เอนไซม์คืออะไร : เอนไซม์เป็นสารประเภทโปรตีน ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของปฎิกิริยาชีวเคมีทั้งหมด
ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งหากขาดเอนไซม์จะทำให้เราไม่สามารถจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงได้
และต้องเสียชีวิตไปในที่สุด |
|
เอนไซม์มีที่มาจากไหนบ้าง : เอนไซม์เป็นสารที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์
โดยปกติร่างกายของเรา จะสร้างเอนไซม์หลายชนิดเพื่อทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร
และใช้ในการเผาผลาญพลังงาน ตลอดจนช่วยควบคุมการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ในร่างกาย ตับอ่อนจะเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด แต่อวัยวะส่วนอื่นๆ
อาทิเช่น ตับ ลำไส้ และกระเพาะอาหาร ก็มีบทบาทในการสร้างเอนไซม์ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในกรณีที่กินอาหารจากพืชผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่ไม่ถูกทำให้สุก
หรือใช้ความร้อนในการปรุงอาหาร จะเพิ่มปริมาณเอนไซม์ให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย |
|
เหตุใด ในอดีตจึงไม่มีการพูดถึงเอนไซม์มาก่อน : ในวงการแพทย์มีความเชื่อที่แพร่หลายว่า
เอนไซม์จะถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจว่า การบริโภคเอนไซม์
จะไม่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพแต่ประการใด เนื่องจากเอนไซม์จะถูกทำลายหมด
ซึ่งความเชื่อนี้ เป็นความเชื่อที่ผิด ในต้นปีค.ศ. 1990 ได้มีความสนใจเรื่องเอนไซม์ต่อสุขภาพ
เพราะพบว่าเอนไซม์ที่ให้เสริมจากภายนอก มีประสิทธิภาพในการช่วยย่อย และดูดซึมสารอาหาร
นอกจากนี้ตัวเอนไซม์เองยังสามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายของมนุษย์ได้อีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับวิตามินและเกลือแร่อย่างเพียงพอ |
|
เหตุใด จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้เอนไซม์เสริมอาหาร : คน ส่วนใหญ่ชอบที่จะกินอาหาร
ที่ทำให้สุกแล้วมากกว่าอาหารดิบ ขบวนการเร่งผลไม้ให้สุก และการฉายรังสีบนอาหาร
จะทำลายฤทธิ์ของเอนไซม์ โดยทั่วไป คนที่บริโภคมังสวิรัติจะมีโอกาสขาดเอนไซม์สูง
ทั้งนี้เพราะกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีนจากพืช มักจะมีไม่ครบถ้วนเหมือน
กับกรดอะมิโนที่ได้จากสัตว์ ข้าวและแป้งมักจะถูกนำไปผ่านขบวนการขัดและสี
ทำให้สารพวกเอนไซม์หลุดออกหมด ด้วยเหตุผลดังกล่าว เราจึงควรจะต้องรับประทานเอนไซม์เสริม |
|
เอนไซม์ในร่างกายของเรา ทำงานอย่างไร : เมื่อ เรากินอาหารเข้าไปจะมีการกระตุ้นให้เอนไซม์
ในทางเดินอาหาร รวมทั้งในอาหารดิบที่กินเข้าไป ทำหน้าที่ย่อยสลายให้สารอาหารมีขนาดเล็กลง
จนพอที่จะดูดซึมผ่านเยื่อบุทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ เอนไซม์เหล่านี้ยังทำหน้าที่ต่อในกระแสเลือด
เพื่อนำสารอาหารไปเสริมสร้าง กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก เม็ดเลือดและอวัยวะอย่างอื่นทั่วร่างกาย
เอนไซม์ แต่ละชนิด จะทำหน้าที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เช่น เอนไซม์ย่อยแป้ง ก็ย่อยเฉพาะแป้ง
ไม่ย่อยไขมัน ไม่ย่อยโปรตีน การทำงานของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายต้องอาศัยเอนไซม์บางชนิด
และหากขาดเอนไซม์จะมีผลทำให้เซลล์ตายได้ |
|
