|
|
Karaya gum / กัมคารายา
กัมคารายา (Karaya gum) เป็นกัม (gum) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)
เป็นสารในกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid) ประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide)
ประเภท heteropolysaccharide ที่ใช้เพื่อเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) |
|
ชื่อเรียกอย่างอื่น : Karaya , Gum sterculia , Sterculia , Kadaya , Katilo , Kullo , Kuterra , Gum karaya |
|
แหล่งที่มา
กัมคารายา เป็นกัมที่ได้จากน้ำยาง (exudate gum) ของต้น Sterculai urens
ที่มีแหล่งปลูกในประเทศอินเดีย ซูดาน และบางประเทศทางแอฟริกาเหนือ ยางคารายามีสีขาว
สีเหลืองอมชมพู จนถึงสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นคล้ายน้ำส้มสายชู รูปร่างไม่แน่นอน ไม่ละลายในน้ำ |
|
โครงสร้างโมเลกุล
Gum karaya เป็น partially acetylated polysaccharide ที่มีโครงสร้างเป็นกิ่งก้านสาขา
มีน้ำหนักโมเลกุลสูง ในโมเลกุลประกอบด้วย D-gulacturonic acid, D-galactose และ
L-rhamnose ต่อกันเป็นสายหลัก และมีกิ่งแขนงเป็น D-glucuronic acid มีหมู่ uronic acid
ประมาณ 35-40% และมีหมู่ acetyl อยู่ประมาณ 10-14% |
|
Gum karaya ที่ผลิตเพื่อการค้า ประกอบด้วย D-gulacturonic acid 30-43%
, D-galactose 13-26% และ L-rhamnose 15-30% นอกจากนี้ยังพบไอออนของโลหะ
Ca และ Mg เชื่อมต่อกับ uronic acid |
|
Gum karaya เป็น gum ที่มี rhamnose สูงกว่ากัมจากยางไม้ (exudate gum) ชนิดอื่นๆ |
|
คุณสมบัติของคารายากัม
Gum karaya ละลายในน้ำได้น้อย แต่ดูดน้ำและพองตัวได้ดี เนื่องจากมีหมู่ acetyl
ในโครงสร้างทำให้ Gum karaya ละลายในน้ำได้ไม่สมบูรณ์ แต่ให้สารละลายที่ใส
โดยการดูดน้ำอย่างรวดเร็ว ให้ลักษณะเป็นคอลลอยด์ที่มีความหนืด
ที่ความเข้มข้นต่ำ (น้อยกว่า 0.02% ในน้ำเย็น และ 0.06% ในน้ำร้อน) เมื่อทำเป็นผงละเอียด
จะเป็นตัวดูดน้ำและอุ้มน้ำที่ดีและเมื่อกระจายตัวอยู่ในน้ำจะพองตัวได้
60-100 เท่าของปริมาตรเดิม ได้เป็นสารละลายที่มีความหนืดสูง ความหนืดของสารละลาย
จะแปรผันโดยตรงกับความเข้มข้น เมื่อใช้ในปริมาณมากจึงมีสมบัติเป็น strong adhesiveness
ทำให้ได้สารละลาย คอลลอยด์ที่มีความหนืดสูง |
|
คุณสมบัติของสารละลาย gum karaya จึงขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาค การกระจายตัวของอนุภาค
ในน้ำเย็นจะให้ความหนืดสูงกว่าในน้ำร้อน gum karaya ทนต่อความเป็นกรดได้สูง
เพราะในโมเลกุลมีกรดยูโรนิก (uronic acid) สูง และยังทนต่อการ hydrolysis ที่ความเข้มข้น
ของสารละลาย hydrochloric acid สูงถึง 10% ที่อุณหภูมิห้องนานอย่างน้อย 8 ชั่วโมง |
|
การใช้ประโยชน์ในอาหาร
คารายากัมใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) INS 416 เป็นไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid)
มีลักษณะเป็นผง เช่น อิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) , ทำให้เกิดความข้นหนืด (thickening agent)
และ ทำให้คงตัว (stabilizing agent) |
|
ในการเคลือบ ทำไส้ขนม น้ำราด ขนมหวาน ใช้ผลิตรังนกเทียม
เนื่องจากดูดซับน้ำและพองตัวคล้ายรังนกมาก |
|
คัดลอกบางส่วนจาก : http://www.foodnetworksolution.com
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร ค้นหา "กัมคารายา" |
|
