างใด ไม่น่าเชื่อถือ เพราะถ้าเป็นจริง คนที่พบควรได้รับรางวัลโนเบิลไพร์ส
ในฐานะผู้ประสบความสำเร็จ ในการรักษามะเร็ง |
|
สำหรับประเด็นเรื่อง Shark Cartilage รักษามะเร็งได้หรือไม่? ก่อนอื่นควรเริ่มที่เรื่องเกี่ยวกับ
"กระดูกอ่อนเฉยๆ" กับการต่อต้านมะเร็ง ซึ่งมีการศึกษากันมานานพอสมควรก่อน
ด็อกเตอร์ จูดาห์ โพล์คแมน ปรมาจารย์ด้านการศึกษา สารต้านการเจริญของเซลล์มะเร็ง สามารถค้นพบว่า
สาเหตุที่เซลล์มะเร็งเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น เป็นเพราะมันสามารถสร้างสารกระตุ้นให้เส้นเลือดใหญ่
สร้างเส้นเลือดฝอย เพื่อส่งสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งได้มากผิดปกติ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า "Angiogenesis" |
|
การค้นพบดังกล่าว ในตอนแรกไม่ค่อยมีใครเชื่อถือ ด็อกเตอร์จูดาห์จึงพยายามหาทางพิสูจน์
โดยพยายามยับยั้งกระบวนการดังกล่าวและก็ประสบความสำเร็จ เมื่อทีมงานของเขาค้นพบว่า
"สารที่สกัดจากกระดูกอ่อน สามารถยับยั้งกระบวนการนี้ได้" |
|
|
ด็อกเตอร์จูดาห์ โพล์คแมน |
|
ที่เป็นจริงคือ ปลาฉลามเป็นสัตว์ที่มีก้างเป็นกระดูกอ่อนทั้งตัว ดังนั้น กรรมจึงมาเยือน เพราะศาสตราจารย์
คนหนึ่งของเอ็มไอที สหรัฐ ได้วิจัยเกี่ยวกับการเตรียมสารสกัดจากก้างปลาฉลาม แล้วทำให้แห้ง
เป็นผงด้วย วิธีการที่ดีที่สุด เพื่อการรักษาคุณภาพของสารที่ว่านั้น โดยการใช้วิธี "Freeze Drying"
และเมื่อท่านค้นพบกระบวนการสกัด ที่ "คิดว่า" จะมีประโยชน์ในการบำบัดโรคมะเร็งแล้ว
ก็ได้จดลิขสิทธิ์และลาออกจากมหาวิทยาลัย ไปหากินส่วนตัว เพื่อความร่ำรวย |
|
ประโยชน์ของปลาฉลามมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปลาฉลามถูกนำมาใช้ประโยชน์
ทั้งหนังที่นำไปทำกระเป๋ารองเท้าและ เครื่องใช้นานาชนิด เนื้อและอีกหลายส่วนในร่างกายถูกนำไป
รับประทาน รวมทั้งกระดูกอ่อนถูกนำไปใช้ทำยา พร้อมกันนั้นได้มีการทดลองนำฉลามพันธุ์ที่ไม่ดุร้าย
และตัวเล็กคือพันธ์ NURSE มาทดลอง โดยได้ฉีดสารมะเร็งเข้าไปในตัวรวมทั้งนำลงไปเลี้ยงในบ่อ
ที่มีสารเคมี รวมไปถึงการทดลองด้วยการให้ปลากินสารเคมี จากนั้นได้มีการนำเลือดของปลา
มาตรวจภูมิต้านทาน ซึ่งพบว่า ปลาฉลาม ไม่มีอาการใดๆ รวมทั้งไม่เป็นโรคมะเร็งด้วย |
|
เนื้องอกที่เป็นมะเร็งหลายชนิดสามารถโตได้ก็เพราะมันจะเหนี่ยวนำให้ร่างกายพัฒนาเครือข่าย
ของเส้นเลือด ให้นำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ซึ่งกระดูกอ่อนปลาฉลามมีโปรตีนที่มีผลระงับ
ไม่ให้เนื้องอกเจริญเติบโต และระงับโรคมะเร็งด้วย โดยโปรตีนชนิดนี้จะไประงับการสร้างเส้นเลือดฝอย
ที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอกหรือก้อนมะเร็งดังนั้นเนื้องอกจะถูกตัดแหล่งอาหารไป และจะเริ่มฝ่อลง
และยังได้มีการทำวิจัยโดยการนำกระดูกอ่อนปลาฉลามฉีดเข้าไปในไข่ไก่ที่กำลังจะเป็นตัว
ซึ่งจะมีเส้นเลือดฝอยอยู่ภายใน แต่หลังจากที่ได้รับกระดูกอ่อนไปแล้ว พบว่าเส้นเลือดที่อยู่ข้างใน
ได้หายไป พร้อมกันนั้น ในรัฐแมสซาซูเสตต์ก็มีการทดลองด้วยว่ากระดูกอ่อนของวัว
ที่มีผลสามารถระงับการสร้างเส้นเลือดฝอยได้เช่นกัน แต่จะต้องใช้ในจำนวนที่มาก
ในประเทศคอสตาริกได้ทดลองใช้กระดูกอ่อนปลาฉลามขนาด 12 กรัมต่อวัน
|
|
