|
เครื่องดื่มซุปไก่ดำสกัดเข้มข้น ตรา "BONBACK"
ปริมาตรสุทธิ : 270 มิลลิลิตร ( 45 C.C. x 6 ขวด ) |
เลข ทะเบียน อย. |
|
|
|
|
|
|
|
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้นและมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่มมากขึ้น
มีการโฆษณาถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันไปต่างๆ เช่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง
ช่วยให้ความจำดีขึ้น เป็นต้น ซุปไก่สกัดเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รู้จักกันมานานแล้ว
โดยเชื่อว่าจะช่วยบำรุงสุขภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรง |
|
รศ.วรรณวิบูลย์ กาญจนกุญชร อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การอาหารคณะอุตสาหกรรมเกษตร อธิบายว่าซุปไก่สกัดนั้นถ้าพิจารณาถึงเรื่องคุณค่าทางโภชนาการ แล้วมีการวิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าซุปไก่สกัด 100 มิลลิลิตร จะประกอบด้วย น้ำ 93 กรัม โปรตีน 8 กรัม แคลเซียม เหล็ก
และวิตามินบี อีกเล็กน้อย เพราะฉะนั้นเมื่อดื่มซุปไก่สกัด 1 ขวด ในปริมาณ 80 มิลลิลิตร ก็จะได้โปรตีนประมาณ 8 กรัม
สำหรับคนทำงานทั้งหญิงและชาย ในขณะที่ร่างกายต้องการปริมาณโปรตีนประมาณ 44-55 กรัมต่อวัน |
|
ซึ่งการบริโภคเนื้อสัตว์ในแต่ละวันก็จะได้รับโปรตีนในปริมาณตามที่ร่างกายต้องการ
ตัวอย่างเช่น ในเนื้อสัตว์ 100 กรัม จะมีโปรตีนอยู่ประมาณ 16-20 กรัม
เราควรบริโภคเนื้อสัตว์ประมาณ 300 กรัมจะทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนเพียงพอกับความต้องการ
สำหรับคนที่มีร่างกายปกติและบริโภคอาหารได้เอง การบริโภค เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่จะได้สารอาหาร
ที่มีคุณค่าทางอาหารไม่แพ้ซุปไก่สกัด แต่สำหรับคนที่ร่างกาย มีความต้องการกรดอะมิโน
หรือต้องการโปรตีนอย่างรวดเร็ว การดื่มซุปไก่สกัดก็สามารถช่วยชดเชยสิ่งต่างๆได้
ในระยะเวลาอันรวดเร็ว |
|
ศ.นพ. Azhar แพทย์ชื่อดังของประเทศมาเลเซียและคณะ พบว่าหลังดื่มซุปไก่สกัดทุกวัน
สามารถช่วยลดความวิตกกังวลให้กับนักศึกษาแพทย์ที่กำลังเครียดจากการเตรียมสอบ
ทั้งนี้ผู้วิจัยคาดว่าอาจจะเป็นเพราะโปรตีนและกรดอะมิโนที่มีมากในซุปไก่สกัด
ที่มีส่วนช่วยลดความวิตกกังวลสามารถช่วยในเรื่องการเรียนรู้ทำให้มีสมาธิและเพิ่มความจำของคนเราได้ |
|
คัดลอกจาก : บทความเรื่อง ซุปไก่สกัด...มีคุณค่าโภชนาการสูง?
