|
|
อึ้งคี้หรือปักคี้
อึ้งคี้ หรือปักคี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Astragalus membranaceus Bge. Var. monglolicus
และมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Milkvetch Root เป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว
มีขึ้นตามเนินเขาหรือตามชายป่า นอกจากนี้ยังพบเห็นได้ตามพื้นทรายบริเวณชายฝั่งแม่น้ำ
หรือทุ่งหญ้า อึ้งคี้เป็นพืชพื้นเมืองของจีน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เช่น มองโกเลีย
ซานซี และเฮยหลงเจียง ดังนั้น จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ตังปักอึ้งคี้ หรือเรียกกันย่อๆ จนติดปากว่า ปักคี้
อึ้งคี้หรือปักคี้ จะมีกลิ่นหอมและมีรสหวานเล็กน้อย โดยต้องตัดเอาส่วนที่กลวงและรากฝอยออก
แล้วตากแดดให้แห้ง จึงจะใช้ได้ |
|
สารที่พบ น้ำตาลซูโครส กลูโคส กรดอะมิโนหลายชนิด มิวซิน โคลีน บีเทน กรดฟอลิค เป็นต้น |
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ ราก ซึ่งจะต้องตัดเอาส่วนที่กลวง และรากฝอยออก แล้วตากแดดให้แห้งจึงจะใช้
เป็นยาได้ อึ้งคี้มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลมขับปัสสาวะและเสริมภูมิต้านทานโรค
จึงใช้บำบัดอาการ อ่อนล้า ดากหลุดบวมน้ำ และแผล ได้ผลเป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เหมาะสำหรับใช้เป็นยาบำรุงในคนชรา และผู้มีร่างกาย อ่อนแอ เพราะจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียน
ของน้ำในร่างกาย และลดความดันโลหิต โดยอาจใส่อึ้งคี้เล็กน้อย ชงน้ำดื่มก็ได้ |
|
อึ้งคี้จึงเป็นยาจีนบำรุงตัวหนึ่งที่นิยมกันมาก เพราะตำราเภสัชศาสตร์ของจีนได้จัดอึ้งคี้ไว้ในทำเนียบ
ยาดีไม่แพ้โสม โดยระบุไว้ว่า “ อึ้งคี้เป็นยาบำรุงภายนอก ส่วนโสมเป็นยาบำรุงภายใน ”
ดังนั้นหากใช้ร่วมกับโสมจะช่วยบำรุงร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ และได้สรรพคุณดีมากด้วย
และเนื่องจากว่าวิธีปรุงที่ไม่เหมือนกัน เช่น อบ ตากแห้ง รมควัน จึงทำให้อึ้งคี้ ออกฤทธิ์ต่างกัน
เช่น อึ้งคี้สด จะสร้างเนื้อเยื่อบำบัดอาการที่เห็นภายนอก ส่วนอึ้งคี้รมควันจะใช้บำรุงอวัยวะภายใน เป็นต้น |
|
ข้อห้าม ผู้ที่เป็นหวัด ร้อนใน แน่นท้อง อืดเฟ้อ ห้ามรับประทาน
ข้อสังเกตุ อึ้งคี้ที่ดีจะมีรากใหญ่ เปลือกดำ เนื้อเหนียวแต่นิ่มและไม่กลวง
เนื้อจะมีสีเหลืองมีลายคล้ายดอกเก๊กฮวยตามรอยตัดขวางของเนื้อ รสหวาน กลมกล่อม |
|
คัดลอกข้อมูลมาจาก :
- http://www.souppla.com/history/ungkee.htm
- http://cul.hcu.ac.th/index.php/km/35-herp/53-2009-08-15-04-52-56.html
( ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ) |
|
|
|
ร้อนใน เกิดจากอะไร |
|
ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Aphthous Ulcers) คือแผลขนาดเล็กและตื้น มีสีเหลืองหรือขาวล้อมรอบด้วยสีแดง
เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากหรือเหงือก บางรายก็พบว่าเกิดขึ้นบริเวณด้านในริมฝีปาก แก้มหรือลิ้น เป็นแผล
ทำให้เกิดความเจ็บและรับประทานอาหารหรือพูดคุยได้ลำบาก |
|
โดยส่วนใหญ่ แผลร้อนในจะสามารถหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์ โดยที่ไม่ต้องรักษา แต่ก็มีวิธีต่าง ๆ
ที่จะช่วยบรรเทาอาการของแผลร้อนในได้ แต่หากพบว่าแผลร้อนในมีขนาดใหญ่กว่าปกติหรือมีความเจ็บปวดมากกว่าปกติ
และไม่มีทีท่าว่าจะหายไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษา |
|
อาการร้อนใน
อาการแผลร้อนในจะเป็นแผลบวมแดงและเจ็บขึ้นในช่องปาก เช่น บริเวณแก้ม ลิ้นหรือด้านในริมฝากปาก
เป็นแผลสีแหลืองหรือขาวเป็นวงกลมหรือรี บวมแดงและมีอาการเจ็บที่แผล บางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
เช่น ต่อมน้ำเหลืองบวม เป็นไข้ หรือรู้สึกไม่สบาย |
|
หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์
- แผลร้อนในที่ใหญ่กว่าปกติ
- แผลเดิมยังคงอยู่ แต่มีแผลใหม่เกิดขึ้นก่อนแผลเก่าจะหาย หรือพบว่าเป็นบ่อย
- เป็นแผลร้อนในนาน 2 สัปดาห์หรือมากกว่า
- แผลที่ลุกลามไปยังบริเวณริมฝีปาก
- แผลที่ไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง
- รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มได้ลำบากมาก
- เป็นแผลร้อนในพร้อมกับมีไข้สูง |
|
ผู้ที่มีผิวฟันแหลม หรือมีอุปกรณ์ทันตกรรมในช่องปากที่อาจกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนใน ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข้ |
|
สาเหตุของอาการร้อนใน
สาเหตุของการเกิดแผลร้อนในยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยโอกาสที่จะเป็นแผลร้อนในจะเพิ่มมากขึ้นหากพบว่ามีสมาชิกในครอบครัว
มักเป็นแผลร้อนใน ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน
เช่น เกิดจากสารก่อภูมิแพ้หรืออาหารบางชนิด รวมไปถึงสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดแผลร้อนใน ได้แก่
- การตอบสนองต่อแบคทีเรียในปาก
- เชื้อไวรัส
- เกิดการบาดเจ็บที่ปาก
- เกิดจากความเครียด
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- มีประจำเดือน
- มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
- การแพ้อาหาร หรือการขาดวิตามินและแร่ธาตุ |
|
ภาวะแทรกซ้อนของอาการร้อนใน
- เกิดความเจ็บและลำบากในการพูด แปรงฟัน หรือรับประทานอาหาร
- เกิดความอ่อนเพลีย
- เป็นไข้
- เกิดการอักเสบของผิวหนังบริเวณข้างเคียง |
|
การป้องกันอาการร้อนใน
- การดูแลสุขภาพและอนามัยของช่องปาก แปรงฟันหลังมื้ออาหารเป็นประจำหรือใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง
จะช่วยให้ช่องปากสะอาดไม่มีเศษอาหารที่อาจกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนใน ควรหลีกเลี่ยงยาสีฟันที่มีส่วนผสม
ของโซเดียม ลอริล ซัลเฟต หรือหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง นอกจากนั้น สำหรับผู้ที่จัดฟันอาจมีส่วนที่มีความคม
ทำให้บาดและอาจเกิดแผลร้อนในได้
ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาทางป้องกัน
- การรับประทานอาหาร พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้เกิดความระคายเคืองในปาก เช่น ถั่วทอด
มันฝรั่งทอด อาหารที่มีรสจัด
อาหารเค็มจัดและผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น สับปะรดหรือส้ม
รวมไปถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
จะช่วยป้องกันการขาดวิตามินและแร่ธาตุ ควรรับประทานผักและผลไม้หรือธัญพืชมาก ๆ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/ร้อนใน |
|
|
|
|
|
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ |
|
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ คือ ภาวะที่เกิดมีการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่อาจเกิดจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อและ/หรืออวัยวะต่างๆ
แล้วส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงเกิดการอักเสบตามไปด้วย โดยไม่มีการติดเชื้อในต่อมน้ำเหลือง
(เช่น ฟันผุ แล้วส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ) หรือจากการอักเสบติดเชื้อของต่อมน้ำเหลืองเอง (เช่น วัณโรคต่อมน้ำเหลือง)
หรือจากการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองโดยไม่ได้มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อก็ได้ (เข่น ในโรคออโตอิมมูน) |
|
ต่อมน้ำเหลือง เป็นเนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง โดยมีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆรูปไข่ นุ่ม เคลื่อนที่ได้เล็กน้อย
มีขนาดเล็กเป็นมิลลิเมตร
ในภาวะปกติมักคลำไม่พบเพราะจะอยู่ปนไปกับเนื้อเยื่อไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ
ต่อมน้ำเหลืองจะมีกระจายอยู่ทั่วตัวในทุกอวัยวะ
ยกเว้นในสมอง มีหน้าที่สำคัญ คือเป็นตัวดักจับสิ่งแปลกปลอมต่างๆ
ที่เข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะเชื้อโรค นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคให้กับร่างกายด้วย |
|
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะที่เกิดจากมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ/อวัยวะใดๆ
