|
|
เต็กเปียง หรือเบ้เตกย้ง หรือ Elaphus หรือเขากวางอ่อนส่วนบน(ปลายเขา) |
ประโยชน์ของเขาวางอ่อน |
|
เขากวางอ่อนมีการใช้มานาน โดยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ยาวนานของตำรายา
จีน คือ เขากวางอ่อนที่ได้มาจากการตัดจากกวางทุก ๆ ปี ในช่วงเวลาของการเจริญเติบโตระยะที่เหมาะสม
และแล้วเขากวางอ่อนก็จะงอกออกมาใหม่ในปีต่อ ๆ ไปตลอดชีวิตของมัน ในการใช้เขากวางอ่อน
ตามตำราจีนจัดแบ่งเขากวางอ่อนออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่างสุด
โดยส่วนบนหรือปลาย จะมีสรรพคุณใช้สำหรับเป็นยาป้องกันโรค (ประเภทไทนิค (Tinics) )
สำหรับเด็กและวัยรุ่น มีสรรพคุณใช้ สำหรับรักษาโรคไขข้อ (Arthritis ) และภาวะกระดูกอักเสบ
(asteomyelitis ) มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุที่มักจะขาดแร่ธาตุแคลเซียม |
|
ที่มา : ผศ.ศุภชัย งามศักดิ์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี. |
|
|
|
สรรพคุณของเขากวางอ่อน
สำหรับเขากวางอ่อนมีการใช้มานาน โดยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์ยาวนานของตำรายาจีน คือ
เขากวางอ่อนที่ได้มาจากการตัดจากกวางทุก ๆ ปี ในช่วงเวลาของการเจริญเติบโตระยะที่เหมาะสม
( โดยไม่สร้างความเครียดให้เกิดขึ้นกับกวางเหมือนกับการตัดขนแกะอย่างไรก็อย่างนั้น )
และแล้วเขากวางอ่อนก็จะงอกออกมาใหม่ในปีต่อๆ ไปตลอดชีวิตของมันในการใช้เขากวางอ่อนตามตำราจีน
จะจัดแบ่งเขากวางอ่อนออกเป็น 3 ส่วน คือ |
|
ส่วนกลาง และส่วนล่างสุด โดยส่วนบนหรือปลาย จะมีสรรพคุณใช้สำหรับเป็นยาป้องกันโรค
(ประเภทไทนิค Tinics ) สำหรับเด็กและวัยรุ่น เพื่อบำรุงสมองกับสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
มีสรรพคุณใช้สำหรับรักษาโรคไขข้อ (Arthritis ) และ ภาวะกระดูกอักเสบ (asteomyelitis )
จะมีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุที่มักจะขาดแร่ธาตุแคลเซียม นอกจากนี้ ในตำรายาจีนจะใช้เขากวางอ่อน
เป็นยาตัวหลักสำหรับเพิ่มเลือด (รวมถึงปริมาตร และองค์ประกอบ และการไหลของโลหิตในร่างกาย)
เมื่อเลือดเพิ่มขึ้น พลังงานก็จะเพิ่มขึ้น และร่างกายจะกระปรี้กระเปร่า หรือช่วยให้มีสุขภาพดีขึ้น |
|
เพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย เพิ่มสมรรถนะแก่นักกีฬา รักษาโรคโลหิตจาง รักษาประจำเดือน
และการผิดปกติในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ช่วยต้านทานเชื้อโรค รักษาอาการฝ่ามือเท้าเย็น
เพื่อการหมุนเวียนโลหิต เป็นยาแก้อาการผิดปกติทางเพศของชาย (กามตายด้าน การหลั่งน้ำกาม
เร็วผิดปกติ ต่อมลูกหมากโต ) ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง เป็นยาแก้การขาดแคลเซียม เป็นยาแก้การผิดปกติ
ของระบบทางเดินอาหาร (Gasto–Intestinal) รักษาโรคไขข้ออักเสบ (Arthritis ) และโรคปวดตามข้อ
(Rheumatism) ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเขากวางอ่อน ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อกระดูกที่กำลังเจริญเติบโต )
ส่วนใหญ่มักประกอบด้วยสารอินทรีย์ถึง 54% ที่เหลือเป็นน้ำและเถ้า (เป็นสารประกอบของแคลเซียม
ฟอสฟอรัส และ แมคเนเซียม) สารอินทรีย์ประกอบที่พบ เป็นพวกเลเตอร์รอย รวมถึงอีสโตรเจน
ในเขากวางอ่อน เมื่อก่อนรู้จักกันดีในทางสมรรถนะทางเพศและยิ่งไปกว่านั้น
ยังทำให้ร่างกายกลับเป็นหนุ่มสาวใหม่ (Body Rejuvenation) |
|
โดย : ศูนย์เพาะพันธุ์กวาง เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
แปลโดย ผศ.ศุภชัย งามสักดิ์ (M.Agr.SC. (FIONS) New Zealand )
Website Ref: http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID
=Topic-060116113600405Date: 03-11-2006 |
|
|
|
สรรพคุณของเขากวางอ่อน
Kong และ But (1985) รายงานว่าเขากวางอ่อนมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคโลหิตจาง ไขข้ออักเสบ
และกามตายด้าน ขณะที่ Yoon (1989) ได้รายงานว่าเขากวางอ่อนใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพ
และสามารถป้องกันรักษาโรคในเด็กเล็กได้หลายโรค สำหรับในประเทศไทยผู้ที่นิยมบริโภคเขากวางอ่อน
ได้แก่ ชาวจีนสูงอายุ ส่วนใหญ่จะหาซื้อรับประทานเฉพาะช่วงฤดูอากาศหนาวเย็น
เพื่อต้องการบำรุงสุขภาพทำให้ร่างกายอบอุ่น นอกจากนี้มีรายงานว่าในเขากวางอ่อนมีฮอร์โมน
Insulin-link Growth Factor |
|
ที่มา : กองแผนงาน กรมปศุสัตว์ |
|
|
|
ข้ออักเสบ |
|
Arthritis (ข้ออักเสบ) คือ ภาวะที่ข้อต่อกระดูกเกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อ ข้อติด หรือข้อบวม
ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยภาวะ Arthritis มีหลายประเภท แต่ที่พบบ่อย คือ โรคข้อเสื่อมและรูมาตอยด์
ภาวะนี้พบมากในผู้สูงอายุและสามารถรักษาได้หลายวิธี เพื่อบรรเทาอาการและทำให้ข้อต่อกลับมาใช้งานได้ดีขึ้น |
|
อาการของข้ออักเสบ
ผู้ที่มีภาวะ Arthritis จะมีอาการหลัก คือ ปวดข้อ ข้อติด บวม แดง รวมถึงขยับข้อต่อได้ไม่เต็มที่
โดยผู้ป่วยหลายรายอาจมีอาการข้ออักเสบรุนแรงในช่วงเช้า นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย
อย่างผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์อันเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจทำให้มีอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น
- ไม่สบายตัว
- เป็นไข้
- เวียนหัว
- น้ำหนักลด
- ต่อมน้ำเหลืองโต |
|
สาเหตุของข้ออักเสบ
- ข้อต่อสึกหรอจากการใช้งาน
- ติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
- ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
- มีการสะสมผลึกกรดยูริกบริเวณข้อต่อ
- เป็นโรคเก๊าท์ หรือเก๊าท์เทียม |
|
ภาวะแทรกซ้อนของข้ออักเสบ
หากภาวะ Arthritis เกิดบริเวณมือหรือแขน อาจทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากขึ้น
หรือหากเกิดบริเวณข้อต่อที่รับน้ำหนัก อาจทำให้เดินหรือลุกนั่งไม่สะดวก หรือข้อกระดูกอาจคดงอผิดรูปได้
และหากป่วยด้วยภาวะ Arthritis อย่างเรื้อรัง อาจทำให้ข้อต่อเสียหายอย่างถาวรจนขยับส่วนนั้น ๆ ไม่ได้ |
|
นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรครูมาตอยด์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย
เช่น ปากหรือตาแห้ง ปอดติดเชื้อ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน เป็นต้น |
|
การป้องกันข้ออักเสบ
- เลิกสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่
- ดูแลสุขภาพให้ดี โดยหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บและการติดเชื้อ
- รับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ซึ่งพบมากในปลาทะเล
- ออกกำลังกาย โดยเลือกกิจกรรมที่ส่งผลต่อข้อต่อที่รับน้ำหนักน้อย อย่างการเดินหรือการว่ายน้ำ
- ปรึกษาแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการ เพื่อลดความเสี่ยงอาการรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับข้อต่อ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/arthritis-ข้ออักเสบ-2 |
|
----------------------------------------------------------------------------------------- |
|
กระดูกอักเสบ |
|
Osteomyelitis หรือกระดูกอักเสบ เป็นภาวะติดเชื้อที่ลุกลามเข้าสู่กระดูก โดยทั่วไปมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
แต่ก็อาจเกิดจากเชื้อชนิดอื่นอย่างเชื้อราได้เช่นกัน ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก
โดยมีทั้งอาการแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็อาจทำให้กระดูก
เกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ |
|
อาการของกระดูกอักเสบ
- มีอาการปวด บวม หรือแดงในบริเวณที่มีการติดเชื้อ และอาจพบหนองร่วมด้วย
- มีไข้ หนาวสั่น
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้
- ไม่สามารถเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อที่มีอาการได้ หรือเคลื่อนไหวได้ลำบาก
- หากผู้ป่วยมีอาการในไขสันหลัง อาจทำให้ปวดหลังอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน
- ผู้ป่วยที่เป็นเด็กอาจมีอาการไม่สบายตัวหรืองอแงร่วมด้วย |