วิทยาศาสตร์รอบตัวจาก สสวท. ( คัดลอกจาก ศูนย์แบ่งปันความรู้ ม.น.ข ) |
|
>> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ |
|
|
|
กรดอะมิโนจำเป็นคืออะไร สำคัญต่อร่างกายอย่างไร |
กรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบของโปรตีนที่สำคัญต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
ซึ่งมีทั้งหมด 20 ชนิด โดยแบ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acids) 9 ชนิด
ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้และจะได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น
ส่วนกรดอะมิโนชนิดอื่นร่างกายสามารถสร้างได้ การได้รับกรดอะมิโนจำเป็นจากอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ |
|
หลังจากรับประทานอาหารประเภทโปรตีน ร่างกายจะย่อยสลายให้กลายเป็นกรดอะมิโน
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยให้เซลล์เจริญเติบโต ช่วยในการย่อยอาหาร
และใช้เป็นพลังงานในร่างกาย กรดอะมิโนจำเป็นทั้ง 9 ชนิดสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย
และพบในอาหารชนิดใดบ้าง บทความนี้มีคำตอบ |
|
|
|
ประโยชน์ของกรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด |
กรดอะมิโนจำเป็นทั้ง 9 ชนิดมีความสำคัญต่อร่างกายต่างกัน ดังนี้ |
|
- ฮิสตีดีน (Histidine) มีส่วนช่วยสร้างสารฮิสตามีน (Histamine) ที่เป็นสารสื่อประสาท
ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบย่อยอาหาร การนอนหลับ และพัฒนาการทางเพศ
นอกจากนี้ ฮิสตีดีนยังช่วยป้องกันความเสียหายของปลอกหุ้มเส้นประสาทมัยอิลิน (Myelin Sheath) อีกด้วย
- ลิวซีน (Leucine) เป็นหนึ่งในกลุ่มกรดอะมิโนที่สำคัญต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
(Branch Chain Amino Acids: BCAAs) มีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน
และโกรทฮอร์โมน (Growth Hormones) ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สึกหรอ
ฟื้นฟูบาดแผล และรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
- ไอโซลิวซีน (Isoleucine) จัดอยู่ในกลุ่ม BCAAs เป็นส่วนประกอบสำคัญในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
ช่วยในกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลังงานในกล้ามเนื้อ (Muscle Metabolism) และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
- วาลีน (Valine) เป็นกรดอะมิโนอีกตัวในกลุ่ม BCAAs ที่ช่วยในการสร้างพลังงาน
เสริมสร้างการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- ทรีโอนีน (Threonine) ช่วยสร้างโปรตีนสำคัญอย่างคอลลาเจนและอีลาสติน
ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ช่วยในการเผาผลาญไขมัน
การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยให้เลือดแข็งตัว ป้องกันเลือดออกผิดปกติ
- ไลซีน (Lysine) มีส่วนช่วยสร้างพลังงาน ฮอร์โมน คอลลาเจน และอีลาสติน รวมทั้งช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน
การดูดซึมของแคลเซียม และเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
- เมไธโอนีน (Methionine) ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญ การกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
และการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุในร่างกาย เช่น ซีลีเนียมและสังกะสี (Zinc)
- ฟีนีลอะลานีน (Phenylalanine) จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทในสมองหลายชนิด
เช่น โดพามีน (Dopamine) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และอิพิเนฟริน (Epinephrine)
รวมถึงมีส่วนสำคัญในโครงสร้างของโปรตีนและช่วยในการผลิตกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ
- ทริปโตเฟน (Tryptophan) เป็นสารตั้งต้นในการสร้างเซโรโทนิน (Serotonin)
ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ควบคุมความอยากอาหาร การนอนหลับ และอารมณ์
รวมทั้งช่วยรักษาสมดุลของไนโตรเจนในร่างกาย |
|
การขาดกรดอะมิโนจำเป็น |
การขาดโปรตีนอาจทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์
การทำงานของหัวใจ ภูมิคุ้มกัน
และระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม
คนทั่วไปที่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนอย่างเพียงพอ
จะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นมากพอและไม่มีภาวะขาดโปรตีน |
|
สาเหตุสำคัญของการขาดโปรตีน คือ ได้รับอาหารที่มีปริมาณโปรตีนไม่เพียงพอจากความยากจน
ความผิดปกติในการดูดซึมสารอาหาร การผ่าตัด และการขาดความเข้าใจในการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง
ผู้ที่ลดน้ำหนักบางคนรับประทานอาหารน้อยลงเพื่อลดปริมาณพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน
จึงทำให้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ |
|
นอกจากนี้ กลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นไม่เพียงพอคือหญิงตั้งครรภ์
เนื่องจากขณะที่ตั้งครรภ์ร่างกายจะต้องการกรดอะมิโนจำเป็นเพิ่มขึ้น
