aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
Fo-ti หรือโชวู
 
โชวู (He Shou Wu, Ho Shou Wu) หรือ Fo-Ti คือ สมุนไพรชนิดหนึ่งในตระกูล Smartweed
ชื่อวิทยาศาตร์ คือ Polygonum multiflorum พบในแถบเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน
 
ลักษณะทั่วไปของ สมุนไพรชนิดนี้ เป็นพืชประเภทไม้เลื้อย เจริญงอกงามในลักษณะที่แผ่กิ่งก้านสาขา
และบิดพันกัน ยาวประมาณ 30 ฟุต และสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ประมาณ 4 ตารางฟุต
โดยเจริญขึ้นไป ตามไม้ระแนง ในเวลาประมาณ 2 เดือน พืชชนิดนี้จะยังคงเขียวสดตลอดปีแม้ในฤดูหนาว
 
โชวู นิยมใช้กันมานานนับศตวรรษ โดยเชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ใช้มีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ
มีความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า ไม่แก่ก่อนวัย และช่วยให้อายุยืน นอกจากนี้ โชวู ยังได้รับความนิยม
ในหมู่ผู้สูงอายุ โดยเชื่อว่า จะช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดีแข็งแรง และรักษาสีผมให้ยังคงดำเงางามไม่เปลี่ยนแปลง
เป็นเทาหรือขาวไปตามกาลเวลา สำหรับผมที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือขาวแล้วก็จะสามารถกลับเป็นดำได้
โดยจะเริ่มเห็นผลภายใน ระยะเวลา 60 ถึง 90 วัน นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า โชวู จะะช่วยคงความอ่อนวัย สดใส
และมีความเป็นหนุ่มเป็นสาวไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุขัย
 
ข้อมูลการศึกษาประสิทธิภาพของโชวูในแง่ การรักษาอาการผมร่วง จาก Hospital of Prevention
and Therapeutics/Chemical Industry - Shashi, Hubei
ประเทศจีน พบว่า ผู้ป่วย 882 ราย
ที่มีอาการผมร่วง และได้รับการรักษาด้วยโชวู เป็นเวลา 3 เดือน ปรากฏว่า 630 รายสามารถรักษาให้หายได้
และ มีเพียง 48 รายที่ไม่มีการตอบสนองใด ๆ ต่อการรักษา คิดเป็นอัตราการตอบสนองต่อการรักษาคือ ร้อยละ 94.56
 
โดยในขั้นต้นพบว่าสมุนไพรโชวู มีความสามารถที่โดดเด่นในการทำความสะอาดร่างกาย
โดยการทำความสะอาดและการบำรุงตับและไต เมื่ออวัยวะเหล่านี้ ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
เป็นผลให้ระบบการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกายดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีกับการเพิ่มจำนวนของออกซิเจน
วิตามิน และสารอาหารที่จำเป็นส่งถึงรากผม และการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมได้
 
การใช้สมุนไพรชนิดนี้สืบต่อกันมาของชาวจีน มักเป็นการใช้เพื่อบำรุงร่างกายให้มีสุขภาพดี ทำให้รู้สึกสดชื่น
บำรุงตับและไต กระดูกและกล้ามเนื้อ รักษาอาการตาพร่ามัว ชาตามปลายมือปลายเท้า ลดอาการพิษจากแผล ฝี
คอพอก วัณโรคในต่อมน้ำเหลือง นิ่วในไต และระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ทำให้ผมดำเงางาม ดูอ่อนกว่าวัย เพิ่มสมรรถภาพเพศและการเจริญพันธุ์ในผู้ชายและผู้หญิง พบว่าสามารถเพิ่มจำนวนสเปิร์ม
ในผู้ชายและช่วยสร้างน้ำอสุจิได้มากขึ้นได้แม้จะอยู่ในวัยชรา ทั้งยังช่วยสร้างไข่ในผู้หญิงได้เช่นกัน
 
งานวิจัยในปัจจุบัน จะกล่าวถึงสรรพคุณในแง่ของการลดระดับคอเลสเตอรอล เนื่องจากพบว่าในรากของ
สมุนไพรดังกล่าว มีสารจำพวกเลซิติน นอกจากนี้ ยังมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการนอนไม่หลับ
แก้ไขอาการท้องผูก โดยมีฤทธิ์เป็นยาระบายอย่างอ่อนด้วยการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ ช่วยให้ความจำดี
บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า และช่วยลดความดันโลหิต จึงสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจด้วย
 
งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของโชวู ในการรักษาการติดเชื้อมาลาเรีย พบว่า การใช้รากของ Polygonum multiflorum
ที่ผ่านการต้มแล้วร่วมกับรากของ Glycyrrhizae ในผู้ป่วยมาลาเรีย 17 ราย มี 15 รายที่สามารถรักษาให้หายได้
แต่หลังจากนั้น 4 เดือน ผู้ป่วย 2 รายมีอาการกลับเป็นซ้ำ แต่ สามารถรักษาได้โดยใช้ยาตัวอื่นร่วมด้วย
และในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด มีเพียงไม่กี่รายที่มีอาการท้องร่วงและ ปวดท้องเล็กน้อย นักวิจัยที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับ
สมุนไพรชนิดนี้ยังคาดว่า โชวู อาจมีสารประกอบบางตัวที่มี ผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ และอาจมีฤทธิ์ต่อต้าน
การอักเสบ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานนี้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์แต่อย่างใด ในเภสัชเวทของจีนระบุว่า โชวู
ใช้รักษา neurasthenia, อาการนอนไม่หลับ เหงื่อออกมากผิดปกติ วิงเวียนศีรษะ ปวดหลัง และอาการที่เกี่ยวกับวัณโรค
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยดั้งเดิมของจีนที่กล่าวว่า โชวู มีความสามารถในการเป็น anti-toxic, ลดอาการบวม
และมีคุณสมบัติเป็น transquilizer
 
เภสัชวิทยาและงานวิจัยทางคลินิก ผลต่อ lipid metabolism รากของ Polygonum multiflorum
ที่ผ่านความร้อนแล้วสามารถ ลดระดับโคเลสเตอรอลในกระต่ายที่ถูกทำให้มีภาวะโคเลสเตอรอลสูง
นอกจากนี้ ยังสามารถลดการดูด ซึมของคอเลสเตอรอลในลำไส้กระต่ายได้อีกด้วย
ในการทดลองจะแบ่งกระต่ายเป็น 2 กลุ่ม โดยทั้ง 2 กลุ่ม จะให้อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
เช่นเดียวกัน แต่กลุ่มหนึ่งจะให้สมุนไพรโชวูควบคู่กันไปด้วย พบว่า กลุ่มที่ได้รับสมุนไพร
มีระดับคอเลสเตอรอล ในเลือดต่ำกว่า และมีความเสี่ยงต่อการเกิด artherosclerosis ต่ำกว่ากลุ่ม
ควบคุมซึ่งไม่ได้รับสมุนไพรใดๆ การใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง ในงานวิจัยงานหนึ่งพบว่า
ผู้ป่วย 88 รายที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง และได้รับประทานรากที่ผ่านการต้มของ Polygonum multiflorum
มีระดับคอเลสเตอรอลลดลง 78 ราย มี 8 รายที่ระดับคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น และมีเพียงไม่กี่รายที่มีอาการหน้าร้อนแดง
หรือถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น
 
ผลต่อ glucose metabolism ในการทดลอง ที่ใช้หนูซึ่งถูกตัดต่อมหมวกไตออกแล้วมา อดอาหาร
และให้รับประทานรากของ Polygonum multiflorum ที่ผ่านการต้มแล้ว พบว่า ระดับ glycogen
จากตับเพิ่มขึ้น 6 เท่า โดยเพิ่มขึ้นสูงสุดภายในเวลา 30 - 60 นาทีและลดลงสู่ระดับปกติหลังจากผ่านไป 6 ชั่วโมง
และยังพบด้วยว่า สมุนไพรสดที่ไม่ผ่านความร้อน จะไม่ให้ผลดังกล่าว ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ
ในการทดลองแบบ in vitro พบว่า รากของ Polygonum multiflorum ที่ผ่านการต้มแล้วมีผลในการยับยั้ง
Mycobacterium tuberculosis
 
ข้อมูลความปลอดภัย : ยังไม่มีการศึกษาถึงความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรชนิดนี้ในเด็ก
หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และผู้ป่วยโรคตับหรือไต แต่อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงจากโชวู
ที่เกิดขึ้นหลังจากการรับประทานซึ่งพบไม่บ่อยนัก ได้แก่ อาการท้องร่วงและอาจพบผื่นแพ้ได้บ้างเล็กน้อย
 
คัดลอกข้อมูลจาก : องค์การเภสัชกรรม, http://www.gpo.or.th/
                            http://www.naturalnews.com/026786_He_Shou_Wu_herb_liver.html
 

 
นอนไม่หลับ
 
นอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นโรคความผิดปกติในการนอน นอนยาก ไม่ง่วงเมื่อถึงเวลานอน นอนหลับไม่สนิท
นอนแล้วตื่นกลางดึก ตื่นแล้วกลับไปนอนไม่ได้อีก หรือแม้จะรู้สึกอ่อนเพลียเพียงใดก็ไม่สามารถนอนหลับได้
กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่รบกวนจิตใจและกระบวนการทำงานของร่างกาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น
 
อาการของโรคนอนไม่หลับ
- นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ใช้เวลานานกว่าจะนอนได้
- หลับยาก นอนดึก ตื่นสาย
- นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ รู้สึกตัว ตื่นขึ้นกลางดึก
- ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับต่อไปได้อีก
- อ่อนล้า หมดแรง ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า
- ง่วงนอนตลอดเวลาในตอนกลางวัน นอนไม่หลับในตอนกลางคืน
- ร่างกายอ่อนเพลีย ต้องการการพักผ่อน แต่ก็ยังนอนไม่หลับ หลับยาก
- ไม่มีสมาธิ ทำงานผิดพลาด ความจำไม่ดี
 
สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
การนอนไม่หลับเกิดจากหลายสาเหตุปัจจัย ดังนี้
 
ปัจจัยทางด้านร่างกาย
มีอาการเจ็บป่วยของโรคอยู่แล้ว หรือเจ็บปวดตามจุดและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับแทรกซ้อน
เช่น โรคกระเพาะอาหาร ไมเกรน ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง หรือโรคการหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ
(Sleep Related Breathing Disorders) หรือกรนขณะนอนหลับก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สัมพันธ์ต่ออาการนอนไม่หลับ
โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะหยุดหายใจเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และตื่นขึ้นมาเรื่อย ๆในขณะนอนหลับ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการเกร็งและการกระตุก อาจทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นกลางดึก
นอนหลับไม่สนิทหรือนอนไม่หลับอีกเลยได้เช่นกัน
 
อีกส่วนหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ปกติเมื่อร่างกายเจริญเติบโตตามช่วงวัยต่าง ๆ และมีอายุเพิ่มมากขึ้น
ความต้องการในการนอนหลับพักผ่อนจะลดน้อยลง เพราะร่างกายจะผลิตสารเซโรโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมน
ที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดลง จึงมักพบปัญหาการนอนไม่หลับได้มากในช่วงวัยกลางคนเข้าสู่วัยชรา ในวัยชรา และผู้หญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งการนอนไม่หลับเกิดจากฮอร์โมนและสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
 
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
มีความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หดหู่ ดีใจ หรือตื่นเต้นประหม่าเกิดเป็นความเครียด จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถนอนหลับตามปกติได้
 
ปัจจัยภายนอก
มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมมารบกวนประสาทสัมผัสในขณะนอนหลับ เช่น เสียงดังรบกวน แสงที่สว่างจ้า
และการรับรู้กลิ่นต่าง ๆ ที่มากจนรบกวนสภาวะผ่อนคลายก่อนการนอนหลับ และการเข้ารับการรักษาบางชนิด
ก็มีผลให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด จนนอนไม่หลับ เช่น การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy)
หรือที่เรียกกันติดปากว่าคีโมในผู้ป่วยมะเร็ง ความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด เป็นต้น
 
ภาวะแทรกซ้อนของโรคนอนไม่หลับ
- ร่างกายอ่อนล้าในตอนกลางวัน ระบบความจำมีปัญหา ทำให้เรียนหรือทำงานอย่างขาดประสิทธิภาพ
  และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอันเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นด้วย
  เช่น การวูบหลับในขณะใช้รถใช้ถนนหรือใช้เครื่องจักร
- การพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ระบบเผาผลาญพลังงานภายในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่
   อาจเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือเกิดภาวะอ้วนตามมา
- การนอนไม่หลับอย่างเรื้อรัง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
   และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์เพื่อช่วยในการนอนหลับ
 
การป้องกันโรคนอนไม่หลับ
- ปรับพฤติกรรมการนอน - เข้านอนให้เป็นเวลา ไม่งีบหลับในระหว่างวัน และนอนเมื่อง่วงนอน ไม่พยายามกดดันตัวเองเพื่อให้นอนหลับ
   เพราะจะเกิดผลข้างเคียงเป็นความวิตกกังวลและทำให้นอนหลับยากยิ่งขึ้น แต่ควรหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำก่อนนอน
   เช่น การอ่านหนังสือหรือการฟังเพลงเบา ๆ
- เปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้มีความผ่อนคลาย - จัดห้องใหม่ให้อากาศถ่ายเทสะดวก กำจัดสิ่งรบกวนในบริเวณห้อง
   หรือย้ายที่พักไปสู่สภาพแวดล้อมที่สงบ สบาย และน่าอยู่อาศัย
- รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยและมีประโยชน์ทางโภชนาการ - เพื่อสุขภาพที่ดี ปราศจากโรคภัยและความเจ็บป่วย
  งดรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มและการใช้ยาที่มีสารกระตุ้นต่าง ๆ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ - ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย แต่ควรเว้นระยะการออกกำลังกายให้ห่างจากการเข้านอน
  อย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้นอนหลับยากมากยิ่งขึ้น
- ลดความตึงเครียดจากการใช้ชีวิตประจำวัน - หลีกเลี่ยงความขัดแย้งอันเป็นที่มาของการเกิดความเครียด เปลี่ยนมุมมองใหม่ให้ชีวิต
  คิดในแง่บวก มองหาความสุขง่าย ๆ จากสิ่งรอบตัว เข้าใจชีวิต และรู้จักการปล่อยวาง
 
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/นอนไม่หลับ
 

 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa