aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
 
สรรพคุณของแปะก๊วย
 
แปะก๊วย เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน
(แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด
แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน
เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น
แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน
 
- แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน
เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์
จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช
 
- สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว"
ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น)
ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน
และสีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน
ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ
หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากรูปทรงของ
ใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฎทอง
(หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง
แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ
 
- สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา
ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า
ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือด
ไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง
ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)
 
- ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม
โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น
ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง
และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ
อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ
ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง
ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่
ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก แปะก๊วย
 
- ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน
ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วย
มาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย
จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น
มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย
 
- ส่วนในจีนแปะก๊วยยังใช้แทนตัวขงจื๊อ ผู้เป็นปราชญ์ใต้ต้นแปะก๊วย
 
เอกสารอ้างอิง
 
1. Zhiyan Zhou and Shaolin Zheng (2003-06-19). "Palaeobiology: The missing link in Ginkgo evolution".
    Nature 423 (ฉบับที่ 423): 821–822. doi:10.1038/423821a
 
2. Sun (1998). Ginkgo biloba. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved
    on 11 May 2006. Listed as Endangered (EN B1+2c v2.3)
 
คัดลอกจาก : http://th.wikipedia.org ค้นหาว่า "แปะก๊วย"
 

 
โรคซึมเศร้า เกิดจากอะไร
 
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่พบบ่อย โดยมีความชุกตลอดช่วงชีวิตถึง 12% พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
และพบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก เช่น การสูญเสีย
ความผิดหวังหรือการหย่าร้าง การเป็นโรคนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลวหรือไม่มีความสามารถ
เพราะมีหลักฐานทางการแพทย์ ยืนยันว่าโรคซึมเศร้ามีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการทำงานของระบบสมองที่ผิดปกติ
ในปัจจุบันโรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา และการรักษาทางจิตใจ
หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้น เช่น มีอาการหลงผิด หูแว่ว มีความคิดทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย
 
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
- ความผิดปกติในสมอง เช่น สารสื่อประสาท ฮอร์โมนและวงจรระบบประสาท
- ผู้ที่มีญาติเป็นโรคทางอารมณ์จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า แต่ทั้งนี้ผู้ที่ไม่มีญาติเป็นโรคทางอารมณ์ก็อาจเป็นโรคนี้ได้
- สภาพจิตใจของแต่ละคนอันเนื่องมาจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมและเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต
   ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการคิดและมุมมองต่อตนเอง เช่น มองโลกในแง่ร้าย สิ้นหวังหรือขาดความภูมิใจในตนเอง
- ภาวะซึมเศ้ราอาจเกิดจากความผิดปกติอื่นๆ เช้น โรคทางกาย (ไทรอยด์ ลมชัก สมองเสื่อม ฯลฯ)
   ยารักษาโรคบางชนิด ปัญหายาเสพติด โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล ฯลฯ
 
อาการของโรคซึมเศร้า
ผู้เป็นโรคซึมเศร้ามักมีอาการดังต่อไปนี้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
- เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม
- รู้สึกเศ้รา ท้อแท้ และสิ้นหวัง
- รู้สึกตนเองไร้ค่า
- รู้สึกผิดและโทษตนเองตลอดเวลา
- ขาดความสนใจหรือความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมต่างๆ
- เคลื่อนไหวช้างลงหรือกระสับกระส่าย
- เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
- ขาดสมาธิ ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจน้อยลง
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ
- มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย
- มีปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม
 
การรักษาโรคซึมเศร้า
การรักษาหลักของโรคซึมเศร้าคือ การพูดคุยให้คำปรึกษา การทำจิตบำบัดและการใช้ยากลุ่มต้านเศร้า
ผู้ป่วยทีมีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถดีขึ้นได้จนสามารถทำงาน
และดำรงชีวิตได้อย่างปกติหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม
 
คัดลอกข้อมูลมาจาก : https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/depression
คัดลอกข้อมูลมาจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
 

 
 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa