|
|
ชาใบหม่อน สมุนไพรจากใบหม่อน เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ได้เผยแพร่สู่สาธารณชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540
และเปิดหลักสูตรการทำชาใบหม่อน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นมาทำให้ชาหม่อนหรือชาใบหม่อน
แพร่หลายเพราะรสชาติและคุณสมบัติที่ดีของหม่อนเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งดื่มได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น |
|
ชาใบหม่อนเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าใบหม่อนมีสารดีอ็อกซิโนจิริมายซิน (Deoxynojirimycin)
ซึ่งสารนี้มีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสาร กาบา (GABA – gamma amino butyric acid)
ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต และสาร ฟายโตสเตอรอล (Phytosterol)
ที่มีประสิทธิภาพในการลดความระดับคอเลสเตอรอล ที่กล่าวนี้เป็นผลงานวิจัยของ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น
สหรัฐอเมริกา ไทย อังกฤษ โรมาเนีย และอินเดีย ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวไทยและชาวญี่ปุ่น
ยังพบว่าใบหม่อนมี แร่ธาตุ และวิตามิน ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวมสูงกว่าใบชา อาทิ แคลเซียม
โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี อีกทั้งยังมี กรดอะมิโน
ที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด ชาวอีสานได้ใช้ใบหม่อนปรุงอาหารแทนผงชูรส
และเป็นส่วนประกอบของอาหารพื้นบ้านได้หลายชนิด เช่น ต้มยำ แกงอ่อม และผักเคียง ฯลฯ
มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ปัจจุบันชาใบหม่อนได้เข้ามาสู่อุตสาหกรรมอาหารต่าง ๆ เช่น
ไอศกรีมชาเขียวใบหม่อน เค้กชาใบหม่อน คุกกี้ใบหม่อน บะหมี่ใบหม่อน |
|
ใบหม่อนยังมีประโยชน์อีกมาก ดังจะเห็นได้จากมีการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อยมา
ตั้งแต่ชาใบหม่อนได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันโดยทั่วไป เกษตรกร และผู้ประกอบการ
สามารถยึดเป็นอาชีพได้ อีกทั้งสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของหลาย ๆ จังหวัด มีการเติบโต
อย่างต่อเนื่องทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการใช้ใบหม่อน
หรือชาใบหม่อนได้กว้างขวางมากขึ้น ผมและคณะผู้ร่วมวิจัยทั้งจากสถาบันหม่อนไหม
แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ และ ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ อาจารย์รัตติยา สำราญสกุล จากคณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต ได้วิเคราะห์หาสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ ที่มีสรรพคุณทางเภสัชศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2543 – 2545 พบว่า ในใบหม่อนมีสาร เควอซิติน (quercetin) และ เคมเฟอรอล (kaempferol)
ซึ่งเป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีคุณสมบัติดังนี้
1. ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
2. ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง
3. ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่
4. ลดอาการแพ้ต่าง ๆ และยืดอายุเม็ดเลือดขาว
5. สารทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางลำไส้เล็กและไม่เปลี่ยนแปลงสภาพ
6. พืชใช้สารเหล่านี้เพื่อให้ทนต่อลม ฝน แสงแดด
ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ต้องอาศัยจากพืช |
|
นับว่าชาใบหม่อนเป็นสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ผลิตจากพืชที่ปลูกได้ง่าย ราคาไม่แพง
รสชาติดี ทำให้ขณะนี้ ชาใบหม่อน และใบหม่อนได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
หรือใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น การนำชาใบหม่อนชนิดผงบดละเอียดหรือชนิดละลายน้ำ
มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เป็นส่วนผสมไอศกรีม ขนมคุกกี้ บะหมี่ และเครื่องปรุงรส
ส่วนในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง มีการการสกัดสารบางชนิดจากใบหม่อนใช้เป็นส่วนผสมของ ครีมผิวขาว
(whitening cream) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ชาใบหม่อนยังคงครองใจผู้บริโภค
ได้เป็นอย่างต่อเนื่องตลอด 6 ปี ที่ผ่านมา |
|
เขียนและเรียบเรียงโดย : วิโรจน์ แก้วเรือง หรือ http://gotoknow.org/blog/seri/176052 |
|
|
|
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดจากอะไร |
|
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหมายถึงโรคอะไร
เป็นกลุ่มโรคที่เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมีการแบ่งตัวอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้สะสมอยู่ในไขกระดูกแล้วก็ออกมาในการแตกเลือดก็ไปเบียดยังอวัยวะต่าง ๆ
ทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทำงานผิดปกติไปเกิดจากการที่มีเม็ดเลือดขาวมากเกินไป |
|
โรคนี้เป็นมาตั้งแต่เกิดหรือไม่ หรือเกิดภายหลังที่เราเกิดขึ้นแล้ว
โรคนี้มักจะมาเป็นภายหลัง หลังจากที่เราคลอดออกมาแล้ว แต่เราสามารถจะพบได้ในบางรายที่เป็นตั้งแต่คลอดออกมา แต่โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลัง |
|
สาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้นมีสาเหตุอะไร หรือมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นมา
ในปัจจุบันสาเหตุที่แท้จริงเรายังไม่ทราบ แต่มีปัจจัยส่งเสริมบางอย่าง เช่น โรคทางพันธุ์กรรมบางโรค
เช่น ดาวซินโดรม Down's syndrome
การแพร่รังสีเพราะเราเจอคนไข้มากขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2
มีระเบิดปรมาณู นอกจากนั้นยังมีสารเบนซินพวกนี้
ก็จะมีกลุ่มปัจจัยเสริมทำให้พบได้ง่ายขึ้น
และมีการติดเชื้อบางอย่างด้วย เช่น เชื้อไวรัสบางอย่าง |
|
ในเรื่องถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมจะมีส่วนด้วยไหม
เราพบว่าโรคพันธุ์กรรมบางอย่างการมีอุบัติการณ์ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงกว่าคนธรรมดาทั่วไปนั่น
คือ สาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวไม่ว่าในเรื่องของรังสี สารพิษต่าง ๆ |
|
ในกลุ่มที่ป่วยจะมีเพศใด วัยใดมากที่สุด
อันนี้ไม่เลือกเพศมีทั้งเพศหญิงชาย มีสิทธิเท่า ๆ กัน และเรื่องของวัยผู้ป่วยที่เราดูแลก็จะพบตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ถึง 60 ปี
โดยที่ไม่มีช่วงใดช่วงหนึ่งเป็นได้พิเศษ |
|
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้นจะมีวิธีดูแลหรือปฎิบัติตัวเองอย่างไร
เรื่องแรกคือ การดูแลสุขอนามัยส่วนตัว เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการติดเชื้อได้ง่าย และการดูแลรักษาความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ
ที่เราพบบ่อยคือสุขภาพปาก ฟัน อันนี้เป็นช่องทางทำให้ติดเชื้อกันง่าย
ควรใช้แปรงขนอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ
ซึ่งพวกนี้จะราคาแพงแต่จะทำให้มีแผลในปากน้อย และจะช่วยลดการติดเชื้อเป็นอย่างดี การรับประทานอาหาร ผัก ผลไม้ มาก ๆ จะช่วยในการขับถ่ายอุจจาระไปได้ด้วยดีไม่ท้องผูก
อาจจะมีแผลที่ทวารเป็นที่หนึ่งของการติดเชื้อได้ง่าย และการดื่มน้ำมาก ๆ
ก็จะช่วยได้มากเพราะพวกนี้จะมีการแตกสลายในเม็ดเลือดเป็นจำนวนมากและมีการสะสมสารบางอย่าง
ในร่างกายทำให้เกิดการอุดตัน เพราะฉะนั้นทานน้ำมาก ๆ ก็จะช่วยขับถ่ายได้เป้นอย่างดี
