|
|
สรรพคุณดอกคำฝอย |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius L.
ชื่อสามัญ : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
วงศ์ : Compositae
ชื่อท้องถิ่น : คำ คำฝอย ดอกคำ (เหนือ) คำยอง (ลำปาง) ดอกคำฝอย คำ คำยอง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Carthamus tinctorius Linn. |
|
คำฝอย เป็นไม้ล้มลุก ในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) มีความสูง 40-130 เซนติเมตร
ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรี ใบหอก หรือขอบขนาน ขอบใบหยักฟันเลื่อย
ปลายเป็นหนามแหลม ใบประดับแข็งเป็นหนาม รองรับช่อดอก ดอกเป็นดอกช่อ
มีดอกย่อยขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ออกที่ปลายยอด ดอกอ่อนเป็นสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงภายหลัง
ผลแห้งไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก |
|
สารสีเหลืองส้มในกลีบดอกคือ Carthamin และ Sufflower yellow ใช้แต่งสีอาหาร
โดยนำดอกมาแช่น้ำร้อน และใช้ทำสีย้อมผ้ามาแต่โบราณ |
|
นอกจากนี้แล้ว ดอกของคำฝอยยังทำมาชงน้ำร้อนดื่มเพื่อสุขภาพได้แบบเก็กฮวยหรือน้ำชาได้อีกด้วย |
|
>> สรรพคุณของดอกคำฝอย <<
ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
- รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
- บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
- โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
- ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
เกสร
- บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
เมล็ด
- เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
- ขับโลหิตประจำเดือน
- ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
น้ำมันจากเมล็ด
- ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
ดอกแก่
- ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
คุณค่าด้านอาหาร
- ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
- ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ
หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า
หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
- ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow)
ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
|
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก :
- จากคอลัมน์ “พืชใกล้ตัว” โดย ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว
ของวารสาร “อภัยภูเบศรสาร” ปีที่ 4 ฉบับที่ 42 ประจำเดือน ธันวาคม 2549
- http://th.wikipedia.org โดยค้นหาคำว่า “ ดอกคำฝอย ” |
|
|
|
ที่มาของโรคน้ำเหลืองเสีย |
|
น้ำเหลือง (อังกฤษ: Lymph) คือของเหลวที่หมุนเวียนอยู่ในระบบน้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดขึ้นเมื่อสารน้ำแทรก
(ของเหลวซึ่งมีอยู่ตามร่องของเนื้อเยื่อ) มารวมกันผ่านหลอดน้ำเหลืองฝอย แล้วถูกส่งต่อผ่านท่อน้ำเหลือง
ไปยังต่อมน้ำเหลืองก่อนที่ในท้ายที่สุด จะถูกผสมรวมกับเลือดที่บริเวณหลอดเลือดดำ
ใต้กระดูกไหปลาร้าซ้ายหรือขวา องค์ประกอบของน้ำเหลืองจึงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ
ซึ่งทำให้เลือดและเซลล์ต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนองค์ประกอบกับสารน้ำแทรก
(ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำเลือดเพียงแต่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว) ในกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ประกอบ
น้ำเหลืองจะคืนโปรตีนและสารน้ำแทรกส่วนเกินไปยังกระแสเลือด
น้ำเหลืองอาจจับพาแบคทีเรียไปยังต่อมน้ำเหลือง