นานประมาณ 6 เดือน พบว่าเซลล์มะเร็งและเนื้องอกมีขนาดเล็กลง และที่ประเทศคิวบา พบว่า
ผู้ที่ใช้กระดูกก่อนปลาฉลาม 8 คนเซลล์มะเร็งหายไป 30% และในประเทศเยอรมนี
ผู้ป่วยมะเร็งขั้นรุนแรงกว่า 80% อาการเป็นไปในทางที่ดีขึ้น |
|
นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น เบาหวานขึ้นตา และจอประสาทตาเสื่อมซึ่งมีลักษณะ
การเจริญเติบโตของเส้นเลือดใหม่ภายในดวงตา เนื่องจากเป็นการเจริญเติบโตผิดที่ การเกิดเส้นเลือด
เหล่านี้ สามารถนำไปสู่การตาบอดได้ ซึ่งกระดูกอ่อนปลาฉลามยังสามารถตอบสนองกับโรคนี้ได้ดี
รวมไปถึงการช่วยลดการอักเสบของข้อและผิวหนัง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้ออักเสบ สะเก็ดเงิน
ลำไส้อักเสบเป็นส่วนๆ |
|
นอกเหนือโปรตีนที่ช่วยยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่แล้ว กระดูกอ่อนปลาฉลามยังประกอบด้วยแคลเซียม
ประมาณ 16% ฟอสฟอรัสประมาณ 8% ซึ่งจะถูกดูดซึมเป็นสารอาหาร และมิวโคโพลีแซคคาไรด์
ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน |
|
โดยมากปลาฉลามที่นำมาผลิตอาหารเสริมนี้ เป็นฉลามหัวค้อน ซึ่งมีนิสัยชอบอยู่กันเป็นกลุ่มและอาศัยอยู่
ในน่านน้ำที่ไม่ลึกมาก จึงง่ายต่อการจับโดยปลาฉลาม 1 ตัวนั้น จะมีกระดูกอ่อนมากถึง 60-80%
ซึ่งกระดูกอ่อนนี้จะเป็นกระดูกที่ต่อกันเป็นข้อๆ เพื่อให้ปลาฉลามสะบัดตัวว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง |
|
ที่มาข้อมูล : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1238205098&grpid=01&catid=01 |
|
|
|
คอลลาเจน
คอลลาเจน คือ โปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักๆของชั้นผิวหนัง ทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของ
ผิวหนังเข้าด้วยกัน โดยโปรตีนชนิดนี้มีส่วนประกอบถึง 25% ถึง 35% ของจำนวนหน่วยโปรตีนทั้งหมด
ในร่างกาย โดยมีมากที่สุดที่ผิวหนัง และ ประมาณ 1% ถึง 2% ที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ
การผลิตเจลลาตินในอาหารได้จากกรรมวิธี การย่อยหน่วยคอลลาเจนที่เรียกว่า Hydrolysis |
|
|
หน้าที่ของคอลลาเจน
คอลลาเจนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนโดยทั่วๆไปเช่นแดียวกับเอนไซม์ สายเส้นใยของคอลลาเจน
ถูกเรียกว่า คอลลาเจน
ไฟเบอร์ (Collagen Fiber) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุล
เกี่ยวพันกันมากมาย โดยปกติทั่วไปผิวหนังที่มีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างอยู่มาก
จึงมีแรงสปริงตัวและ ยืดหยุ่นได้ดีตามไปด้วย คอลลาเจนนั้นไม่ได้มีอยู่ที่ผิวหนัง
ส่วนนอกเท่านั้น อวัยวะภายในร่างกายเอง มีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่มาก
ได้แก่ ผังผืด (Fascia) กระดูกอ่อน (cartilage), เส้นเอ็น (ligaments),
กระดูก (bone) สารคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียก
อีกอย่างว่า เคราติน Keratin |
|
เคราติน Keratin, เคราตินมีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น
เมื่อสารเคราติน ในชั้นผิวลดลง จึงเกิดริ้วรอยแห่งวัยขึ้นบนชั้นผิว
นอกจากนี้ เคราตินมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด มีส่วนช่วยในการ