|
สาเหตุของกระดูกอักเสบ
- การติดเชื้อทางกระแสเลือด หรือการติดเชื้อที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อบริเวณปอด
หรือกระเพาะปัสสาวะแล้ว เชื้อแพร่กระจายไปยังกระดูกส่วนต่าง ๆ ในร่างกายจนผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ เป็นต้น
- การติดเชื้อจากแผลเปิด เชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายเมื่อเกิดบาดแผลและอาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปถึงกระดูกได้
โดยการเกิดแผลอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การผ่าตัด การบาดเจ็บ เป็นต้น
- การติดเชื้อจากเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใกล้เคียง บาดแผลที่เกิดขึ้นอาจอักเสบจนลุกลามไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ
แล้วแพร่กระจายไปยังกระดูกที่อยู่ใกล้เคียงกันด้วย |
|
ภาวะแทรกซ้อนของกระดูกอักเสบ
- ข้ออักเสบติดเชื้อ เป็นอาการที่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อสามารถเข้าสู่กระแสเลือดแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในกระดูกอ่อนหรือกระดูกภายในข้อต่อได้
- โรคเนื้อเยื่อกระดูกตาย คือ การติดเชื้อในกระดูกที่อาจทำให้การไหลเวียนของเลือดภายในกระดูกถูกขัดขวาง
รักษาได้โดยการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อบางส่วนออก เพื่อป้องกันเชื้อนั้นแพร่กระจาย เช่น
หากผู้ป่วยมีเนื้อเยื่อกระดูกตายที่แขนเป็นบริเวณกว้าง
แพทย์อาจต้องผ่าตัดแขนออกไป เป็นต้น
- การบาดเจ็บบริเวณแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก Osteomyelitis มักจะเกิดบริเวณกระดูกส่วน Growth Plate
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในเรื่องของความสูงและการเจริญเติบโต จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อการเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
- โรคมะเร็งผิวหนัง ภาวะ Osteomyelitis อาจส่งผลให้เกิดแผลเปิดและมีหนอง ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้น
มีความเสี่ยงสูง
ที่จะเกิดมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ตามมา
- การเจ็บป่วยซ้ำ หากได้รับการรักษาช้า แล้วมีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกและเนื้อเยื่อจนทำให้มีเลือด
ไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวไม่เพียงพอ
อาจนำไปสู่การเกิดความเสียหายอย่างถาวรหรือทำให้ผู้ป่วยมีแนวโน้ม
ที่จะกลับมาป่วยซ้ำอีก ซึ่งหากผู้ป่วยต้องรับการผ่าตัดหรือปลูกถ่ายกระดูก
ก็อาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการฟื้นตัว |
|
การป้องกันกระดูกอักเสบ
- การรักษาความสะอาด ผู้ที่มีแผลเปิดควรทำความสะอาดแผลก่อนใช้ผ้าพันแผล เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ
หรือผู้ที่ใส่อวัยวะเทียมก็ควรทำความสะอาดและเช็ดบริเวณนั้นให้สะอาด และหากแผลมีอาการรุนแรงก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่กำลังป่วย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรรับการรักษาเพื่อควบคุมความเสี่ยง
ที่อาจนำไปสู่ภาวะ Osteomyelitis
ส่วนผู้ที่ป่วยด้วย Osteomyelitis อย่างเรื้อรัง
ควรแจ้งประวัติการเจ็บป่วยให้แพทย์ทราบและเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อควบคุมอาการไม่ให้ป่วยรุนแรงขึ้น
- การป้องกันด้วยวิธีอื่น ๆ ควรสวมรองเท้าที่เหมาะสมและสวมอุปกรณ์ป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการกระโดด
วิ่ง
หรือการเล่นกีฬาต่าง ๆ รวมทั้งหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง ไปพบแพทย์เมื่อพบอาการป่วยที่อาจบ่งชี้
ถึงภาวะ Osteomyelitis
เนื่องจากหากตรวจพบและรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยป้องกันการป่วยอย่างรุนแรงหรือเรื้อรัง
อีกทั้งยังช่วยให้ฟื้นตัวจากการป่วยได้เร็วด้วย |
|
คัดลอกข้อมูลบ้างส่วนจาก : https://www.pobpad.com/osteomyelitis-กระดูกอักเสบ |
|
|
|
|
|