|
กาแฟสำเร็จรูปผสมทุเรียน ตรา "รอยัล โกลด์เด้น (Royal Golden) "
บรรจุซองละ 14 กรัม จำนวน 20 ซอง
กาแฟรสเข้มข้น ปราศจากน้ำตาล |
เลข ทะเบียน อย. |
|
|
|
|
กาแฟสำเร็จรูปผสมทุเรียน ตรา "..............................."
น้ำหนักสุทธิ 400 กรัม (20 กรัม X 20 ซอง)
|
เลข ทะเบียน อย. |
|
|
|
|
กาแฟสำเร็จรูปผสมทุเรียน ตรา "LIU LIU "
บรรจุซองละ 20 กรัม จำนวน 20 ซอง
|
เลข ทะเบียน อย. |
|
|
|
|
กาแฟสำเร็จรูปผสมทุเรียน ตรา "LIU LIU "
บรรจุซองละ 20 กรัม จำนวน 20 ซอง
|
เลข ทะเบียน อย. |
|
|
|
|
กาแฟสำเร็จรูปผสมทุเรียน ตรา "โดเรี่ยน "
บรรจุซองละ 20 กรัม จำนวน 20 ซอง
|
เลข ทะเบียน อย. |
|
|
|
เครื่องดื่มกาแฟทุเรียน , ทุเรียนกาแฟ |
|
|
|
ผลิตโดย : มาวาลิค ฟู้ด / ภูพระยาสมุนไพร , ไทยเทสต์ , รอยัลสยาม , รอยัลโกลด์เด้น , โดเรียน , กาแฟทุเรียน , ทุเรียนกาแฟ |
|
Liu , หลิว , Durian , โดเรี่ยน , ทองทิพย์ , กาแฟทุเรียน , ทุเรียนกาแฟ , ทุเรียนผสมกาแฟ , บ้านขนม , ร้านทองทิพย์ของฝาก |
สรรพคุณของทุเรียน
- ช่วยทำให้ฝีแห้ง
- สรรพคุณทุเรียนช่วยแก้โรคผิวหนัง
- สารสกัดจากใบและรากทุเรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ ด้วยการใช้น้ำจากใยวางบนศีรษะ
ของผู้ป่วยจะช่วยลดไข้ได้
- ทุเรียน สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องร่วง
- สรรพคุณของทุเรียนช่วยขับพยาธิ
- ทุเรียน สรรพคุณทางยาช่วยแก้ดีซ่าน
- ช่วยทำให้หนองแห้ง
- ช่วยแก้ตานซาง
- ช่วยรักษาโรคคางทูม
- ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย
- ช่วยแก้ฝี
- ช่วยรักษาแผลพุพอง
- ใช้สมานแผล
- เปลือกทุเรียนใช้ไล่ยุงและแมลง |
|
ประโยชน์ของทุเรียน
- ทุเรียนพันธุ์หมอนทองสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้
เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้
- เนื่องจากทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง) การบริโภคทุเรียนในปริมาณ
ที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
- แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
- เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น
- ประโยชน์ทุเรียน ผลสามารถนำมาแปรรูปหรือทำเป็นขนมหวานได้หลายชนิด
- ทุเรียน ประโยชน์เมล็ดของทุเรียนสามารถรับประทานได้มานำมาทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว
การทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือการนึ่ง โดยเนื้อในจะมีลักษณะคล้ายกับเผือกหรือมันเทศแต่เหนียวกว่า
- ใบอ่อนหรือหน่อของทุเรียนสามารถนำมาใช้ทำอาหารบางอย่างคล้ายกับผักใบเขียวได้เช่นกัน |
|
>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ |
|
|
|
โรคคางทูม คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ |
|
|
โรคคางทูม คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ จากการติดเชื้อไวรัสที่มัมส์ Mumps
ไวรัสนี้จะเคลื่อนจากระบบทางเดินหายใจไปยังต่อมน้ำลายบริเวณข้างหู
เกิดการอักเสบจนรู้สึกเจ็บปวด
และบวมแดง หากไวรัสมัมส์ Mumps
แพร่กระจายเข้าสู่น้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลัง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ |
|
สาเหตุของโรคคางทูม |
สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มัมส์ Mumps อยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus
เป็นไวรัสในอากาศ
แพร่กระจายได้โดยการไอ จาม สัมผัสน้ำลาย น้ำมูก
หรือสิ่งของกับผู้เป็นโรคนี้ ไวรัสมัมส์ Mumps
จะเคลื่อนผ่านทางระบบทางเดินหายใจ
ตั้งแต่จมูก ปาก ลำคอ ไปยังต่อมน้ำลายบริเวณข้างหูข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง |
|
อาการของโรคคางทูม |
1. ต่อมน้ำลายบริเวณข้างหูเจ็บและบวมอย่างเห็นได้ชัด
2. มีไข้สูง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
3. เบื่ออาหาร ปากแห้ง
4. ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ และตามข้อ |
|
อาจพบอาการอักเสบของต่อมชนิดอื่นๆ เช่น ตับอ่อน เต้านม ต่อมไทรอยด์ เป็นต้น |
|
การรักษาโรคคางทูม |
1.ใช้ยาพาราเซตามอล หรือไอบูโปรเฟน ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน
เพราะจะเกิดอาการ ตับ และสมองบวม
อาเจียน ชัก และหมดสติได้
2. แยกผู้ป่วย หลังมีการบวมของต่อมน้ำลาย |
|
ภาวะแทรกซ้อน |
1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส เชื้อไวรัสมัมส์ Mumps แพร่กระจายเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง
2. รังไข่อักเสบ ผู้ป่วยคางทูมเพศหญิง มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย และมีไข้สูง
3 .ลูกอัณฑะอักเสบ ผู้ป่วยคางทูมเพศชาย มีอาการลูกอัณฑะบวมข้างเดียว
มีผลกระทบกับระบบสืบพันธุ์ สเปิร์มผลิตได้น้อยลง ใช้การประคบร้อน
และประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการลูกอัณฑะบวม |
|
การป้องกันโรคคางทูม |
ป้องกันโรคคางทูมโดยการฉีดวัคซีน MMR หรือ Measles-Mumps-Rubella Vaccine 2 ครั้ง
ครั้งแรกเด็กอายุ 9-12 เดือน ครั้งที่ 2 เด็กอายุ 3-6 ขวบ |
|
ปัจจุบันยังไม่มียา หรือการรักษาคางทูมให้หายขาดโดยทันที แต่สามารถทำได้โดยบรรเทาอาการและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงขึ้น |
|
คัดลอกข้อมูลและภาพจาก :
http://petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Mumps-is-a-respiratory-system
อ้างอิงข้อมูลโดย : โรงพยาบาลเพชรเวช / ลงวันที่ 09 กุมภาพันธุ์ 2565 |
|
|
|
โรคตานซาง หรือโรคซาง |
ตานซาง คือ อะไร? |
"ตานซาง" (ตานทราง หรือ ตาลทราง) เป็นชื่อที่เรียกรวมของโรค ที่เกิดในเด็ก แบ่งเป็น โรคซาง และ โรคตาน
สาเหตุมักเกิดจากให้เด็กดื่มนมบ่อยเกินไป ไม่เป็นเวลา อาการลิ้นขาวเป็นฝ้า ปากเจ็บ รับประทานอาหารไม่ได้ |
|
โรคซางคืออะไร |
โรคซางคือโรคที่ไม่มีอยู่จริงในทางการแพทย์แผนปัจจุบันค่ะ แต่จะมีบันทึกอยู่ในแพทย์แผนโบราณ
และส่วนใหญ่มักจะเป็นคำบอกกล่าว ความเชื่อที่ส่งต่อกันมาถูกบ้าง ผิดบ้าง พอเห็นว่าเด็กมีอาการต่าง ๆ
เช่น ตัวร้อน ไม่สบาย ท้องเสีย เป็นตุ่มตามตัว เป็นตุ่มในปาก ขาดสารอาหาร ตัวผอม ตัวเล็ก
ก็มักจะตีความไว้ก่อนว่าเป็นโรคซาง |
|
แต่ถ้าจะให้จำกัดความอาการของโรคซางให้แคบลงมาอีกหน่อย โดยอ้างอิงจากกลุ่มอาการที่พบ
ก็เป็นไปได้ว่าโรคซางที่คนเฒ่าคนแก่บอกเอาไว้นั้น อาจจะหมายถึงโรคขาดสารอาหารหรือพุงโรก้นปอด
