|
|
|
เห็ดหลินจือ (Lingzhi) เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine ) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี
นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน
และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุด
ได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” ( Spiritual essence ) มีพลังมหัศจรรย์
บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจือ
อย่างเหนือชั้น ว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่า แล้วยังปลอดภัย
ไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย |
|
สรรพคุณของเห็ดหลินจือ
ในสมัยโบราณ กล่าวกันว่า เห็ดหลินจือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น
ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ
ชัดเจนดีขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชะลอความแก่
ส่วนสรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้านมะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง
ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิตทั้งสูง และต่ำ ภาวะมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้
โรคประสาท ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเกาต์ โรคเอสแอลอี
เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ
แผลในกระเพาะอาหารและลำใส้ บำรุงสายตา และความเชื่อดังกล่าว ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน |
|
เห็ดหลินจือได้ถูกบันทึกไว้ว่า มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมาก กว่า 100 สายพันธุ์ และสำหรับสายพันธุ์ที่นิยมมี
สรรพคุณทางยาดีที่สุดคือ กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) หรือสายพันธุ์สีแดง |
|
เห็ดหลินจือมีสารโพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารยับยั้งอาการต่างๆ ข้างต้น เห็ดหลินจือในแต่ละชนิด
จะมีปริมาณสารโพลีแซคคาไรด์ในปริมาณที่แตกต่างกัน แต่สายพันธุ์ที่มีสารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุด คือ
เห็ดหลินจือสีแดง ซึ่งมีงานวิจัยต่างๆ พบว่ามีสารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุดในบรรดาเห็ดหลินจือทั้งหมด |
|
ปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเห็ดหลินจือออกมาจำหน่ายกันเป็นจำนวนมาก การเลือกผลิตภัณฑ์
เห็ดหลินจือแดง ควรศึกษาตั้งแต่วิธีการเพาะปลูก ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะการจะได้เห็ดหลินจือ
ที่มีคุณภาพที่ดีนั้น ตัวเห็ดหลินจือเอง จะต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องความชื้น
แสงสว่าง และสารอาหารที่ได้รับ ส่วนขั้นตอนการแปรรูป ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ
เพราะถือเป็นกระบวนการที่จะสกัดสารโพลีแซคคาไรด์จากตัวเห็ดเองออกมาให้ได้มากที่สุด
นอกจากนี้การบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจไม่แพ้กัน ควรเป็นบรรจุภัณฑ์
ที่สามารถกันความชื้นได้ดี เพราะว่าความชื้นจะทำให้เห็ดหลินจือขึ้นราได้ เนื่องจากเห็ดหลินจือ
ค่อนข้างไวต่อความชื้น |
|
ที่มาของข้อมูล : http://th.wikipedia.org ค้นหา “เห็ดหลืนจือ” |
|
|
|
โรคเกาต์เกิดจากอะไร ? |
|
โรคเกาต์
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับมีอาการที่เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริก
ในรูปแบบผลึกยูเรตในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ
ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของข้อหรือเนื้อเยื่อรอบข้อ
หรือเกิดปุ่มก้อนของผลึกยูเรตภายในข้อและใต้ชั้นผิวหนังรอบๆ ข้อ
ถ้าเป็นมากทำให้เกิดนิ่วในไตร่วมด้วย |
|
อาการของโรคเกาต์
- ปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งเป็นข้อที่พบบ่อยสุด โดยมากปวดข้อเดียวแต่ก็ปวดหลายข้อได้
- อาการของเกาต์ปวดเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง
- ข้อที่ปวดเกาต์พบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อศอก
- พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- ในรายที่เป็นเกาต์มานานอาจพบนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
- มักปวดตอนกลางคืน อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ การรับประทานอาหารที่มียูริกสูง
ดื่มสุรา หรือความเครียด |
|
ข้อที่พบการอักเสบของเกาต์ได้บ่อย ได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ และข้อศอกเรียงตามลำดับ
พบว่าข้อที่เป็นจะบวม แดง กดเจ็บ
ในรายที่เป็นเรื้อรังจะมีการรวมตัวของกรดยูริกเกิดเป็นก้อนที่ข้อ |
|
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์
1. อาหารที่มีสารพิวรีนมาก ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรงดเว้นหรือหลีกเลี่ยง
ตับ น้ำต้มเนื้อ น้ำเกาเหลา ไต น้ำสกัดจากเนื้อเข้มข้น ปลาไส้ตัน น้ำปลาและกะปิจากปลไส้ตัน ปลาซาร์ดีน
ยีสต์และอาหารหมักจากยีสต์
เช่น เบียร์ หอยเซลล์ ปลาทู ปลารัง เนื้อไก่ เป็ด นก ไข่ปลา |
2. อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานได้ในปริมาณจำกัด
เนื้อวัว กระเพาะ ผ้าขี้ริ้ว เอ็น เนื้อหมู เนื้อปลา ปู กุ้ง หอย ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ผัก หน่อไม้ฝรั่ง
ผักขม เห็ด ดอกกะหล่ำ ชะอม กระถิน |
3. อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย หรือเกือบไม่มีเลย ผู้ป่วยโรคเกาต์ทานได้โดยไม่แสลง
ข้าว ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยวทุกชนิด วุ้นเส้น บะหมี่ เส้นหมี่ ขนมปังปอนด์ มักกะโรนี ข้าวโพด แคร็กเกอร์สีขาว ไข่
นมและผลิตผลจากนม (เนยแข็ง ไอศกรีม) น้ำมันพืช กะทิ เนย น้ำมันหมู ผัก ผลไม้ทุกชนิด เกาลัด เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ขนมหวานต่างๆ
