|
|
สรรพคุณของว่านหางจระเข้ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว
ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน
แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระ
จะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด
ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย |
|
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เป็นยาภายใน
1. เป็นยาถ่าย : ใช้น้ำยางสีเหลืองที่มีรสขม คลื่นไส้ อาเจียน น้ำยางสีเหลืองที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของ
ใบกับตัววุ้น จะให้ยาที่เรียกว่า ยาดำ
วิธีการทำยาดำ
ตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบให้เป็นรูปสามเหลี่ยม (ต้องเป็นพันธุ์เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่
และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก) ต้นที่เหมาะจะตัด ควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป
จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปีที่ 3 และจะให้ไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบ
และปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะแข็งเป็นก้อน ยาดำ
มีลักษณะสีแดงน้ำตาล จนถึงดำ เป็นของแข็ง เปราะ ผิวมัน กลิ่นและรสขม คลื่นไส้ อาเจียน
สารเคมี : สารสำคัญในยาดำเป็น G-glycoside ที่มีชื่อว่า barbaloin
(Aloe-emodin anthrone C-10 glycoside) ขนาดที่ใช้เป็นยาถ่าย - 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม
ประมาณ 1-2 เม็ดถั่วเขียว บางคนรับประทานแล้วไซ้ท้อง
2. แก้กระเพาะและลำไส้อักเสบ : โดยเอาใบมาปอกเปลือกออก เหลือแต่วุ้น แล้วใช้รับประทาน
วันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
3. แก้อาการปวดตามข้อ : โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น หรืออาจจะใช้วิธีปอกส่วนนอกของใบออก
เหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับประทานวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ
เท่ากับ 2 ช้อนแกง บางคนบอกว่า เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้ อาการปวดตามข้อจะทุเลาทันที
แต่หลายๆ คนบอกว่า อาการจะดีขึ้นหลังจากรับประทานติดต่อกันสองเดือนขึ้นไป
สำหรับใช้รักษาอาการนี้ ยังไม่ได้ทำการวิจัย |
|
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เป็นยาภายนอก
เครื่องสำอางค์ :
- วุ้นจากใบสดชโลมบนเส้นผม ทำให้ผมดก เป็นเงางาม และเส้นผมสลวย
เพราะวุ้นของว่านหางจระเข้ทำให้รากผมเย็น เป็นการช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี
ผมจึงดกดำเป็นเงางาม นอกจากนั้นแล้ว ยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะด้วย
- สตรีชาวฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้รวมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า
(เนื้อในของเมล็ดสะบ้ามีสีขาว ส่วนผิวนอกของเมล็ดสะบ้ามีสีน้ำตาลแดง รูปร่างกลมแบนๆ
ใช้เป็นที่ตั้งในการเล่นสะบ้า) ต่อเนื้อในเมล็ดสะบ้าประมาณ ? ของผลให้ละเอียด
แล้วคลุกรวมกับวุ้น นำไปชโลมผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก ใช้กับผมร่วง รักษาศีรษะล้าน
- รักษาผิวเป็นจุดด่างดำ ผิวด่างดำนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมาก หรือถูกแสงแดด
หรือเป็นความไวของผิวหนังแต่ละบุคคล ใช้วุ้นทาวันละ 2 ครั้ง หลังจากได้ทำความสะอาดผิว
ด้วยน้ำสะอาด ต้องมีความอดทนมาก เพราะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ จึงจะหายจากจุดด่างดำ
แต่ถึงอย่างไรก็ดี ควรใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ทา จะทำให้ผิวหนังมีน้ำ มีนวลขึ้น
- รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อ ช่วยเรียกเนื้อ ช่วยลดความมันบนใบหน้า
เพราะในใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ
- โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังลองใช้กับคนไข้ที่เป็นแผล เกิดขึ้นจากนั่ง หรือนอนทับนานๆ ( Bed sore )
ปัจจุบัน มีเครื่องสำอางที่เตรียมขายในท้องตลาดหลายารูปแบบ เช่น ครีม โลชัน แชมพู และสบู่
สำหรับสาระสำคัญที่สามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และอื่นๆ นั้น
ได้ค้นพบว่าเป็นสาร glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A เป็น Anti-inflammatory
พบในทุกๆ ส่วนของว่านหางจระเข้ |
|
สารเคมี : ใบมี Aloe-emodin, Alolin, Chrysophanic acid Barbaboin, AloctinA, Aloctin B, Brady
Kininase Alosin, Anthramol Histidine, Amino acid , Alanine Glutamic acid Cystine,
Glutamine, Glycine. |
|
สรรพคุณในเครื่องสำอาง :
1.ใช้วุ้นของว่านหางจระเข้ ผสมในแชมพู ครีมนวดผม
2.ผสมครีมบำรุงผิว ลบจุดด่างดำ ลดฝ้าบนผิวหนัง
3.ใส่ผม ทำให้ผมหงอกช้า เป็นเงางาม
4.ใช้ส่วนที่เป็นวุ้นพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ช.ม
แล้วล้างออก ช่วยดูดสิวเสี้ยนและฆ่าเชื้อบนผิวหน้า |
|
ที่มาของข้อมูล : http://www.plantgenetic-rspg.org/ |
|
|
|
โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis) |
|
Gastroenteritis คือ อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต อาการที่พบได้ทั่วไป คือ ท้องเสียและอาเจียน
ซึ่งเชื้ออาจแพร่กระจายผ่านอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อน โดยทั่วไปผู้ป่วยอาจรักษาบรรเทาอาการจนดีขึ้นได้เองภายใน 1 สัปดาห์
แต่หากอาการไม่ทุเลาลงหรือทวีความรุนแรงขึ้น อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป |
|
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโรค
เมื่อเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบโดยทั่วไปก็จะหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษาทางการแพทย์
แต่ถ้าหากเกิดกับทารกหรือเด็กเล็กก็จะเป็นอันตรายมากขึ้นเพราะล่อแหลมต่อภาวะขาดน้ำ กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเป็นการติดเชื้อของลำไส้
ซึ่งมาจากการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ ปนเปื้อนด้วย เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือ ปรสิต หรือจาก คน ที่มีการติดเชื้อ |
|
อาการของโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ
อาการหลักของ Gastroenteritis คือ ท้องเสีย เพราะเมื่อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กติดเชื้อจนไม่สามารถกักเก็บของเหลวไว้ได้
ร่างกายจะขับถ่ายอุจจาระออกมาในลักษณะถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ โดยอาการท้องเสียและอาการอื่น ๆ มักปรากฏขึ้นภายใน 1 วัน
หลังจากติดเชื้อ และอาจหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ แต่อาการอาจยังคงอยู่นานกว่านั้นในบางกรณี ได้แก่
- คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาเจียนพุ่งอย่างรุนแรง
- ไม่อยากอาหาร
- ปวดเกร็งท้อง และมีเสียงโกรกกราก
- รู้สึกป่วย เป็นไข้อ่อน ๆ
- เหนื่อยล้า อ่อนแรง
- ปวดหัว หรือปวดกล้ามเนื้อร่วมกับอาการอื่น ๆ |
|
ภาวะแทรกซ้อนของโรค
มักเกิดกับเด็กเล็ก หรือผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 65 ปี ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ ภาวะขาดน้ำ ขาดสารอาหาร
และ อาการลำไส้แปรปรวน |
|
สาเหตุของการเกิดโรค
- กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ได้แก่ การติดเชื้อ ด้วย ไวรัส แบคทีเรีย หรือ ปรสิต
- บริโภคอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะอาหารทะเล ปลาดิบ หรือปลาที่ปรุงไม่สุกดี
- สัมผัสวัตถุหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น ใช้เครื่องครัวหรือของใช้ภายในบ้านที่สกปรก
- ไม่ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ หรือหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก
- ใกล้ชิดหรือได้รับเชื้อจากผู้ป่วย Gastroenteritis เพราะลมหายใจของผู้ป่วยอาจปนเปื้อนเชื้อจากอาเจียนออกมาด้วย
ซึ่งเชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ |
|
การป้องกันโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ
เนื่องจากโรค Gastroenteritis อาจแพร่กระจายได้ง่าย การป้องกันตนเองและคนใกล้ชิดจากการป่วยติดเชื้อจึงอาจทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งหลังไอ จาม เข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก และก่อนรับประทานอาหาร
- หากมีผู้ป่วย Gastroenteritis ในบ้าน ควรทำความสะอาดพื้นผิวต่าง ๆ ในบ้านเสมอ อาจใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
โดยเฉพาะในห้องน้ำและบริเวณโดยรอบจากการท้องเสียและอาเจียน
- ซักผ้าบ่อยครั้ง โดยแยกเสื้อผ้าและผ้าเช็ดตัวของผู้ป่วยออกจากผ้าอื่น ๆ
- ล้างอาหารและผักให้สะอาด ปรุงเนื้อสัตว์และไข่ให้สุกดีก่อนรับประทานทุกครั้ง และหากรับประทานอาหารเหลือ
ควรเก็บอาหารใส่ช่องแช่แข็งทันที
- ห้ามรับประทานปลาหรือเนื้อสัตว์ดิบ และห้ามรับประทานอาหารในภาชนะที่ใช้ใส่เนื้อสัตว์ดิบ
- หากเดินทางไปสถานที่ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ห้ามดื่มน้ำจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ผ่านการต้มมาก่อน
และควรดื่มน้ำบรรจุขวดที่ไม่ใส่น้ำแข็งทุกครั้ง
- ห้ามใช้ผ้าเช็ดตัว ช้อนส้อม และเครื่องใช้ในครัวอื่น ๆ ร่วมกับผู้ป่วย
- สำหรับผู้ป่วย Gastroenteritis ควรหยุดงาน งดไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กหลังจากติดเชื้อ 2 วัน
และควรหลีกเลี่ยงการไปเยี่ยมผู้ป่วยอื่น ๆ ที่โรงพยาบาลก่อน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
|
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/gastroenteritis-โรคกระเพาะอาหารและลำ
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.krabinakharin.co.th/กระเพาะอาหารและลำไส้อ้/ |
|
|
|
ปวดตามข้อบอกโรคอะไรบ้าง |
|
ปวดตามข้อ คือหนึ่งในลักษณะอาการที่บ่งบอกได้หลายโรคด้วยกัน ได้แก่ โรคเก๊าท์ โรครูมาตอยด์ ข้อเสื่อม และโรค เอส แอล อี
ซึ่งแต่ละโรคก็มีลักษณะอาการปวดตามข้อที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันออกไป เช่น |
|
(1) โรคเกาต์ อาการปวดที่เกิดขึ้น มักเกิดบวมแดงร้อนข้อแบบเฉียบพลัน แม้ว่าจะอยู่เฉย ๆ ไม่มีประวัติอุบัติเหตุ
ไม่ได้รับการกระทบกระแทกรุนแรงใด ๆ มีอาการปวดข้อเดียวไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ
ข้อที่พบว่าเป็นโรคเกาต์ได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า |
(2) ข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อม ระยะเริ่มต้นจะมีอาการปวดสัมพันธ์กับการใช้งาน ระยะปานกลาง เมื่อกระดูกอ่อนเริ่มสึกกร่อน
ข้ออาจมีการอักเสบร่วมกับข้อเริ่มโค้งงอ เหยียดงอไม่สุด ระยะรุนแรง เมื่อกระดูกอ่อนสึกกร่อนมากขึ้น ข้อเริ่มหลวมไม่มั่นคง
ข้อหนาตัวขึ้น จากกระดูกงอกหนา ข้อโก่งงอ ผิดรูปชัดเจน เวลาเดินต้องกางขากว้างขึ้น กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง
ขณะลุกขึ้นจากท่านั่งจะมีอาการปวดที่รุนแรง |
(3) เอส แอล อี โรค เอส แอล อี เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายอวัยวะหรือหลายระบบของร่างกาย
บางรายอาการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน
บางรายมีการแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทีละระบบ
มักมีอาการทางข้อและกล้ามเนื้อเป็นอาการนำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ
มักเป็นข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้า บางครั้งมีบวมแดงร้อนร่วมด้วยคล้ายผู้ป่วยรูมาตอยด์
แต่บางรายอาจรุนแรงถึงชีวิต |
(4) รูมาตอยด์ โรครูมาตอยด์ อาการปวดข้อมักเกิดมากที่สุดช่วงตื่นนอน อาจมีอาการอยู่ 1 - 2 ชั่วโมง
หรือทั้งวันก็ได้ มีอาการปวด บวม และเคลื่อนไหวข้อลำบาก
ตำแหน่งของข้อที่มีอาการปวดมากที่สุดมักจะเป็นที่ข้อมือ และข้อนิ้วมือ แต่มีโอกาสปวดข้อไหนก็ได้