แล้วส่งผลให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงตามมา แต่ไม่มีรายงานความชุกของภาวะนี้
อย่างไรก็ตาม เป็นภาวะที่พบได้ในทุกวัยตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ และพบได้ในทั้งในเพศหญิงและเพศชายเท่าๆกัน |
|
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ อาจเกิดเพียง ต่อมเดียว หลายๆต่อมพร้อมๆกัน ในหลายตำแหน่ง (เช่นคอ รักแร้ ขาหนีบ)
และ/หรือ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ทั้งนี้ ขึ้นกับสาเหตุ และ/หรือ ตำแหน่งของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เกิดการอักเสบ |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
- มีแผลและ/หรือการอักเสบในอวัยวะต่างๆเช่น ผิวหนัง ช่องปาก อวัยวะเพศ
- มีการติดเชื้อในอวัยวะระบบต่างๆของร่างกาย
- มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเอดส์
- ผู้ป่วยมะเร็ง |
|
สาเหตุของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
- เกิดจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อและ/หรืออวัยวะต่างๆเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด
แล้วส่งผลทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงอักเสบตามไปด้วย
โดยไม่มีการติดเชื้อที่ต่อมน้ำเหลือง
- อาการจากการมีแผลหรือการอักเสบของอวัยวะใกล้เคียงเช่น โรคเหงือก ฟันผุ หรือมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอ
ร่วมด้วย
เมื่อมีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคหวัด โรคหัด หรือต่อมน้ำเหลืองโต บวม แดง เจ็บ
เป็นหนองที่มีสาเหตุเกิดจากต่อมน้ำเหลือง ติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น |
|
อาการของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
- มีอาการบวม หรือกดเจ็บที่บริเวณต่อมต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ
- ต่อมน้ำเหลืองเกิดอาการแข็งตัว หรือขยายตัวอย่างผิดปกติ
- ผิวหนังบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองอักเสบแดง หรือมีริ้วสีแดงขึ้น
- มีหนองในต่อมน้ำเหลือง
- มีของเหลวไหลออกมาจากต่อมน้ำเหลืองและคั่งอยู่ที่ผิวหนัง
- ผิวหนังบริเวณรอบๆต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบมีอาการบวม |
|
การป้องกันต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดของภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบคือ ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ที่มีอาการไข้ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือการอักเสบ
โดยหากมีอาการบวมกดเจ็บ และคลำเจอก้อนใต้ผิวหนัง
หรือรู้สึกเหมือนมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นที่ใต้ผิวหนังบริเวณใดบริเวณหนึ่งในร่างกายอย่างผิดปกติ
ไม่ควรเจาะ หรือเกา เนื่องจากอาจทำให้อาการยิ่งรุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ |
|
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบนั้น สามารถป้องกันอาการรุนแรงหรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
โดยการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกชนิด
หากไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน เมื่อมีอาการเจ็บปวด หรือมีอาการบวมบริเวณที่เป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ควรใช้ของเย็นประคบ
จะช่วยบรรเทาอาการได้ ทั้งนี้ หากและปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม อาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบก็อาจหายอย่างรวดเร็ว
แต่คงต้องใช้ระยะเวลาสักพักว่าอาการต่อมน้ำเหลืองบวมจะลดลง ผู้ป่วยควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
หากมีสัญญาณบ่งบอกถึงการกลับมาเป็นซ้ำของต่อมน้ำเหลืองอักเสบควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้วางแผน
และหาวิธีป้องกันความรุนแรงของต่อมน้ำเหลืองอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.mccormickhospital.com/web/articles/blogs/ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลแมคคอร์มิค |
|
|
|
|
|