อีกอย่างคือการซื้อยาแก้ปวดแก้ไข้ทานเอง อันนี้จะเป็นอันตรายเสริมในกรณีที่ได้ยาผิดประเภทไป
คนไข้กลุ่มนี้ต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ |
|
การดูแลให้เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
2. ดื่มน้ำมากๆ
3. รักษาความสะอาดของร่างกาย
4. รับประทานอาหารทีมีประโยชน์ คุณค่าต่อร่างกาย
5. รักษาสุขภาพร่างกายอย่าให้มีโรคแทรกซ้อนมาภายหลัง |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=323
เขียนโดย : ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล |
|
|
|
มะเร็งเต้านมคืออะไร |
|
มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่เกิดขึ้นจาก เซลล์บนผิวของต่อมเต้านมได้รับผลกระทบจากสารก่อมะเร็ง
ยีนจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ทำให้เซลล์เพิ่มจำนวนขึ้นโดยไม่สามารถควบคุมได้เกินขีดจำกัดของร่างกาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงเป็นรองจากมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี
ซึ่งอยู่ในวัยก่อนหรือหลังหมดประจำเดือนจะมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพียง 1% - 2% เท่านั้นที่เป็นผู้ชาย |
|
โรคมะเร็งเต้านมมีอันตรายในด้านใดบ้าง ?
- อันตรายต่อสุขภาพชีวิตในเพศหญิง
- มีความเสี่ยงในการลุกลามของมะเร็ง
- มีความเป็นไปได้ในการกลับมาเป็นซ้ำ
- ทำให้กล้ามเนื้อของแขนและมือฝ่อ |
|
สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเต้านมคืออะไร ?
ปัจจัยต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับว่ามีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่ การเป็นหมัน จำนวนการคลอดน้อย
วัยหมดประจำเดือนมาถึงช้า ประจำเดือนมาตั้งแต่อายุยังน้อย มีประวัติโรคเต้านม มีประวัติโรคมะเร็งเต้านมทางครอบครัว
การกินยาคุมกำเนิด และได้รับผลกระทบจากรังสี เป็นต้น |
|
แต่สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเต้านมยังไม่สามารถยืนยันได้ทั้งหมด สำหรับปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดโรค
ซึ่งได้รับการยืนยันแล้วนั้น
ก็ยังมีข้อถกเถียงอยู่ไม่น้อย แต่ฮอร์โมนเพศหญิงที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังหมดประจำเดือนนั้น เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมอย่างชัดเจน นอกเหนือไปจากปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยด้านการบริโภค และปัจจัยทางด้านจิตใจที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งเต้านม |
|
โรคมะเร็งเต้านมมีอาการแสดงอย่างไร ?
- มีอาการเจ็บปวดเต้านมข้างหนึ่งในระดับเบาหรือบริเวณไหล่และหลังมีอาการเมื่อยและบวม
- สามารถสัมผัสได้ว่าในเต้านมมีก้อนขนาดถั่วปากอ้าอยู่และไม่เจ็บปวด
- ผิวหนังบริเวณที่มีก้อนเนื้อจะนูนขึ้น
- ผิวหนังบริเวณหน้าอกบุ๋มลงไปหรือย่น
- หัวนมเน่าและไม่สม่ำเสมอ
- ผิวหนังของเต้านมหนาขึ้น และรูขุมขนใหญ่ขึ้น
- หัวนมมีของเหลวไหลออกมา ซึ่งอาจเป็นเลือดหรือของเหลวปนเลือด |
|
วิธีการรักษามะเร็งเต้านมที่เหมาะสมที่สุด ?
ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมเต้านม ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา
ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งแบบบาดแผลเล็ก
พยาบาลผู้ดูแลแผนกเต้านมและเจ้าหน้าที่ล่าม
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการรักษา
โดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
เพื่อวางแผนการตรวจวินิจฉัย
การรักษาและการควบคุมอาการ ยกระดับผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.chularatcancercenter.com/?p=189&lang=th |
|
|
|