เอนไซม์ในร่างกายของเราจะมีจำนวนลดลงหรือไม่ : เรามีเอนไซม์จำนวนหนึ่งในร่างกายมาตั้งแต่เกิด
เนื่องจากเราต้องใช้เอนไซม์ในร่างกายของเราในการย่อยอาหารทุกวัน
ดังนั้นเอนไซม์ที่เรามีอยู่จึงร่อยหรอไปทุกวัน ทั้งนี้เพราะการกินอาหารที่ทำให้สุกแล้ว
จะไม่มีเอนไซม์เหลืออยู่ที่จะช่วยใน การย่อยอาหารให้กับมนุษย์
ร่างกายจึงต้องหลั่งเอนไซม์มาทำหน้าที่แทน มีการศึกษาวิจัยว่าปริมาณของเอนไซม์ในคนหนุ่มสาว
มีมากกว่าคนแก่ถึง 30 เท่า ดังนั้นเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เอนไซม์จึงมีปริมาณน้อยลงไป
ตามระยะเวลาที่ผ่านไป |
|
การเสริมเอนไซม์จะช่วยป้องกันมะเร็งได้หรือไม่ : เนื่องจากมะเร็งเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และต้องการ
การแก้ไขหลายๆด้าน พร้อมๆกัน ในส่วนของเอนไซม์จะมีผลในการช่วยต่อต้านมะเร็ง
และหากเราไม่ใช้เอนไซม์ของเรา ไปในการย่อยอาหารเพียงอย่างเดียว
เราจะมีเอนไซม์เหลือเพียงพอที่จะสามารถซ่อมแซม และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
จึงมีภูมิต้านทานการเกิดโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น |
|
เอนไซม์ที่ใช้เสริมอาหาร จะมีความปลอดภัยเพียงใด : เนื่องจากเอนไซม์เสริมที่ได้รับจากภายนอก
ได้มาจากอาหารประเภทพืชผักและผลไม้ ที่มนุษย์กินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้วจึงมีความปลอดภัยสูงมาก |
|
ร่างกายได้รับเอนไซม์ มาจากแหล่งใดบ้าง : ร่างกายของเราจะได้รับเอนไซม์มาจาก 3 ทาง ด้วยกันคือ
1. ร่างกายของเราสร้างเอนไซม์ เพื่อทำหน้าที่ในขบวนการชีวเคมีภายในร่างกาย
2. เอนไซม์ที่มีอยู่ในอาหารดิบ
3. อาจได้รับเอนไซม์เพิ่มเติมในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม |
|
ที่มาของข้อมูล : http://www.bioenzyme.biz |
|
|
|
เอนไซม์คืออะไร |
|
เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี
เป็นคำในภาษากรีก ?νζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo ("en:leaven" หรือ "en:yeast") |
|
เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก
หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น
ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ
(malfunction) เช่น |
- การผ่าเหล่า (mutation)
- การผลิตมากเกินไป (overproduction)
- ผลิตน้อยเกินไป (underproduction)
- การขาดหายไป (deletion) |
|
ดังนั้นการขาดเอนไซม์ที่สำคัญอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ การผ่าเหล่าอาจจะเกิดขึ้นในโครงสร้างบางส่วนของเอนไซม์
หรืออาจเป็นบางส่วนของโปรตีน เช่น
- โครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure)
- โครงสร้างทุติยภูมิ ( secondary structure)
- โครงสร้างตติยภูมิ (tertiary structure)
- โครงสร้างจตุรภูมิ (quaternary structure) |
|
ตัวอย่างเช่น ฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) เกิดจากการงานบกพร่องของ เอนไซม์ฟีนิลอะลานีน ไฮดรอกซิเลส
(phenylalanine hydroxylase) ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของฟีนิลอะลานีนเป็นผลให้เกิดการสะสมฟีนิลอะลานีนมาก
และจะแสดงออกมาใน ความผิดปรกติทางจิต (mental retardation) |
|
เหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาทั่วไป เอนไซม์ ทำงานโดยการลดพลังงานกระตุ้น (activation energy)
ให้เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากนี้ยังเร่งให้เกิดเร็วขึ้นซึ่งสามารถทำให้เร็วได้ถึงหนึ่งในหลายล้านส่วน |