เช่น ทรีโอนีน ไลซีน ไอโซลิวซีน และทริปโตเฟน
โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกเติบโตเร็วที่สุด
ร่างกายของคุณแม่จึงต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
เพื่อการเติบโตของทารกในครรภ์ |
|
โปรตีนช่วยเสริมสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ผม และเล็บของทารก
และยังช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
ป้องกันอาการบวมจากการคั่งของของเหลว
และรักษาระดับความดันโลหิตของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ให้อยู่ในระดับปกติ |
|
กรดอะมิโนจำเป็นมีความสำคัญต่อร่างกายหลายด้าน เช่น สังเคราะห์โปรตีน เสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
และเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยคนทั่วไปจะได้รับกรดอะมิโนจำเป็นอย่างเพียงพอ
โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริม หากมีข้อสงสัยหรือไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีโปรตีนได้
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ |
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและภาพจาก :
https://www.pobpad.com/กรดอะมิโนจำเป็นคืออะไร |
|
|
|
เครียดสะสม ภาวะอันตรายทำลายสุขภาพ |
ความเครียด (Stress) เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเพศทุกวัย
ปัจจุบันนี้พบว่า คนส่วนใหญ่มักมีอาการเครียดสะสม อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่ตึงเครียด
บางรายมีความกดดันมาก และมีความคาดหวังในชีวิตสูงซึ่งพอไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง
ทำให้มีอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน ในบางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า
(Depressive disorder)
หรือ โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้ในอนาคต |
|
สัญญาณของอาการเครียดสะสม |
เมื่อเรามีภาวะเครียดมาก ๆ จะทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลงเรื่อย ๆ ผู้ที่เริ่มสงสัยว่าตนเองมีอาการเครียดสะสมหรือไม่
สามารถสังเกตตนเองได้จากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่จะมีอาการดังนี้ |
|
- พฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น นอนไม่หลับ ตื่นเร็วเกินไป หรือ ชอบตื่นกลางดึก
- พฤติกรรมทางอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย เบื่อหน่ายชีวิต วิตกกังวล
และหน้าตาเศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง
- อาการเครียดที่แสดงออกทางกาย เช่น หายใจถี่ขึ้น หรือ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว
บางรายมีอาหารปวดหัวร่วม
- ผู้ที่มีความเครียดสะสมมาก ๆ อาจมีอาการเครียดจนอยากตาย |
|
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อรู้สึกเครียด? |
จัดการความเครียดด้วยตัวคุณเอง คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเครียดสะสม |
|
- พยายามมองโลกในแง่บวก วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น ๆ
- จัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวใหม่ เช่น การจัดบ้านใหม่ หรือ โต๊ะทำงาน เพื่อลดอาการเบื่อหน่าย หรือ ความจำเจ
- บำบัดตัวเองง่าย ๆ ด้วยสิ่งที่ตนเองชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง วาดภาพ ออกกำลังกาย
- ออกไปหาสถานที่ผ่อนคลาย เช่น ไปเที่ยวทะเล ไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือ ไปสวนสาธารณะ
- พบปะเพื่อนฝูงหรือใช้เวลากับครอบครัว การที่เราสามารถพูดคุย หรือ ปรึกษาปัญหาที่เรากำลังเผชิญนั้น
สามารถลดความเครียด ความกดดันในชีวิตได้ |
|
|
|
การรักษาอาการเครียดสะสม |
ความเครียดสะสมเป็นภาวะที่สร้างความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ในบางรายที่มีอาการเครียดสะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้
การไปพบจิตแพทย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่หาทางออกจากภาวะเครียดสะสมไม่ได้
หลายคนมักเข้าใจว่าการไปพบจิตแพทย์ คือ เรามีภาวะจิตไม่ปกติ แต่ในความจริงแล้ว
การไปพบจิตแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่ช่วยให้เราบรรเทาอาการเครียดสะสม
ซึ่งจิตแพทย์จะให้คำปรึกษาและบำบัดให้เราอย่างถูกต้อง เพื่อคลายความเครียดอย่างถูกวิธีนั่นเอง |
|
ยิ่งเครียด ยิ่งเสี่ยงโรค |
ภาวะเครียดสะสมส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา โรคที่เกิดจากภาวะเครียดสะสม เช่น |
|
-โรควิตกกังวล
-โรคกลัว (โฟเบีย)
-โรคแพนิค
-โรคเครียดที่มีอาการทางกาย
-โรคเครียดภวังค์
-โรคย้ำคิดย้ำทำ
-โรคซึมเศร้า
-โรคความดันโลหิตสูง
-โรคหัวใจ
-โรคเครียดลงกระเพาะ
-โรคนอนไม่หลับ
-โรคไมเกรน |
|
|
|
คัดลอกข้อมูลบางส่วนและภาพจาก :
https://www.sikarin.com/health/เครียดสะสม-ภาวะอันตรายท
โดย : โรงพยาบาลศิครินทร์ |
|
|
|
CALL CENTER : 084-467-7810
E-mail : ceo424d@hotmail.com |
|
กาแฟคอลลาเจน , กาแฟลดน้ำหนัก , บอนแบค , bonboack
บริษัท ไก่ดำมหากิจ นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10540 |
|
|