สร้างเนื้อเยื่อใหม่ รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อกระจกตาและเลนส์ตาด้วย |
|
Hydrolyzed Collagen เองยังถูกใช้งานในแง่ของการลดน้ำหนักได้ด้วย
เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของโปรตีนจึงมีข้อดีในการช่วยเผาผลาญพลังงาน
ลดไขมันส่วนเกิน |
|
บทบาทคอลลาเจนในวงการอุตสาหกรรม
เมื่อนำคอลลาเจนมาผ่านกระบวนการ Hydrolyzed สารคอลลาเจนจะแตกตัวออก
เป็นสารเชิงซ้อนของคอลลาเจนเปปไทด์แบบ Polyproline II (PPII) หรือลักษณะ
ของเจลาตินที่นำมาเป็นส่วนผสมของอาหารนั่นเอง นอกจากการใช้เป้นอาหารแล้ว
คอลลาเจนยังใช้เป็นส่วนประกอบของยา เครื่องสำอางค์ และฟีล์มถ่ายภาพ
เมื่อพิจารณาในแง่ของอุตสาหกรรมอาหารแล้ว สารคอลลาเจนไม่ได้ประกอบด้วย
กรดอะมิโนที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย แต่มีการประชาสัมพันธ์เชิงการค้าว่า
ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมคอลลาเจนต่างแสดง คุณสมบัติของสินค้าว่าสามารถ
ยับยั้งการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและมีผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งยังไม่มีผลการวิจัย
ทางวิทยาศาสตร์ที่ออกมาสนับสนุนการโฆษณาในลักษณะนี้ |
|
|
|
คำว่าคอลลาเจน (Collagen) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกจากคำว่า “Kolla” ที่แปลว่า กาว โดยเมื่อก่อนได้มี
การทำกาวโดยการนำหนังและเอ็นม้ามาเคี่ยวจนกลายเป็นกาว ตามหลักฐานที่พบมีการใช้งานกาวลักษณะนี้
มากว่า 8000 ปีแล้ว โดยใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเชือกและตระกร้าสานเพื่อให้มีความแข็งแรง
และมีการใช้งานภายในครัวเรือนทั่วไป กาวชนิดนี้เมื่อแห้งแล้วสามารถทำให้อ่อนนิ่มได้อีก
โดยการให้ความร้อน เพราะกาวจากสิ่งมีชีวิตเป็น Thermoplastic ชนิดหนึ่งจึงมีการใช้งานได้หลากหลาย
โดยเฉพาะการผลิกเครื่องดนตรีเช่น ไวโอลีน กีตาร์ แม้กระทั่งเมื่อมนุษย์สามารถผลิตพลาสติก
สังเคราะห์ได้แล้ว แต่ยังมีการใช้งานกาวเจลาตินอยู่ทั่วไป |
|
บทบาทคอลลาเจนในวงการแพทย์
คอลลาเจนมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในวงการศัลยกรรมความงาม ศัลยกรรมกระดูก การจัดฟัน
และวงการศัลยกรรมทั่วไป เป็นส่วนประกอบของผิวหนังสังเคราะห์ที่ใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียผิวหนัง
เนื่องจากอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งใช้คอลลาเจนสังเคระห์จากผิวหนังของลูกวัว (Bovine)
หรือจากหมู (Equine, Porcine) บางครั้งจะใช้ผิวหนังจากผู้บริจาค หรือใส้ซิลิโคนสังเคราะห์แทน |
|
คอลลาเจนได้มีการจำหน่ายในลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนช่วยเคลื่อนไหว เนื่องจากคอลลาเจนเมื่อ
รับประทานเข้าไปจะย่อยสลายเป็นโปรตีนและกรดอะมิโนในที่สุด จึงช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
โดยวิธีรับประทานได้น้อยมาก ดังนั้นวงการแพทย์ในปัจจุบันจึงมีการใช้คอลลาเจนในแง่ของศัลยกรรม
ความงามมากที่สุด |
|
วิธีที่จะเพิ่ม คอลลาเจนนั้น ทำได้หลายวิธี
1. การฉีดคอลลาเจนโดยตรง จากแพทย์
2. รับประทานอาหารที่ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี, วิตามินอี |
|
ที่มาของข้อมูล : www.th.wikipedia.org/wiki/คอลลาเจน |
|
|
|
|