|
- เอนไซม์ ไม่มีผลต่อความสมดุล (equilibrium) ของปฏิกิริยาเคมี
- เอนไซม์ ไม่มีผลต่อพลังงานสัมพัทธ์ (relative energy) ระหว่างสารที่ได้จากปฏิกิริยา (products)
และสารที่ทำปฏิกิริยา (reagents)
- เมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาอื่นแล้ว เอนไซม์ จะมีความจำเพาะต่อปฏิกิริยาหนึ่งปฏิกิริยาใดมากกว่า
- การทำงานของ เอนไซม์ จะถูกแทรกแซงได้โดยโมเลกุลของสารประกอบอื่นได้
ถ้าโมเลกุลของสารประกอบที่มาแทรกแซงทำให้การทำงานของ เอนไซม์ ดีขึ้น เราเรียกสารประกอบนั้นว่า แอกติเวเตอร์ (activators)
และถ้าโมเลกุลของสารประกอบที่มาแทรกแซงทำให้การทำงานของ เอนไซม์ ลดลง เราเรียกสารประกอบนั้นว่า อินฮิบิเตอร์ (Inhibitors)
อินฮิบิเตอร์ ที่ทำให้เอนไซม์หยุดทำงานถาวรเรียกว่าอินฮิบิเตอร์ สังหาร (Suicide inhibitors) อินฮิบิเตอร์ มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
และมนุษย์สร้างขึ้น ยาหลายตัวเป็นเอ็นไซม์อินฮิบิเตอร์ เช่น แอสไพริน ยับยั้งเอนไซม์ที่เป็นตัวนำส่งการอักเสบโปรสตาแกลนดิน
ทำให้เกิดการระงับความเจ็บปวดและการอักเสบ
- เอนไซม์ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น ผงซักฟอกที่ไปเร่งปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดผ้า
(เช่นการทำลายรอยเปื้อนที่เกิดจากแป้ง)
- มี เอนไซม์ มากกว่า 5,000 ตัว ที่มีชื่อแตกต่างกันโดยการตั้งชื่อจะลงท้ายด้วย -ase และตัวชื่อ เอนไซม์
จะตั้งชื่อตามสารที่มันจะเปลี่ยน
เช่น แลคเตส (lactase) เป็น เอนไซม์ ที่เร่งการสะลายตัวของแล็กโทส (lactose) |
|
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์
1. อุณหภูมิ เอนไซม์แต่ละชนิด มีความไวต่ออุณหภูมิแตกต่างกัน อุณหภูมิที่เอนไซม์ทำงานได้ดีที่สุด (optimum temperature)
โดยทั่วไปอยู่ประมาณ 25-40 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปปฏิกิริยาจะลดลงทั้งนี้เพราะ เอนไซม์
ซึ่งเป็นโปรตีนจะเกิดการเสียสภาพ (denature) จึงเข้ารวมกับซับสเตรตไม่ได้
2. ความเป็นกรดเป็นด่าง มีผลต่อปฏิกิริยาของเอนไซม์ เอนไซม์ แต่ละชนิดจะทำงานได้ดีที่สุด ในสภาวะที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง
พอเหมาะ (optimum pH) ซึ่งอาจแตกต่างกัน เช่น ซูเครสทำงานได้ดีที่สุดที่ pH =6.2 ลิเพส =7.0
เพปชิน = 1.5-2.5 ทริปชิน =8-11
3. ปริมาณของเอนไซม์ ถ้ามีเอนไซม์มากจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเอนไซม์มากเกินพอ
ความเร็วของปฏิกิริยาจะไม่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะ ไม่มีซับสเตรตเหลือพอที่จะเข้าทำปฏิกิริยา
4. ปริมาณซับสเตรต มีผลเช่นเดียวกับปริมาณของเอนไซม์คือถ้าเพิ่ม ซับสเตรตมากเกินไป ปฏิกิริยาก็จะไม่เกิดเร็วขึ้น
เพราะปริมาณเอนไซม์มีไม่เพียงพอ |
|
นอกจากปัจจัยทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้วยังมีสารบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ เช่นสารที่ทำให้การทำงานของเอนไซม์ลดลง
เรียกว่า ตัวยับยั้ง (inhibitor) ส่วนสาร ที่เร่งการทำงานของเอนไซม์ได้ดีขึ้น เรียกว่า ตัวเร่งเร้า (activator)
ตัวยับยั้งบางตัวจะรวมกับเอนไซม์ที่แหล่งกัมมันต์ ทำให้เอนไซม์ไม่สามารถรวมกับ ซับสเตรตได้
ตัวยับยั้งแบบนี้เรียกว่าคอมเพทิทีฟอินฮิบิเตอร์ (competitive inhibitor) ซึ่งจะมีรูปร่างโมเลกุลคล้ายกับซับสเตรต |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/เอนไซม์ |
|
|
|
|