เพื่อกำจัด เซลล์มะเร็งเนื้อร้ายอาจถูกจับพาโดยน้ำเหลืองได้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ น้ำเหลืองอาจจับพาไขมันจากทางเดินอาหารอีกด้วย |
|
โรคน้ำเหลืองเสีย คืออะไร
ภาวะน้ำเหลืองไม่ดี Poor lymph disorder คือ ปรากฏการณ์ที่อวัยวะมีการอัดอั้น (congestion) ระบายน้ำเหลืองไม่ราบรื่น เมื่อเรื้อรังก็จะอุดอู้
ของเสียจะคั่งค้าง ไม่ถ่ายออกเทไป ทำให้ก่ออักเสบได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเกิดมีการแสลงอาหาร
จากผลิตภัณฑ์สัตว์ (เนื้อไข่นม)
ปนการแทรกซ้อนที่ติดเชื้อตามผิวหนัง กลายเป็นโรคน้ำเหลืองเสีย Bad lymph sickness |
|
โรคน้ำเหลืองไม่ดี มีอาการและอาการแสดงที่หลากหลายกว่าที่เราเคยรู้จักกันมา อาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มโรค Superfamily ที่ครอบคลุมไปถึง
เช่น โรคหลอดเลือดขอด โรคปวดเข่า(เสื่อม) โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังผื่นคัน โรคSLE โรครูมาตอยด์
โรคบวมไขมัน โรคอ้วน
โรคภาวะที่ช่วงล่างใหญ่ผิดสัดส่วน ต้นขาโต น่องอวบ โรคภาวะบวมต่างๆที่พบได้ในโรคเก๊าต์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รวมทั้งโรคมะเร็งและผลข้างเคียงจากมะเร็ง หรือจากการผ่าตัดรักษามะเร็ง เฉพาะกรณีหลังนี้ ประมาณว่า เรามีผู้ป่วยบวมไม่น้อยกว่า 300,000 คนทั่วประเทศไทย ที่เคยผ่านการผ่าตัดมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก |
|
ความเรื้อรังแห่งโรคทั้งหลายที่เมื่อเป็นมานานถึงระยะหนึ่งก็จะก่อสภาวะน้ำเหลืองไม่ดี ซึ่งจะขยายความรุนแรงของอาการ
และเพิ่มการลุกลามของโรค อาการเมื่อยน่อง เจ็บขา ปวดเอวในคนวัยทำงาน (เบื่อขึ้นบันได เดินไม่ทน เหนื่อยไว)
อาการ ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัวเจ็บไปทั้งตัว อาการเลือดลมไม่เดิน อาการลุกก็โอยนั่งก็โอย
เดินเหินไม่คล่องทั้งในคนทั่วไปหรือ ในผู้สูงอายุ อาการปวดในผู้ป่วยมะเร็ง เหล่านี้
ล้วนมีพื้นฐานร่วมบนภาวะน้ำเหลืองไม่ดี เราเคยให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย มะเร็งระยะสุดท้ายที
่ปวดทรมานต้องกินมอร์ฟีนวันละ 5-10 เม็ด
เมื่อเริ่มบำบัดน้ำเหลือง สามารถทำให้มอร์ฟีนเป็น ศูนย์ เม็ดได้ตั้งแต่วันแรก เป็นต้น |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/น้ำเหลือง
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://womenways.club/โรคน้ำเหลืองเสีย-คืออะไ/ |
|
|
|
ภาวะไขมันในเลือดสูง |
|
ในปัจจุบันสาเหตุของการตายที่พบบ่อย คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาจพบประมาณร้อยละ 50 ของประชากร
ภาวะระดับไขมันในเลือดสูง นับเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ซึ่งเป็นต้นเหตุความพิการของหลอดเลือด
อันเป็นผลจากการเพิ่มภาวะความไม่สมดุลของระดับไขมันทุกชนิดในกระแสเลือดของตนเอง
เป็นความผิดปกติที่อาจเกิดกับผู้ใดก็ได้ไม่จำกัด อายุ เพศ อ้วน หรือผอม |
|
ไขมันในเลือดมี 2 ประเภท
1. โคเลสเตอรอลได้มาจากการสังเคราะห์ที่ตับ หรือจากอาหารที่บริโภค มี 2 ชนิด คือ
- แอล-ดี-แอล (LDL) คือ โคเลสเตอรอลอันตราย
- เอช-ดี-แอล (HDL) คือ โคเลสเตอรอลดี |
|
2. ไตรกลีเซอไรด์ มี 2 ชนิด คือ
- ไคโลไมครอน ได้จากอาหารไขมันที่เราบริโภค
- วี แอล ดี แอล (VLDL) สังเคราะห์ที่ตับจากอาหาร แป้ง ของหวาน ผลไม้หวานที่เราบริโภค |
|
สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีความบกพร่องในการเผาผลาญสารไขมัน ความผิดปกตินี้ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้
ถ้าได้รับความผิดปกติถ่ายทอดมากจากทั้งบิดาและมารดาร่วมกัน ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงประมาณ 700-1,000 มก./ดล.
