|
|
ผลหม่อน (mulberry) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus alba. เป็นพืชที่ปลูกมากทางภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รับประทานเป็นผลไม้ (fruit) มีลักษณะผลเป็นประเภท
ผลกลุ่ม ผลหม่อนสุกมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงดำทั้งผล และใบใช้ทำชาใบหม่อนพันธุ์หม่อนผลสด
ที่นิยมปลูกในประเทศไทยคือผลหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ ซึ่งให้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
ผลหม่อนพันธุ์เชียงใหม่ที่สุกเต็มที่สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเพื่อบริโภคสดได้เพียง 1 ถึง 2 วัน เท่านั้น
เพราะลักษณะเนื้อผลไม้ที่อ่อนนุ่ม และบอบช้ำได้ง่าย |
|
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญใบหม่อน
ใบหม่อน ใบหม่อนนอกจากใช้เป็นอาหารของหนอนไหมแล้ว ใบหม่อนสามารถนำไปทำเป็นชา
สำหรับชงน้ำร้อนดื่มโดยจะทำในรูปชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง หรือ รับประทานใบ
และยอดอ่อนโดยตรงโดยการใส่ในต้ม หรือแกงก็ได้ สารที่มีประสิทธิภาพสูงในใบหม่อน
ได้แก่ flavonoid ซึ่งเป็น phytoestrogen , triterpene ,ceramide , mulberroside
และ น้ำมันหอมระเหย |
|
มีการศึกษาพบสาร flavonoid glycosides 3 ชนิด คือ quercetin 3-(6-malonyglucoside )
, rutin (quercetin 3- rutinoside ) และ isoquercetin ( quercetin 3- glucoside )
ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของสาร LDL antioxidant โดยพบ quertin 3-(6-malonyglucoside ) และ rutin |
|
ผลหม่อน มีรงควัตถุ (pigment) หลักคือ แอนโทไซยานิน (anthocyanins) สารนี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
(antioxidant) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคมะเร็ง
นอกจากนี้ยังมีสารประกอบฟีนอลซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน
สารประกอบฟีนอลนี้มีฤทธิ์ต่อต้านอาการอักเสบ และอาการเส้นเลือดโป่งพอง
ช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพบว่าในผลหม่อนมีสารเคอร์ซีทิน
(quercetin) ซึ่งเป็นสารประกอบกลุ่มฟาโวนอยด์ (flavonoid) ที่มีคุณสมบัติลดความเสี่ยง
ในการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด จากการวิจัยยังพบอีกว่า
เมื่อผลหม่อนมีความสุกเพิ่มขึ้นปริมาณสารออกฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้นก็จะมีมากเพิ่มขึ้นเช่นกัน |
|
Reference
- ธิติพันธ์ จันทพิมพ์. (2549). การเก็บรักษาหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่
(Morus alba var.Chiangmai). การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- วสันต์ นุ้ยภิรมย์. (2546). หม่อนรับประทานผลและการแปรรูป.
สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
- Duthie, G.G., Duthie, S.J., Kyle, J.A.M. (2000). Plant polyphenols in cancer
and heart disease : implications as nutritional antioxidants. Nutrition Research
Reviews, 13: 79 -106.
- Lazze, M.C., Savio, M., Pizzala, R., Cazzalini, O., Perucca, P., Scovassi, A.I., Stivala,
L.A.,Bianchi,L. (2004). Anthocyanins induce cell cycle perturbations and apoptosis in
different human celllines. Carcinogenesis, 25: 1427-1433.
