โสมกับสุขภาพ |
|
โสม เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมใช้และยอมรับนับถือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
โดยถือกันมานาน กว่า 5,000 ปีว่าเป็นยาวิเศษอันทรงคุณค่ายิ่ง ต่อมาการนิยมใช้โสม ได้แพร่หลายไป
ยังส่วนต่างๆของโลก และในปัจจุบันมีการเพาะปลูก โสมกันทั่วไปทั้งในประเทศ จีน ญี่ปุ่นเกาหลี รัสเซีย
อินเดีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา |
|
อย่างไรก็ตามโสมมีอยู่ด้วยกันหลายพันธ์ แต่ละพันธ์จะมีสรรพคุณ แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ
และท้องถิ่นที่ทำการเพาะปลูก โสมพันธุ์ดีที่สุดนั้นมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Panax ginseng C.A.
Mayer เป็นพืชในตระกูล Araliaceae ซึ่งเป็นโสมพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในประเทศจีน และเกาหลี
คำว่า Panax มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกแปลว่า " รักษาได้สารพัดโรค" |
|
|
รากโสม เป็นส่วนของต้นพืชโสมที่นำมาใช้ในการบำบัดรักษา
รากโสมมีรูปร่างคล้ายคน
คือ มีส่วนหัว ลำตัว แขน และ ขา จึงมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า โสมคน หรือที่ชาวจีนเรียกว่า
"ยิ่นเซียม" นั่นคือชื่อของ โสมเกาหลี นั่นเอง |
|
|
ผลิตภัณฑ์จากรากโสมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ |
|
|
1. โสมชนิดสีขาว ได้มาจากรากโสมที่เก็บเกี่ยวมาสดๆ ล้างทำความสะอาด
และตากแดดให้แห้ง รากโสมที่แห้งแล้วจะมีสีเหลืองปนขาว ชาวจีนเรียกว่า
“ยิ่นเซียม” |
|
|
|
2. โสมชนิดสีแดง ทำจากรากชนิดเดียวกับชนิดโสมสีขาวแต่ต่างกัน
ที่วิธีการผลิต คือจะนำเอารากโสมสดที่ล้างทำความสะอาดแล้ว
มาทำการฆ่าเชื้อโรค โดยการนึ่งด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 120 –130 องศา
เป็นเวลานาน 2-3 ชั่วโมง ทำให้รากโสมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดง
จากนั้นจึงนำไปตากแดดให้แห้งสนิท ชาวจีนเรียกว่า โสมเกาหลี
นิยมใช้มากกว่าโสมสีขาว |
|
|
ผลของโสมต่อร่างกาย
1. เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย: คุณสมบัติต่อต้านความเมื่อยล้า Antifatigue effect ของโสม
ทำให้ร่างกายมีการปลดปล่อยพลังงานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะทำงานหรือออกกำลังกาย
สารพลังงาน ATP และ Glycogen ที่มีอยู่ใน กล้ามเนื้อจะถูกใช้หมดอย่างรวดเร็วและเกิดกรดน้ำนม
Lactic Acid เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้า สารสกัดจากโสมช่วยให้เยื่อเซลล์สามารถดูดซึม
ออกซิเจนเพิ่มขึ้นถึง 21% มีผลทำให้กระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้นร่างกาย
จึงปลดปล่อยพลังงานได้มากขึ้นขณะเดียวกับอัตราการเกิดกรดน้ำนมก็จะน้อยลง เนื่องจากได้รับการ
สังเคราะห์ให้กลับเป็น Glycongen ใหม่ และมีการสะสม ATP รวดเร็วขึ้น ดังนั้นอัตราการเกิด
ความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจึงลดน้อยลงด้วย นอกจากนั้นสารสกัดจากโสมยังช่วยปรับอัตราการเต้น
ของหัวใจให้กลับคืนสู่สภาพปกติรวดเร็วยิ่งขึ้น ร่างกายจึงเหน็ดเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการ
ทำงานได้ดีขึ้น
2. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง: Ginsenosides Rg1 จากโสมหรือในสารสกัดโสมมีคุณสมบัติกระตุ้น
ระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว แต่จะเป็นการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยากระตุ้นประสาทจำพวก
Amphetamine หรือ Cocaine จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือน ต่อการนานหลับตามปกติ
ส่วน Ginsenosides Rb และ Rc จะออกฤทธิเกี่ยวกับการระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด
สารสกัดจากโสมจึงมี ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเป็นทั้งตัวช่วยให้ประสาทตื่นตัว
และระงับผ่อนคลายประสาททั้งนี้การออกฤทธิ์กระตุ้นหรือระงับนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพ
และความต้องการของร่างกาย
3. ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ: เชื่อกันว่าโสมมีฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยค้นความด้วย
วิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ พิสูจน์ว่าโสมไม่ได้มีฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศ หากการบำรุงด้วยโสม
ทำให้สมรรถภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง จึงส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศ
มีความสมบูรณ์ขึ้นไปด้วย
4. ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง: จากากรทดสอบเชิงคลีนิก
มีผลชี้ว่า สารสกัดจากโสมอาจทำให้ตับอ่อนหลั่ง อินซูลินออกมา ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
ช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามนิ้วมือและปลายเท้า การเกิดแผลเน่าเปื่อย
นอกจากนี้ Ginsenosides Rb1 และ Re ยังมีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน จึงอาจช่วยลดขนาดการใช้อินซูลิน
ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานได้
