|
กาแฟสำเร็จรูปผสมรังนก ตรา "รอยัล โกลด์เด้น (Royal Golden) "
บรรจุซองละ 14 กรัม จำนวน 20 ซอง
กาแฟรสเข้มข้น ปราศจากน้ำตาล |
เลข ทะเบียน อย. |
|
|
|
|
กาแฟสำเร็จรูปผสมรังนก ตรา "บีคอฟฟ์ (B-Coff) "
บรรจุซองละ 20 กรัม จำนวน 20 ซอง
|
เลข ทะเบียน อย. |
|
|
|
|
กาแฟสำเร็จรูปผสมรังนก ตรา "ทองทิพย์ (ThongThip)"
บรรจุซองละ 20 กรัม จำนวน 20 ซอง
|
เลข ทะเบียน อย. |
|
|
|
|
|
|
|
|
ไทยเทสต์ , รอยัลสยาม , รอยัลโกลด์เด้น , Thai tastes , royal siam , royal golden , เครื่องดื่มกาแฟสำเร็จรูปผสมรังนก |
|
รังนกผง , กาแฟสำเร็จรูปผสมรังนกผง , กาแฟรังนก , รังนกกาแฟ , รังนกผสมกาแฟ , เครื่องดื่มกาแฟรังนก |
ประโยชน์ของรังนก
นอกเหนือจากอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ มีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันปลา
ซุปไก่สกัด อิฟนิ่งพริมโรสออยล์ กระเทียมอัดเม็ด วิตามินชนิดเม็ด แครอทสกัด ฯลฯ แล้ว
"รังนกนางแอ่น" ยังเป็นอีกหนึ่งในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่กำลังได้รับความนิยม
เพราะช่วยบำรุงกำลังให้ร่างกายสดชื่น แข็งแรง แก้อาการอ่อนเพลีย แก้ไอ
ขับเสมหะ ไอเป็นเลือด และยังค้นพบอีกว่า ในคนที่สูบบุหรี่จัด การรับประทานรังนกนางแอ่น
เป็นประจำทุกเช้า จะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ลดอาการไอ และช่วยฟอกปอด ได้อีกด้วย |
|
อีกทั้งมีการตรวจสอบสารประกอบในรังนกนางแอ่น ของMr.Biddle และ Mr.Belyavin
พบว่า รังนกนางแอ่น สามารถยับยั้งการเกิดเชื้อไวรัสไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ผ่านการรักษา
โดยใช้รังสีฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นสาร Epiderma Growth Factor ในรังนกนางแอ่น
ยังมีคุณค่าต่อระบบเลือดช่วยบำรุงผิวพรรณให้อ่อนกว่าวัย ชะลอความแก่ (Antiaging)
และทำให้อายุยืนอีกด้วย |
|
ที่มาของภาพ : http://gurusiteth.com/wp-content/uploads/2015/07/birdsnests.jpg
คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก : นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 |
|
|
|
ไข้หวัดใหญ่อันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้ |
|
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ระบาดมากในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม)
และฤดูหนาว (มกราคม – มีนาคม) ของทุกปี
ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรง
และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าโรคไข้หวัดทั่วไป |
|
รู้จักโรคไข้หวัดใหญ่ |
โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus)
ซึ่งเชื้อนี้มีหลายชนิดมากพอที่จะทำให้สามารถแยกไข้หวัดใหญ่ในคนได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ |
1. ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา
ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีก อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง
2. ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอช 1 เอ็น 1 (H1N1)
ที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสตัวเดิมมาก จึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันและติดเชื้อในวงกว้าง
ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป |
|
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ |
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป คือ ติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย
และเสมหะของผู้ป่วยที่ไอหรือจาม
และการสัมผัสมือหรือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย
เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ โทรศัพท์ ของเล่น รีโมตโทรทัศน์
เมื่อใช้มือมาขยี้ตา แคะจมูก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยง่าย |
|
อาการไข้หวัดใหญ่ |
โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการที่รุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยสังเกตได้จากอาการที่มักเกิดขึ้นทันทีทันใด
ต่างจากไข้หวัดธรรมดามักจะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป และที่สำคัญคือ ไข้หวัดใหญ่มักมีไข้สูงติดกันหลายวัน
โดยเฉพาะในเด็กจะมีไข้สูงลอยเกินกว่า 39 – 40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3 – 4 วัน อาจมีอาการหนาวสั่นสะท้านร่วมด้วย
ในขณะที่ไข้หวัดธรรมดาอาจมีไข้แต่ไม่สูงมากนัก นอกจากนั้นเด็กโตและผู้ใหญ่มักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อ่อนเพลียอย่างมาก และเบื่ออาหารเป็นอาการสำคัญ |
|
ความน่ากลัวของไข้หวัดใหญ่อย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้แก่ โรคปอดอักเสบ
และโรคสมองอักเสบ ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง
เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อทราบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ |
|
ดูแลรักษาไข้หวัดใหญ่ |
การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่มาก
อาจจะดูแลเองที่บ้านและรักษาตามอาการ
เช่น เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว
และใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มแอสไพริน
หรือถ้ามีน้ำมูกให้ใช้ยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
รับประทานอาหารอ่อน ๆ และนอนพักมาก ๆ ไม่ควรออกกำลังกาย |
|
หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน เช่น ไข้สูงมากจนเพ้อ ซึม หายใจหอบ หายใจลำบาก
เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืด
มีอาการขาดน้ำและดื่มน้ำไม่เพียงพอ
ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ |
|
ป้องกันไข้หวัดใหญ่ |
1. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วย
2. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
3. ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นพวกผัก ผลไม้ นม ไข่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลาง
5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
6. ดื่มน้ำสะอาด
7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
8. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น
9. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพิ่มเติมจากตารางฉีดวัคซีนตามปกติ แนะนำให้ฉีดกับคนกลุ่มเสี่ยงได้แก่
คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 19 ปี คนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด
ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่จะต้องไปคลินิกหรือไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ ช่วงฤดูไข้หวัด ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล
คนที่กินยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น |
|
คัดลอกข้อมูลและภาพจาก : https://www.bangkokhospital.com/content/influenza-prevention
อ้างอิงข้อมูลโดย : โรงพยาบาลกรุงเทพ |
|
|
|
ไอเป็นเลือด |
ความหมาย ไอเป็นเลือด |
ไอเป็นเลือด (Haemoptysis) คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจหรือปอดผิดปกติ ซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกัน
ทำให้เลือดอาจออกมาจากช่องคอ ช่องท้อง หรือปอด ลักษณะและปริมาณของเลือดที่ออกมานั้นแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับความรุนแรง โดยอาจมีสีแดงสด ชมพู หรือมีลักษณะเป็นฟองและมีเสมหะผสม หลายคนตกใจเมื่อไอเป็นเลือด
อาการนี้เกิดขึ้นได้แม้จะมีสุขภาพแข็งแรงดี แต่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงเสมอไปหากมีเลือดเล็กน้อย
แต่ถ้าเลือดออกมากควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ |
|
อาการไอเป็นเลือด |
ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง หรือมีภาวะปอดติดเชื้อ จะมีเลือดออกในปอดทำให้เวลาไอมีเลือดปนออกมากับน้ำลาย
มักมีสีแดงสดปริมาณเล็กน้อย บางครั้งอาจไอออกมาเป็นฟอง มีเลือดเป็นลิ่ม ๆ และมีเสมหะผสม
แต่หากเลือดออกมามีสีคล้ำและมีเศษอาหารผสม คล้ายกากกาแฟ อาจเป็นเลือดที่มาจากทางเดินอาหารที่กำลังมีปัญหา
ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที หรือหากมีอาการไอเป็นเลือดปริมาณมากและไม่มีทีท่าว่าจะหยุด
ซึ่งถือว่าเป็นภาวะร้ายแรง ควรโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินนำตัวส่งให้ถึงมือแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อดำเนินการรักษาต่อไป
อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก |
|
สาเหตุของการไอเป็นเลือด |
- อาการระคายเคืองจากการไอที่มากเกิน การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ
เกิดอาการระคายเคืองและไอเป็นเลือดได้
- การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ สาเหตุของไอเป็นเลือดที่พบมากที่สุดคือ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
หรือหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute Bronchitis) และการติดเชื้อในปอด หรือปอดบวม (Pneumonia)
ผู้ป่วยจะมีไข้สูงร่วมด้วย อาการไอเป็นเลือดจะดีขึ้นและหายเป็นปกติเมื่อการติดเชื้อได้รับการรักษา
- หลอดลมพอง คือ ภาวะที่หลอดลมขยายตัวอย่างผิดปกติ และมีการผลิตเมือกมากในทางเดินหายใจ
ผู้ป่วยจะไอเป็นเสมหะค่อนข้างมาก หากทางเดินหายใจอักเสบจะไอเป็นเลือดร่วมด้วย
- วัณโรค เป็นสาเหตุที่พบได้ในไทย ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรังนานมากกว่า 3 สัปดาห์ มีเสมหะเป็นเลือด ไข้สูง
นอกจากนี้ ยังมีอาการเหนื่อยง่าย น้ำหนักลด และมีภาวะเบื่ออาหารร่วมด้วย
- โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด คือ ภาวะที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงในปอด ผู้ป่วยมักหายใจลำบากอย่างกะทันหัน
เจ็บหน้าอก และในบางรายอาจไอเป็นเลือดร่วมด้วย
- ปัญหาหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรงเป็นสาเหตุทำให้มีน้ำในช่องปอด
ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก อาจมีเสมหะเป็นฟองปนเลือด นอกจากนี้ ปัญหาหลอดเลือดต่าง ๆ
อาจทำให้เลือดออกในทางเดินหายใจและปอดได้เช่นกัน
แต่ภาวะนี้พบได้น้อยมาก
- มะเร็งปอด อาการไอเป็นเลือดหรือเสมหะเป็นเลือด เป็นอาการหนึ่งของมะเร็งปอด
ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่
- การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
เช่น Warfarin Dabitagran
และ Rivaroxaban ทำให้เกิดภาวะเลือดออก
และไอเป็นเลือดได้
- การอักเสบและความผิดปกติของเนื้อเยื่อ เป็นภาวะที่เกิดกับทางเดินหายใจหรือปอด
ทำให้เลือดออกและเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยไอเป็นเลือด
สาเหตุของภาวะนี้ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจที่มีภาวะเลือดออกในถุงลมและหลอดเลือดฝอยในปอด
(Pulmonary Haemosiderosis) และอาการไอเป็นเลือดช่วงมีประจำเดือนเนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในปอด
(Pulmonary Endometriosis) อย่างไรก็ตามสาเหตุนี้พบได้ไม่บ่อย
- การสูดสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูกและการบาดเจ็บของปอด การสูดสิ่งแปลกปลอมเข้าไป
เช่น ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ
หรือถั่วลิสงในเด็กเล็ก สามารถทำให้ทางเดินหายใจและปอดเสียหายได้
ซึ่งเป็นสาเหตุให้ไอเป็นเลือด
- ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ บางครั้งแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุของอาการไอเป็นเลือดได้
(Idiopathic Haemoptysis)
ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดเล็ก ๆ ในทางเดินหายใจแตกและทำให้เลือดออก
โดยแพทย์จะวินิจฉัยได้ก็ต่อเมื่อตรวจไม่พบสาเหตุอื่น ๆ
บางครั้งอาการไอเป็นเลือดเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสาเหตุ และจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก |
|
การวินิจฉัยอาการไอเป็นเลือด |
แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการซักถามประวัติ สีและลักษณะของเลือด รวมถึงอาการอื่น ๆ
เพื่อหาว่าเลือดออกมาทางใด
ปกติเลือดจะออกจากทางเดินหายใจหรือปอด
แต่บางกรณีก็ยากที่จะวินิจฉัยโดยเฉพาะในภาวะต่อไปนี้ |
|
- ภาวะที่มีเลือดออกจากทางปากหรือจมูก และไหลกลับเข้าไปในช่องคอ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอ
- ภาวะที่ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด ซึ่งอาจมีอาการไอร่วมด้วย |
|
นอกจากการวินิจฉัยข้างต้นแล้ว แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของอาการไอเป็นเลือด ดังนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง เพื่อหาความผิดปกติของเลือด และเกร็ดเลือด
- เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อดูหลอดเลือดแดง หัวใจ ปอดและกะบังลม
- เก็บเสมหะส่งเพาะเชื้อ เพื่อหาแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ
- วินิจฉัยหลอดเลือดทางรังสีวิทยา เพื่อประเมินการกระจายของหลอดเลือดในปอด
- ส่องกล้องหลอดลม (Bronchoscopy) เพื่อหาช่องทางที่เลือดออกมา
- ตัดชิ้นเนื้อปอดส่งตรวจ เพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อ
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูภาพตัดของทรวงอก |
|
ภาวะแทรกซ้อนของอาการไอเป็นเลือด |
อาการไอเป็นเลือดส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่ภาวะที่รุนแรง โดยจะมีอาการดีขึ้นและหายได้เอง
อย่างไรก็ตาม อาการไอเป็นเลือดอาจมีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติอื่น ๆ
หรือโรคประจำตัวที่ร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้อาการแย่ลง
และเสียชีวิตได้
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือดรุนแรง
นอกจากนี้ อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งได้ |
|
การป้องกันอาการไอเป็นเลือด |
ไอเป็นเลือดส่วนใหญ่ไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง แต่ควรป้องกันตัวเองด้วยการดูสุขภาพร่างกาย
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
เพื่อสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง ไม่สูบบุหรี่
และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่
ซึ่งทำลายสุขภาพปอดและทางเดินหายใจ ระวังการสูดเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก
หรือจมูกในเด็กเล็ก
ซึ่งจะส่งผลให้ทางเดินหายใจและปอดเสียหายได้
อย่างไรก็ตาม บางปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอาการไอเป็นเลือดสามารถป้องกันได้ยาก
เช่น โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เป็นต้น |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและภาพจาก : https://www.pobpad.com/ไอเป็นเลือด |
|
|
|
CALL CENTER : 084-467-7810
E-mail : ceo424d@hotmail.com |
|
|
|
|