- Manach, C., Mazur, A., & Scalbert, A. (2005). Polyphenols and prevention
of cardiovascular diseases. Current Opinion in Lipidology, 16: 77- 84.
http://www.rdi.ku.ac.th/kufair50/plant/67_plant/67_plant.html
- กระทรวงสาธารณสุข. (2540). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 179
เรื่องเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. |
|
|
|
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ( Aortic Aneurysm ) |
|
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเป็นโรคของหลอดเลือดแดงที่สามารถพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
โดยหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) เป็นเส้นเลือดหลักที่นำเลือดที่ออกจากขั้วหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ให้แขนงไปเลี้ยงหัวใจ สมอง อวัยวะในช่องท้องทั้งตับ ไต ลำไส้ อวัยวะในอุ้งเชิงกรานและแขนขาเป็นต้น
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเป็นภาวะความผิดปกติที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือดแดงใหญ่มีขนาดโตขึ้น
ผนังของหลอดเลือดแดงจะบางลง โอกาสที่หลอดเลือดจะแตกนั้นก็มากขึ้นซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดที่โตขึ้น
หากทิ้งไว้ต่อไปเส้นเลือดส่วนที่บางนั้นก็อาจปริและรั่วซึมทำให้มีเลือดคั่งในช่องอกหรือช่องท้อง
จนในที่สุดก็แตกออกซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตแทบทุกรายหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที |
|
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค
- อายุมาก
- ความดันโลหิตสูง
- ภาวะไขมันในเลือดสูง
- การสูบบุหรี่
- โรคถุงลมโป่งพอง
- มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น กลุ่มอาการ Marfan |
|
อาการแสดงของโรค
ความสำคัญของโรคนี้อยู่ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงใดๆนำมาก่อน อาจตรวจพบเจอโดยบังเอิญ
จากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจหาโรคอื่น
หรืออาจคลำพบก้อนในช่องท้องที่เต้นได้ตามจังหวะหัวใจ
อาการที่พบได้แต่ไม่บ่อยมักเกิดจากที่หลอดเลือดขนาดใหญ่
ไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียงเช่น กดหลอดลมหรือปอดทำให้หายใจลำบาก,
กดเบียดหลอดอาหารทำให้กลืนลำบาก, กดเบียดเส้นประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียงทำให้มีเสียงแหบเป็นต้น |
|
อาการที่พบได้มากกว่าและมักเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าเส้นเลือดมีการปริแตกแล้วคืออาการแน่น
หรืออาการปวดแบบรุนแรงฉับพลัน ขึ้นกับตำแหน่งของเส้นเลือดที่มีการโป่งพอง
เช่น แน่นหน้าอก ปวดหลัง ปวดท้องแบบฉับพลัน เหงื่อออก ใจสั่น หน้ามืดหมดสติ
ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องการการตรวจรักษาอย่างทันที |
|
การตรวจวินิจฉัยและการรักษา
เนื่องจากการรักษาในผู้ป่วยที่ยังไม่มีการปริแตกของหลอดเลือดจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่ามาก
ดังนั้นจึงแนะนำให้เข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากการสอบถามประวัติอาการ
ตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจค้นเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก, การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์
และการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) |
|
แนวทางการรักษาเส้นเลือดโป่งพองเริ่มตั้งแต่การคุมความดันโลหิต, คุมระดับไขมันในเลือด, หยุดสูบบุหรี่ไปจนถึงการผ่าตัดรักษา
สำหรับหลอดเลือดโป่งพองที่ยังมีขนาดเล็กอาจยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษา แต่ต้องมีการติดตามว่ามีขนาดโตขึ้นหรือไม่
ส่วนหลอดเลือดโป่งพองที่มีขนาดใหญ่หรือเริ่มมีการปริแตกจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา
การผ่าตัดมีทั้งแบบเปิด (Open Surgery) ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบมาตรฐานและการผ่าตัดโดยใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้ม
ด้วยขดลวด (Stent Graft) ซึ่งถือเป็นการรักษาแบบใหม่ มีบาดแผลเล็กกว่าและใช้เวลานอนพักฟื้นสั้นกว่า
การเลือกใช้วิธีการผ่าตัดใดนั้นขึ้นกับตำแหน่งพยาธิสภาพของโรค
สภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะพิจารณาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป |
|
คัดลอกบทความจาก : https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=th&id=506
คัดลอกบทความจาก : โดย "นายแพทย์นรวัฒน์ ปัญญานุวัฒน์" สาขาศัลยศาสตร์โรคหัวใจและทรวงอก
คัดลอกบทความจาก : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ |
|
|
|
|