5. ช่วยเร่งฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย: จากการศึกษาวิจัยและผลทางคลีนิกพบว่าโสมสามารถต่อต้านโรค
และอันตรายจากรังสีรวมถึงสารพิษต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโรค
แทรกซ้อนบางชนิด ช่วยร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง และเพิ่มสมรรถภาพในการต้านความเครียด
ซึ่งส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหายเป็นปกติจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น
6. ช่วยชลอความแก่: กระบวนการเผาผลาญไขมันของร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงาน เรียกว่า Lipid
oxidation นั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่สลายตัวจากอ๊อกซิเจน อนุมูลอิสระนี้จะทำลายเนื้อเยื่อ
ของอวัยวะ ต่างให้เสื่อสลายลง ตามกระบวนการของความชรา โสมและสารสกัดมาตรฐานโสม
สามารถทำลายอนุมูลอิสระของอ๊อกซิเจนช่วยให้เนื่อเยื่อเสื่อสภาพช้าลงประกอบกับคุณสมบัติเป็นตัว
ปรับสภาพ "Adaptogenic agent” ของโสมทำให้ร่างกาย และจิตใจ มีความทนทานต่อความกดดัน
ส่งผลในการชลอกระบวนการเสื่อมชราให้ช้าลงทำให้ร่างกายคงความสดใสเยาว์วัยอยู่ต่อไป
ได้เนิ่นนานขึ้น |
|
คัดลอกมาจาก : http://www.schumit.com/default.asp?pgid=103
http://www.livewellguide.com/herbhealth/thai/herb330_02.html |
|
|
|
ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (ED) |
|
ตามธรรมชาติ อวัยวะเพศแข็งตัวเมื่อมีการกระตุ้นทางเพศจากสมอง หรือประสาทสัมผัสต่างๆ
ปลายประสาทที่อยู่ในอวัยวะเพศจะหลั่งสารบางอย่าง
มีผลทำให้หลอดเลือดแดงภายในอวัยวะเพศขยายตัว
เลือดแดงจะไหลเข้ามาในอวัยวะ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพรุนคล้ายฟองน้ำมากขึ้น
ส่งผลให้อวัยวะเพศชายมีการขยายโต และยาวขึ้น
และในขณะเดียวกันเลือดดำที่อยู่ขอบนอกจะถูกเบียดให้แฟบลง ยิ่งทำให้เลือดมาคั่งในอวัยวะเพศ
อวัยวะเพศจึงแข็งตัวพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ |
|
ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือโรค อี ดี (ED/ Erectile dysfunction)
หมายถึง อาการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้
ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่แข็งตัว
หรือแข็งตัวไม่นานพอ บางรายมีอาการหลั่งเร็ว หลั่งไว สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเหล่านี้เกิดจากการที่เลือดไป
เลี้ยงที่อวัยวะเพศไม่เพียงพอ ปัจจุบันพบผู้ที่มีโอกาสป่วยด้วยอาการนี้สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาถึง 3 เท่า
เนื่องจากการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป
ทำให้เพศชายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศสูงขึ้น
ลักษณะอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
- แบบปฐมภูมิ คือการที่องคชาตไม่เคยแข็งตัวเต็มที่ หรือไม่แข็งพอที่จะทำให้ร่วมเพศสำเร็จเลย
- แบบทุติยภูมิ คือการที่องคชาตเคยแข็งตัวและร่วมเพศได้มาก่อน แต่ต่อมาเกิดความผิดปกติขึ้น
ทำให้ไม่สามารถแข็งตัวเหมือนเดิม
- แบบชั่วคราว คือการที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเป็นครั้งคราว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในกรณีนี้ หากพบปัญหา
และรีบรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถหายเป็นปกติได้ |
|
สาเหตุหลักของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- เหตุทางกาย เกิดจากโรค หรือภาวะทางกายที่มีผลต่อระบบประสาท หรือระบบหลอดเลือดของอวัยวะเพศ
หรือเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะเพศเอง ซึ่งอาจเกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ยาบางชนิด
ภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง และอายุที่มากขึ้น หรือหลายๆ สาเหตุร่วมกัน และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ มากมาย
- เหตุทางใจ เกิดจากโรค หรือภาวะทางจิตที่มีผลกระทบต่อการกระตุ้นทางเพศจากสมอง หรือประสาทสัมผัสเป็นสำคัญ
มักพบในคนหนุ่ม
อย่างไรก็ตามเหตุทางกายและใจมักเกิดร่วมกันได้เสมอ |
|
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศรักษาได้ อย่างไร?
เริ่มจากการตรวจร่างกายในห้องปฏิบัติการ เช่น เบาหวาน ไขมัน การทำงานของตับ และไต
และในรายที่ความต้องการทางเพศลดลง
หรือได้รับการตรวจร่างกายแล้วพบว่าลูกอัณฑะมีขนาดเล็ก
ต้องได้รับการตรวจฮอร์โมนเพศชายร่วมด้วย
การรักษาจะเริ่มจากวิธีรักษาง่ายๆ เช่น ยารับประทาน
รวมไปถึงใช้อุปกรณ์เข้าช่วย อย่างการใช้ปั๊มสูญญากาศ
ถ้าปฏิบัติตามนี้แล้วผลการรักษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ
ก็จะใช้ยาฉีด หรือการผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม หรือใช้หลายๆ วิธีร่วมกัน
โดยแพทย์จะให้การอธิบายวิธีรักษาแต่ละชนิด พร้อมข้อดี ข้อเสียแก่ผู้ป่วยทราบ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/บทความ-ทางเดินปัสสาวะ-
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : โรคนิ่ว-โรคไต/ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ-(ED)
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : โรงพยาบาลเปาโล |
|
|
|