บทความจากเรื่อง : รังนกปลอม มาจากยางคารายา
เขียนโดย : Kungten Pathum
ดูรายละเอียดได้ที่นี้ : http://baipaknaru.blogspot.com/2013/03/blog-post_1321.html |
|
บทความจากเรื่อง : ต้นกรรณิการ์ หรือคารายากัม
เขียนโดย : ปริชาติ หงษ์สิงห์, ชนิดา พลานุเวช และนิจศิริ เรืองรังษี
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดูรายละเอียดได้ที่นี้ : http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php/ต้นกรรณิการ์ หรือคารายากัม |
|
|
|
|
|
สาระน่ารู้เรื่อง รักนกแท้หรือรังนกปลอมจากยางคารายากันแน่ |
|
รังนก ได้มาจากน้ำลายของนกนางแอ่น ซึ่งในบ้านเราจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ นกแอ่นกินรัง นกแอ่นกินรังตะโพกขาว และนกแอ่นหางสี่เหลี่ยม ซึ่งรังที่ได้จากน้ำลายของนกทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถนำมากินได้ทั้งหมด แต่รังของนกแอ่นกินรังจะเป็นที่นิยมที่สุดและหายากที่สุด ดังนั้นจึงมีราคาแพงที่สุดด้วย |
|
เนื่องจากตามสรรพคุณยาจีน รังนกถือเป็นอาหารบำรุงร่างกายอย่างดี สามารถเพิ่มกำลังวังชาในผู้ที่อ่อนแอหรือคนชราได้
ดังนั้น จึงทำให้รังนกเป็นอาหารที่มีผู้นิยมบริโภคมากมาย เป็นที่ต้องการของตลาด แต่เนื่องจากนกแอ่นนั้นจะสร้างรังก็ต่อเมื่อจะวางไข่
และ 1 ปีนั้นจะสามารถสร้างได้เพียงแค่ 3 รังเท่านั้นและถ้ารังถูกเก็บไปนกก็จะไม่วางไข่
ทำให้จำนวนนกแอ่นลดน้อยลง ดังนั้นรังนกจึงหายาก และรังแรกที่สร้างจะถือว่าเป็นรังที่มีคุณภาพมากที่สุด
เนื่องจากเป็นรังที่สีขาวสะอาด |
|
เมื่อความต้องการทางตลาดสูง จึงมีคนคิดที่จะทำรังนกปลอมขึ้นมาเพื่อเอาเปรียบผู้บริโภค โดยรังนกปลอมนั้นผลิตขึ้นมาจาก ยางของต้นไม้ยืนต้น Sterculia urens มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เรียกว่า ยางคารายา ซึ่งมีลักษณะเป็นสีขาว เหลือง อมชมพู ไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นคล้ายน้ำส้มสายชู และมีคุณสมบัติดูดซับน้ำและพองตัว ไม่ละลายน้ำ จนทำให้ดูลักษณะคล้ายกับรังนกมาก จนไม่สามารถแยกออกได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งยางคารายานี้ จะใช้เป็นวัตถุดิบในการอุตสาหกรรม สิ่งทอ หรืออุตสาหกรรมกระดาษ
และอื่นๆ และราคาไม่แพงมาก |
|
แม้ว่าจะมีการวิเคราะห์มาแล้วว่า ยางคารายา ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน
ซึ่งการนำยางคารายา มาหลอกขายว่าเป็นรังนกนั้นจึงเป็นการทำร้ายสุขภาพจิตของผู้ที่ถูกหลอก
ถือว่าเป็นการหลอกลวงเพื่อหาผลกำไร จึงมีความผิดตามกฎหมาย ในการสังเกตว่าเป็นรังนกแท้หรือไม่ได้มีผู้แนะนำไว้ว่า
ให้สังเกตโดยการใช้แว่นขยายถ้าเป็นรังนกแท้ จะต้องมีขนละเอียดของนกติดอยู่บ้าง แม้ว่ารังนกจะถูกทำความสะอาดมาแค่ไหน แต่นกจะต้องใช้เวลาทั้งวันในการสร้างรังและขลุกอยู่ในรัง ดังนั้นย่อมมีเศษขนละเอียดของนกติดอยู่ แต่เพื่อความแน่ใจก็สามารถส่งตัวอย่างมาตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ แต่มีค่าใช้จ่ายในการตรวจ 1,500 บาทต่อครั้ง ซึ่งเหมาะกับคนที่ซื้อเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปแปรรูป หรือขายต่อ |
|
ส่วนผู้บริโภคทั่วไปนั้นในการเลือกซื้อจึงต้องดูราคาที่เหมาะสม และต้องสังเกตสัญลักษณ์ อย. ด้วย เพื่อป้องกันการถูกหลวกลวงจากผู้หวังผลกำไร |
|
คัดลอกบทความความจาก : http://www.thaieditorial.com/รังนกแท้หรือรังนกปลอมจ |
|
|
|
|
|