ลักษณะอาการปวดข้อช่วงเช้านี้ เป็นลักษณะสำคัญของโรครูมาตอยด์ นอกจากอาการทางข้อแล้ว
ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ตาแห้ง
ปากแห้งผิดปกติ พบก้อนใต้ผิวหนังบริเวณข้อศอกและข้อนิ้วมือ |
|
สาเหตุ
โรครูมาตอยด์เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานอย่างหนึ่ง โดยภูมิต้านทานของผู้ป่วยมีการทำลาย
และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ และกระดูกรอบข้อ บางรายรุนแรงจนพิการจากกระดูกถูกทำลาย ผิดรูป จากความก้าวหน้าทางการแพทย์ในระยะหลัง ทำให้เกิดความเข้าใจถึงตัวแปรต่าง ๆ
ในกระบวนการอักเสบมากขึ้นจนมีการค้นพบตัวยาใหม่ ๆ ที่จะยับยั้งขบวนการอักเสบ และลดการทำลายของข้อ ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว
จะสามารถยับยั้งการทำลายของเนื้อเยื่อและกระดูกรอบข้อได้ โรครูมาตอยด์จะพบได้ประมาณร้อยละ 0.5 - 1.0 ของประชากรในประเทศไทย
|
|
การรักษา
การรักษาโรคมีอยู่ 4 วิธีด้วยกัน คือ
- การใช้ยา ในปัจจุบันมียามากมายที่ใช้ในการควบคุมและรักษาโรครูมาตอยด์ให้ได้ผลดี
ยาเหล่านี้ได้แก่ยารักษารูมาตอยด์โดยเฉพาะ ยาที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคสารชีวภาพ
และยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์
- การพักผ่อนและการบริหารร่างกาย
- การป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายมาก
- การผ่าตัด จะมีบทบาทในการรักษาโรครูมาตอยด์ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว
|
|
คัดลอกข้อมูลจาก : https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/top-4-arthritis-do-not-overlook
ัคัดลอกข้อมูลจาก : นพ.สุรราชย์ ธำรงลักษณ์ แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม โรงพยาบาลกรุงเทพ |
|
|
|
โรครูมาตอยด์ |
|
ความหมาย รูมาตอยด์
รูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคที่มีการอักเสบของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย
ไม่ใช่เพียงที่ข้อ
เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติและไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตัวเอง
ในผู้ป่วยบางรายพบว่ามีภาวะที่มีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ และหลอดเลือด |
|
|
|
อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีอาการปวดดำเนินอย่างช้า ๆ อาจนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน
มีอาการเหนื่อยอ่อนและเมื่อยล้า รวมไปถึงอาจพบว่ามีน้ำหนักตัวลดลงและมีไข้อ่อน ๆ |
|
อาการอื่น ๆ ของโรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ |
- มีอาการปวด บวม แดง อุ่น ข้อฝืด โดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันในร่างกาย
เช่น มือ ข้อมือ ข้อศอก เท้า ข้อเท้า เข่า และคอ
- อาการข้อฝืดแข็ง อาจเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว
เช่น ตอนตื่นนอนในตอนเช้า หรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ
- ปุ่มรูมาตอยด์ (Rheumatoid Nodules) ปุ่มเนื้อนิ่ม ๆ ที่มักเกิดบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ
เช่น ข้อศอก ข้อนิ้วมือ กระดูกสันหลัง |
|
ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ประมาณ 40% จะพบว่ามีอาการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อต่อ
และอาจส่งผลต่ออวัยวะส่วนอื่น ๆ
เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ ไต ต่อมน้ำลาย เส้นประสาท
ไขกระดูก หลอดเลือด
อาการและสัญญาณของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจแตกต่างกันไป
ตามความรุนแรง และอาการอาจกำเริบและสงบลงเป็นพัก ๆ ได้ |
|
|
|
สาเหตุของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ |
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จะเกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายตัวเอง
โดยจะทำลายเยื่อหุ้มข้อ (Synovium)
เป็นผลทำให้เกิดการอักเสบและบวมขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้ว
อาจทำลายกระดูกอ่อนและกระดูกของข้อต่อ
รวมไปถึงเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูก
หรือเอ็นข้อต่อจะเปราะบางลงและยืดขยายออก จากนั้นข้อต่อก็จะค่อย ๆ ผิดรูปหรือบิดเบี้ยว |
|
ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงต้นตอของการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่แน่ชัด ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้
จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ในขณะที่ยีนอาจไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง
แต่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีความไวต่อปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมได้
เช่น การติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่กระตุ้นการเกิดโรค |
|
ภาวะแทรกซ้อนของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
การป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาไปเป็นโรคต่าง ๆ ได้ ดังต่อไปนี้ |
|
- โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ภาวะที่กระดูกมีความเสื่อมและเปราะบางลงทำให้แตกร้าวได้ง่าย
ซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดจากยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ปุ่มรูมาตอยด์ (Rheumatoid Nodules) ตุ่มบวมมักเกิดขึ้นบนร่างกายในบริเวณที่มีการเสียดสี
เช่น ข้อศอก อย่างไรก็ตาม ตุ่มบวมนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกายรวมไปถึงปอด
- ตาแห้งและปากแห้ง ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักจะพบว่าเกิดโรคปากแห้งตาแห้ง
หรืออาจเป็นโรคโจเกรน (Sjogren's Syndrome) ได้
- การติดเชื้อ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และยาที่ใช้รักษา สามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
และนำไปสู่การติดเชื้อได้ในที่สุด
- โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)
หากเป็นโรครูมาตอยด์ที่เกิดขึ้นที่ข้อมือ การอักเสบสามารถทำให้เกิดการกดทับ
เส้นประสาทที่มีผลต่อการทำงานของมือและนิ้วมือ
- ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์มีความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดอุดตันหรือหลอดเลือดแข็ง
รวมถึงเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งเกิดจากภาวะอักเสบในร่างกาย
- โรคปอด ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอดและเกิดพังผืดที่เนื้อเยื่อปอด
ซึ่งสามารถทำให้เกิดการหายใจลำบากหรือหายใจสั้น
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
|
|
การป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ |
โรครูมาตอยด์เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่เมื่อเป็นแล้วสามารถบำบัดรักษาให้ใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด
ซึ่งเมื่อเป็นโรคนี้แล้ว ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการได้โดยการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน
ด้วยการมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น มีความกระฉับกระเฉง
ทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง รวมไปถึงการเลี่ยงพฤติกรรมที่ต้องใช้ข้อมาก ๆ
นอกจากนั้น ต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบตามเวลาและสม่ำเสมอ
เพราะแม้ว่าจะมีอาการที่ดีขึ้นแล้วก็ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง
เพื่อป้องกันปัญหาและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ข้อเสื่อมหรือข้อถูกทำลาย |
|
ภาพประกอบจาก : https://health.kapook.com/view122574.html
และ https://www.pobpad.com/รูมาตอยด์
คัดลอกข้อมูลจาก : https://www.pobpad.com/รูมาตอยด์ |
|
|
|