|
|
สรรพคุณใบบัวบก |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อไหลที่แผ่ไป
จะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก
ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้ |
|
สรรพคุณ :
ใบ : มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
ทั้งต้นสด : - เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
- รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
- ปวดศีรษะข้างเดียว
- ขับปัสสาวะ
- แก้เจ็บคอ
- เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
- ลดความดัน แก้ช้ำใน
เมล็ด : แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ |
|
สารเคมี :
สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside,
centellic acid brahminoside, brahmic acid. |
|
ที่มาของข้อมูล : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_03_4.html |
|
|
โรคเรื้อน เกิดจากอะไร |
|
ความหมาย โรคเรื้อน
เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยจะมีอาการทางผิวหนัง กล้ามเนื้อ และตามปลายประสาทต่าง ๆ เช่น มีแผล ผื่นแดง
หรือผื่นสีจางตามผิวหนัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความรู้สึกลดลง หรืออาจตาบอดและเป็นอัมพาตได้หากเชื้อมีการลุกลามรุนแรง
โดยโรคสามารถติดต่อสู่บุคคลอื่นจากเยื่อของเหลวที่ติดเชื้ออย่างน้ำมูกและน้ำลาย ผ่านการไอ จาม หรือการพูดคุยในระยะประชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ |
|
สาเหตุของการเกิดโรค
เชื้อโรคเรื้อนเป็นมัยโคแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคเฉพาะในคนหรือสัตว์บางชนิด เช่น ตัวนิ่มเก้าลาย
และลิงบางชนิด เท่านั้น
หากเชื้อโรคเรื้อนออกมานอกตัวคนและสัตว์มันจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในธรรมชาติ
ทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายคนยังไม่ทราบแน่นอน
แต่เชื่อว่าอาจจะเกิดจากการหายใจและไอจามรดกันเช่นเดียว
กับวัณโรค เพราะผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีอาการมากจะมีเชื้อโรคอยู่ในจมูกได้
นอกจากนี้อาจเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ที่จริงแล้วเชื้อโรคเรื้อนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคในคนได้ง่ายนัก เนื่องจากเชื้อมีความรุนแรงไม่มาก
หากผู้ที่ได้รับเชื้อมีสุขภาพแข็งแรงจะมีภูมิคุ้มกันโรคดี และไม่เกิดอาการของโรค ผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อและเป็นโรคเรื้อนมักจะต้องอยู่คลุกคลีใกล้ชิด กับผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นระยะเวลานาน |
|
อาการของโรคเรื้อน
- เกิดแผลนูนแดง หรือตุ่มแดง หรือเกิดเป็นด่าง เป็นผื่น ซึ่งมีสีจางกว่าสีของผิวหนัง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฝ่อลีบ
- ประสาทสัมผัสที่ผิวหนังไม่รับรู้ หรือรับความรู้สึกได้ลดลง เช่น รู้สึกถึงอุณหภูมิ หรือรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด
ที่ผิวหนังลดน้อยลง
- อวัยวะส่วนปลายประสาทชา หรือไม่มีความรู้สึก เช่น มือ เท้า แขน หรือขา
- ผมหรือขนหลุดร่วง เช่น ขนบริเวณคิ้ว
- ตาแห้ง กระพริบตาน้อยลง
- ระบบประสาทส่วนต่าง ๆ ถูกทำลาย
- รูปลักษณ์ภายนอกและใบหน้าเสียโฉม เช่น เนื้อจมูกถูกทำลายจนเสียรูปร่าง นิ้วมือนิ้วเท้างอ หรือกุดด้วน
- ประสาทตาถูกทำลาย จนอาจทำให้ตาบอด
|
|
การวินิจฉัยโรคเรื้อน
การวินิจฉัยโรคเรื้อนเบื้องต้นตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก เป็นการตรวจดูบริเวณผิวหนังของผู้ป่วย ดังนี้
1.ตรวจพบรอยโรคที่มีลักษณะเฉพาะของโรคเรื้อน
2.ตรวจพบอาการชาข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
- ชาที่รอยโรคผิวหนัง
- ชาที่ผิวหนังบริเวณที่รับความรู้สึกจากเส้นประสาทส่วนปลายที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคเรื้อน
3.ตรวจพบเส้นประสาทโต
4.ตรวจพบเชื้อรูปแท่งติดสีทนกรด (Acid Fast Bacilli) จากการกรีดผิวหนัง (Slit Skin Smear) |
|
หากพบอาการแสดงอย่างน้อย 2 ข้อ จาก 3 ข้อแรก หรือพบข้อ 4 เพียงข้อเดียว ให้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อน |
|
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อน
หากผู้ป่วยรู้ตัวช้า หรือมีตรวจพบการป่วยโรคเรื้อนช้า โรคเรื้อนไม่ได้รับการรักษา
หรือเข้ารับการรักษาช้าเกินไป
อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนซึ่งเป็นอาการที่รุนแรงและเป็นอันตรายมากขึ้นได้ เช่น
- เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง แผลติดเชื้ออักเสบรุนแรงหรือลุกลาม
- รูปร่างเสียโฉม เช่น ผมร่วง ขนตาหรือขนคิ้วร่วงหลุด เนื้อจมูกเสียหายผิดรูปร่าง
- อวัยวะเสียหาย เช่น นิ้วมือนิ้วเท้างอ หรือกุด
- ม่านตาอักเสบ ประสาทตาถูกทำลาย เป็นต้อหิน หรือตาบอด
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ประสบภาวะมีบุตรยาก