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเกิดตั้งแต่วัยเด็ก ถ้าไม่ได้รับการบำบัดจะเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี
ถ้าได้รับการถ่ายทอดความผิดปกติจากบิดา หรือ มารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายเท่านั้น ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงประมาณ
300-500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ถ้าไม่ได้รับการบำบัด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะเกิดเมื่ออายุประมาณ 20-30 ปีไปแล้ว
2. เกิดเป็นผลจากโรคอื่นซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การเผาผลาญสารไขมันผิดปกติ เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมไธรอยด์ไม่ทำงาน
โรคตับ โรคไต
โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเป็นจากการใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต
ยาคุมกำเนิดยากลุ่มสเตอรอยด์ และยาอื่นๆ อีกมาก
ที่ผู้ป่วยบริโภคอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ |
|
รายละเอียดที่ควรทราบก่อนไปตรวจระดับไขมันในเลือด
1. เมื่อใดควรไปตรวจ ถ้าอายุเลข 35 ปี ควรไปตรวจทันที ถ้าผลออกมาปกติ ควรไปตรวจซ้ำทุก 1-2 ปี
แต่ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นโรคอ้วน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์
โรคความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดสมองตีบให้ไปตรวจก่อนอายุ 35 ปี และควรไปตรวจซ้ำทุก 6 เดือนถึง 1 ปี
2. ถ้าไขมันในเลือดของท่านมีระดับสูงอยู่ในเกณฑ์ มีภาวะเสี่ยงสูง ต้องไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและต้องรับการรักษาทันที
โดยการควบคุมอาหารร่วมกับยารักประทานและต้องไปรับการตรวจทุก 6-8 สัปดาห์
3. บุตรหลานควรได้รับการตรวจ ถ้ามีประวัติครอบครัวมีโรคไขมันสูงจากกรรมพันธุ์หรือโรคหัวใจ
เพราะเด็กอาจมีภาวะหลอดเลือดโคโลนารีของหัวใจตีบตัน และเสียชีวิตโดยปัจจุบันได้
4. การเตรียมตัวไปตรวจ หลังอาหารเย็นแล้วงดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่า คือ ประมาณ 12-14 ชั่วโมง
ตอนเช้างดอาหาร
แล้วไปเจาะเลือดตอนราวๆ เวลา 07.30-08.00 น.
5. หนึ่งอาทิตย์ก่อนไปเจาะเลือด ควรรับประทานอาหารธรรมดา จึงจะได้ระดับไขมันถูกต้องตามความจริงเวลาไปเจาะเลือด
6. ควรไปตรวจที่ห้องทดลอง ซึ่งมีพยาธิแพทย์หรือพนักงานเทคนิคการแพทย์ที่เชื่อถือได้ ผลจากการทดลองจึงจะถูกต้อง
และห้องทดลองนั้นต้องมีการควบคุมมาตรฐานของเครื่องอย่างสม่ำเสมอ |
|
สรุปข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
1. ลดน้ำหนัก ลดอาหารแป้ง อาหารหวาน ผลไม้ เช่น น้ำส้มคั้น น้ำมะเขือเทศ ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง
2. งดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลด์ลดลง
3. ออกกำลังกายโดยการเดิน วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ หรือ เต้นแอโรบิค จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลดีสูงขึ้น
ซึ่งช่วยป้องกันให้ปลอดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ข้อควรระวัง: ควรไปรับการตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของหัวใจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจก่อนออกกำลังกาย
หมายเหตุ: ถ้าสภาพการทำงานของหัวใจดี ควรออกกำลังกายครั้งละ 20-30 นาที ประมาณอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
4. บริโภคน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วลิสงและน้ำมันมะกอกแทนไขมันจากสัตว์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีโคเลสเตอรอลสูง
เช่น หอยนางรม
เครื่องในสัตว์ ไข่แดง (ควรบริโภคเฉพาะไข่ขาว เพราะไข่ขาวไม่มีโคเลสเตอรอลเลย) ถ้าต้องการบริโภคไข่แดง
ควรบริโภคได้ไม่เกินอาทิตย์ละ 2 ฟอง การปรุงอาหารควรหลีกเลี่ยงการ ทอด ผัด ควรปิ้ง ย่าง หรือนึ่งแทน |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.saintlouis.or.th/article/show/_9-6-2019-12:40
ัคัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก :โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ |
|
|
|
|