อันเนื่องมาจากการขาดสารอาหารหรือการติดเชื้อจากกลุ่มพยาธิที่อยู่ในลำไส้ |
|
สาเหตุของโรคซางเกิดจากอะไร |
สาเหตุที่โรคซางมักจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กมีพฤติกรรมในการเลือกกิน
ไม่ชอบรับประทานของที่มีประโยชน์
เพราะรู้สึกว่าทานยาก และมักจะเป็นสาเหตุหลัก ๆ
ของโรคในวัยเด็ก ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจาก ข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้ |
|
- ผู้ปกครอง คุณพ่อ คุณแม่ ไม่มีความรู้ หรือขาดความเข้าใจในเรื่องของอาหารการกิน
ทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ
- ขาดความเอาใจใส่เรื่องอาหารการกิน ใส่ใจเฉพาะในเรื่องของการอิ่มท้อง
โดยไม่คำนึงถึงอาหารที่มีประโยชน์ที่เด็กควรจะได้รับ
- และเมื่อเด็กมีอาการเจ็บป่วย จากการที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
ก็จะทำให้เด็กมีภาวะเบื่ออาหาร
จนทำให้ได้รับอาหารที่น้อยลงตามไปด้วย |
|
การดูแลและป้องกันลูกน้อยเป็นซาง |
1. คุณแม่มือใหม่ต้องให้ลูกน้อยดูดนมแม่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพราะนมแม่
เป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด และเป็นแหล่งภูมิคุ้มกันชั้นดีอีกด้วย
2. ฝึกนิสัยการกินที่ดีให้ลูกน้อย โดยการฝึกให้ลูกรู้จักทานอาหารให้เป็นเวลา
นั่งทานเรียบร้อยไม่กินไปเล่นไป ไม่ให้ลูกทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก่อนรับประทานอาหารมือหลัก
ซึ่งส่งผลให้ลูกน้อยอิ่มก่อน และร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
3. ให้ลูกรับประทานอาหารเสริมตามช่วงวัย การเริ่มอาหารเสริมนั้น
คุณแม่ควรให้ลูกน้อยลองชิมอาหารหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป
โดยเริ่มทีละน้อย จากอาหารเหลว แล้วค่อยเพิ่มความหยาบของอาหาร
และควรให้ลูกรับประทานอาหารอย่างหลากหลายด้วยเพื่อร่างกายจะได้รับสารอาหารครบถ้วน
หากลูกไม่ยอมกินก็ไม่ควรบังคับ เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับการกิน
4. ถ่ายพยาธิ ในกรณีนี้คุณแม่ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
เพื่อฟังคำแนะนำ และวิธีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง |
|
ผลกระทบจากโรคซาง |
ร่างกายของเด็กจะผอมแห้ง ไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อลีบ ทำให้ส่งผลเสียต่อระบบขับถ่าย
ระบบการหายใจ และมีพัฒนาการช้า นั่นเพราะ เด็กขาดสารอาหารจำเป็นต่อระบบการทำงานของร่างกาย |
|
สำหรับคุณแม่มือใหม่ หากดูแลและใส่ใจลูกน้อย ด้วยความรักแล้วล่ะก็
ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรที่ร้ายแรง
ก็ไม่สามารถเข้ามาทำอันตรายลูกน้อยของคุณได้
ทั้งนี้คุณแม่ควรเป็นผู้ปกป้องสุขภาพของลูกน้อยให้มีความแข็งแรง
รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ |
|
เรียบเรียง และคัดลอกข้อมูลจาก :
https://www.bangkoktip.com/single-post/ตานซาง-ค-อ-อะไร
https://www.enfababy.com/sang-disease
https://momandbaby.net/sick/children-disease/
https://konthong.com/articles/croup-disease-in-children |
|
|
|
CALL CENTER : 084-467-7810
E-mail : ceo424d@hotmail.com |
|
|
|
|
|
|