ทองหยิบ ทองหยอด ฝองทอง เค้ก คุกกี้ เครื่องดื่ม กาแฟ ชา โกโก้ ช็อกโกแลต |
|
การรักษาโรคเกาต์ ช่วงที่มีข้ออักเสบ
- ในช่วงที่มีอาการปวดอาจจะรับประทานยาแก้ปวด Paracetamol หรือยาแก้ปวดอื่นๆ
- ช่วงที่มีการอักเสบของข้อให้ใช้ยา Colchicine 0.6 mg. จน อาการปวดดีขึ้น และต้องหยุดยาทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย
- ให้ยาลดอาการอักเสบ
- ช่วงที่ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยุริก
- ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน
- ห้ามบีบนวดข้อที่อักเสบ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://vibhavadi.com/health1133
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลวิภาวดี หน่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ |
|
|
|
ตับอักเสบ |
|
ตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะอักเสบที่เกิดบริเวณตับ อาจเกิดจากจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือสาเหตุอื่น ๆ
อย่างการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การใช้ยาเสพติด ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การได้รับสารพิษ โรคอ้วน
และกลุ่มอาการเมตาบอลิค รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันทำลายตับเอง ทำให้ตับเกิดความเสียหายจนเกิดอาการป่วยต่าง ๆ ตามมา
หากตับอักเสบอย่างเรื้อรัง อาจทำให้การทำงานของตับผิดปกติ เกิดโรคตับแข็ง หรือเสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้ |
|
อาการของตับอักเสบ
ตับอักเสบเฉียบพลัน
ตับอักเสบชนิดเฉียบพลันอาจไม่ปรากฏอาการอย่างชัดเจน ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคตับอักเสบ
แต่หากป่วยจนอาการกำเริบ
อาจสังเกตพบอาการได้ ดังต่อไปนี้ |
- รู้สึกเหนื่อย เมื่อยล้าตลอดเวลา
- ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
- รู้สึกไม่สบาย มีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ปัสสาวะสีเข้ม
- อุจจาระสีซีด
- ปวดท้อง
- เบื่ออาหาร
- คันตามผิวหนัง
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ภาวะดีซ่าน หรือมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง |
|
ตับอักเสบเรื้อรัง
หากตับอักเสบอย่างเรื้อรังอาจไม่พบอาการชัดเจนใด ๆ จนกระทั่งตับเริ่มทำงานได้ไม่เต็มที่หรือมีภาวะตับวาย
ซึ่งอาจตรวจพบได้จากผลการตรวจเลือด หรือผู้ป่วยอาจมีอาการปรากฏในระยะต่อมา เช่น
- ภาวะดีซ่าน
- ขา เท้า และข้อเท้าบวม
- รู้สึกสับสน
- อาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือด |
|
การป้องกันตับอักเสบ
- รักษาสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาด ไม่ใช้เข็มฉีดยา มีดโกน แปรงสีฟัน แก้วน้ำ ช้อนส้อม และของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ร่วมกัน
ไม่สัมผัสเลือดหรือของเหลวจากผู้ที่ติดเชื้อ หลีกเลี่ยงแหล่งน้ำที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ
และการแพร่กระจายเชื้อไวรัสตับอักเสบ
- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบี ซี และดีสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์
การสวมถุงยางอนามัยจะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ด้วย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม โดยเน้นบริโภคอาหารจำพวกผัก ผลไม้
โปรตีน
และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือหรือน้ำตาลในปริมาณมาก และหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
เพื่อป้องกันการสะสมของไขมันในตับ
- รับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เลือกรับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำต้มหรือน้ำสะอาด โดยเฉพาะเมื่อเดินทางไปต่างถิ่น
ควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบต่าง ๆ
- ฉีดวัคซีน อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบีได้ โดยปกติเด็กจะได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด
แต่เด็กอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ อาจต้องตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันก่อนรับวัคซีน
ในประเทศไทยสามารถติดต่อขอรับวัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบบีได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ
อาจมีค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาล
- ลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ตับได้พักจากการทำงานหนัก และป้องกันความเสี่ยงการเกิดตับอักเสบ
จากการดื่มแอลกอฮอล์
- ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนด ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ทุกครั้งในการใช้ยา ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์
หากอยู่ระหว่างการรับประทานยารักษาโรค
และควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง หากเป็นโรคตับหรือกำลังใช้ยาอื่น ๆ
ร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง
- เลือกอาหารเสริมอย่างรอบคอบ หากต้องการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
ก่อนบริโภคผลิตภัณฑ์ใด ๆ เสมอ
เนื่องจากยา อาหารเสริม หรือแม้กระทั่งสมุนไพร
อาจส่งผลต่อการดูดซึมของตับที่เปลี่ยนสารเหล่านี้ไปใช้งานในร่างกาย
หากสารที่ได้รับเป็นอันตรายต่อตับ
อาจนำไปสู่อาการป่วยหรือทำให้โรคที่ป่วยอยู่แย่ลงได้ ดังนั้น ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือ
มีมาตรฐานองค์การอาหารและยารับรอง นำเข้าหรือผลิตอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ มีมาตรฐานการผลิตสูง
รวมถึงผ่านการศึกษาทดลองทางการแพทย์แล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดนั้น
จะช่วยดูแลบำรุงตับได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.pobpad.com/ตับอักเสบ |
|
|
|
|