- ประสาทแขนขาถูกทำลาย หรือเป็นอัมพาต
- ไตวาย |
|
การป้องกันโรคเรื้อน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสมูกของเหลว อย่างน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโรคเรื้อน และระมัดระวังในการพูดคุย
กับผู้ป่วยโรคนี้ในระยะประชิด
- สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อน ควรป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นต่อไปได้ เช่น ปิดปากและจมูกในขณะไอ
หรือจาม
รับประทานยาและรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก : https://www.pobpad.com/โรคเรื้อน
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก : https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=36 |
|
|
|
อาการเจ็บคอ มาจากสาเหตุอะไร |
|
ความหมาย เจ็บคอ (Sore throat) คือ อาการระคายเคืองบริเวณคอ เป็นหนึ่งในอาการที่สร้างความทรมานไม่น้อยไป
กว่าอาการเจ็บป่วยอื่นๆ
เพราะทำให้กลืนน้ำลาย หรือกลืนอาหารลำบาก อีกทั้งทำให้รู้สึกไม่สบายตัวด้วย |
|
สาเหตุหลักของอาการเจ็บคอแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ
การติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการอักเสบที่คอ หรือเกิดอาการเจ็บคอได้ ส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
สามารถแบ่งเชื้อได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.1 เชื้อรา สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ แต่พบได้น้อย เพราะส่วนมากมักเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
1.2 เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้มากที่สุด โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ เช่น
- เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
- เชื้อไวรัสไข้หวัด (Common cold)
- เชื้อไวรัสหัด (Measles)
- เชื้อไวรัสอีสุกอีใส (Varicella)
- เชื้อไวรัสคางทูม (Mumps)
- เชื้อไวรัสคอตีบเทียม (Parainfluenza)
1.3 เชื้อแบคทีเรีย สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้เช่นกัน โดยเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ เช่น
- เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีเนส (Streptococcus pyogenes) ที่ทำให้เกิดโรคคออักเสบ
- เชื้อแบคทีเรียโครีนแบคทีเรียม (Corynebacterium) ที่ทำให้เกิดโรคคอตีบ
- เชื้อแบคทีเรียบอร์ดีเทลลา เปอร์ตัสซิส (Bordetella Pertussis) ที่ทำให้เกิดโรคไอกรน |
2. สาเหตุที่ไม่ใช่การติดเชื้อ
ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ มีดังนี้
- การใช้เสียงมากเกินไป การตะโกน หรือใช้ระยะเวลาในการพูดคุยมากเกินไป
- การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ทำให้เกิดการระคายเคืองที่คอได้
- กรดไหลย้อน เกิดจากกรดที่อยู่ในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณลำคอ
- อากาศ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้ โดยเฉพาะอากาศแห้งที่ไม่มีความชื้น
ซึ่งทำให้เกิดการเสียดสีในลำคอจนเกิดอาการระคายคอนั่นเอง
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด สามารถทำให้เกิดอาการระคายคอจนทำให้เจ็บคอได้ เช่น ยาลดความดันโลหิต |
|
ภาวะแทรกซ้อนของอาการเจ็บคอ
อาการเจ็บคอที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียหรือคออักเสบที่ไม่ได้รับการรักษาโดยยาปฏิชีวนะ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
เช่น
การแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอย่างหูชั้นกลางหรือโพรงจมูกต่อไป |
|
การป้องกันอาการเจ็บคอ
การป้องกันตนเองจากเชื้อโรคและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการเจ็บคอ ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสของที่ใช้ร่วมกันหลายคนหรือบ่อยครั้ง ควรล้างมือบ่อย ๆ เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียสะสม
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อโรคหวัดหรือโรคอื่น ๆ ได้
- ไม่ใช้ช้อนรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นหรือดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน เพราะโรคบางโรคสามารถแพร่ผ่านน้ำลายได้
เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส
- หลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา และฝุ่น
- เลี่ยงการรับควันบุหรี่ไม่ว่าจากการสูบเองหรือจากผู้อื่นที่อาจส่งผลระคายเคืองต่อคอจนมีอาการเจ็บ
และยังเป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกบริเวณลำคอได้
- รักษาความชื้นในบ้านไม่ให้อากาศแห้ง และดื่มน้ำให้เพียงพอไม่ให้คอแห้ง |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก : https://www.honestdocs.co/symptoms-and-care-for-sore-throat
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและเรียบเรียงจาก : https://www.pobpad.com/เจ็บคอ |
|
|
|
|